Browse
Recent Submissions
Item การสื่อสารทางการตลาดเพื่อการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งปี 2562(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (2021), 2021-06-15) ภาคภูมิ หรรนภาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการตลาดเพื่อการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ใน สื่อออนไลน์ในการเลือกตั้งปี 2562 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พรรคอนาคตใหม่ ทำการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด จากการจัดลำดับของสวนดุสิตโพล พ.ศ. 2561 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการสื่อสารทางการตลาดจากเว็ปไซต์หลักของพรรคอนาคตใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สินค้าทางการเมือง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และส่วนนโยบายพบว่า พรรคอนาคตใหม่ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้สมัครไม่เคยมีประวัติหรือประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน ส่วนนโยบายตามกรอบแนวคิดการตลาดเพื่อการเมืองนั้น พบว่าพรรคอนาตคใหม่นั้นมีนโยบายประชานิยมเน้นเสนอต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และมุ่งแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 2) การตลาดแบบผลักดันของพรรคอนาคตใหม่ มีเครือข่ายสมาชิกทั่วประเทศ และการลงพื้นที่จัดเวทีปราศรัย และที่สำคัญใช้การหาเสียงรูปแบบพิเศษ Event Marketing 3) การตลาดแบบดึงดูด ผ่านการสื่อสาร 2 ช่องทาง คือ สื่อมวลชน และ สื่อออนไลน์ พบว่า พรรคอนาคตใหม่สื่อสารผ่านสื่อมวลชน เหมือนกันโดยส่งตัวแทนพรรคไปออกรายการโทรทัศน์ ขึ้นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ซึ่งจัดโดยองค์กรต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายพรรค ส่วนเรื่องการใช้สื่อออนไลน์พรรคอนาคตใหม่ใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องหลักทางในการสื่อสารไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยตรง 4) การสำรวจความคิดเห็น พบว่า พรรคอนาคตใหม่ ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงลึก ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตนโยบาย ความถี่ในการสำรวจ และหน่วยงานวิจัย โดยพรรคอนาคตใหม่มีการสำรวจเป็นประจำ เช่น การลงพื้นที่ของพรรค และมีทีมวิจัยเป็นของตนเองในการสำรวจItem การใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยและภาษาจีนของนักศึกษาชาวจีน(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (2021), 2021-06-15) ชมพูนุช ประชาญสิทธิ์; ผกาศรี เย็นบุตรบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยและภาษาจีน และเพื่อศึกษาปัญหาการใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน โดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ และเปรียบเทียบความแตกต่างในการใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทย และภาษาจีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งวิเคราะห์ และเปรียบเทียบ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยและภาษาจีนแบบเจาะจง จำนวน 7 เล่ม ผลจากการวิจัยพบ ความแตกต่าง เรื่องการใช้คำบุรุษสรรพนาม ได้แก่ 1) คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทย มีความแตกต่างในการเลือกใช้ และมีจำนวนมากกว่าคำบุรุษสรรพนามในภาษาจีน 2) ความแตกต่างนี้ทำให้นักศึกษาชาวจีน ที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษา ต่างประเทศมีปัญหาการใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยไม่ถูกต้องตาม เพศ พจน์ ฐานะและความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้พูด ผู้ฟังและผู้ที่ถูกกล่าวถึงItem ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (2021), 2021-06-15) จุฑามาศ พีรพัชระงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสวัสติการต้านร่างกาย ด้านอาชีพ และด้านสังคมของผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แพทย์และพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน รวบรวม ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์แก่นสาระตามกลุ่มประเด็นเรื่องผลการวิจัย พบว่า ชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 ในความดูแลของเทศบาลเมืองชะอำ มีการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันและทำอาหาร ความต้องการสวัสติการของ ผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ต้าน ได้แก่ 1) ความต้องการต้านร่างกาย คือ ต้องการรับการสนับสนุนอุปกรณ์การเล่น อังกะลุง คำแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพิ่มจำนวนครั้งการตรวจสุขภาพ โดยบริการตรวจที่บ้าน และต้องการกิจกรรมเสริมสุขภาพ 2) ความต้องการต้านอาชีพ คือ ต้องการรวมกลุ่มสมาชิกเพื่อทำอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น เชิญผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับอาชีพ ต้องการทำงานเพิ่มรายได้ และให้จัตกิจกรรมอบรมวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ และ 3) ความต้องการต้านสังคม คือ ต้องการทำงานช่วยเหลือ สังคมให้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุ และต้องการเครื่องใช้ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับดำเนินชีวิตประจำวัน งานวิจัยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนตรวจการสุขภาพ ผู้สูงอายุโดยเพิ่มรอบการตรวจ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพเป็นกรณีพิเศษเชิญวิทยากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุมาให้การอบรมวิชาชีพ และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมในฐานะภูมิปัญญาท้องถิ่นItem จดหมายหลวงอุดมสมบัติ(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) ยอดชาย ชุติกาโมจดหมายหลวงอุดมสมบัติเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่บันทึกโดย หลวงอุดมสมบัติ (จัน) ซึ่งเป็นขุนนางในกรมพระคลังสินค้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อหาของจดหมายชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้และหัวเมืองประเทศราชในคาบสมุทรมลายู การบริหารราชการแผ่นดิน และการขยายอำนาจของสยามไปยังดินแดนดังกล่าว โดยมีการจัดการความสัมพันธ์ทางการเมืองกับหัวเมืองใหญ่ เช่น นครศรีธรรมราช และสงขลา เอกสารนี้ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของจักรวรรดินิยมอังกฤษในภูมิภาค และความพยายามของสยามในการรักษาอธิปไตยผ่านการวางกลยุทธ์ทางการปกครองที่ซับซ้อน นอกจากนี้ เนื้อหาในจดหมายยังเป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับรูปแบบของระบบราชการไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งยังคงได้รับอิทธิพลจากระบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ด้วยความละเอียดของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จดหมายหลวงอุดมสมบัติ จึงถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ในการศึกษาการบริหารราชการแผ่นดินไทยในยุคต้นรัตนโกสินทร์Item สารัตถะของ CPTPP : ข้อสังเกตทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอเข้าร่วมเป็นภาคีของไทย(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) ธนะชาติ ปาลิยะเวทย์บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางกฎหมาย และกลไกของความตกลง ที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และการวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขอเข้าร่วมเจรจาเป็นภาคี CPTPP ของไทย ผู้เขียนวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารพบว่า มีข้อดีที่ชัดเจนหลายประการในการเข้าเป็นภาคีความตกลงพหุภาคีระดับภูมิภาค แต่มีข้อ กังวลมากที่สุดในแง่ส่งผลกระทบ หรือทำลายอุตสาหกรรมที่ยังไม่พร้อมเปิดตลาดให้กับต่างชาติและการปฏิบัติตามกฎกติกาใหม่ ไทยสามารถเป็นภาคีความตกลงหลายฉบับในเวลาเดียวกันได้ โดยข้อตกลงอื่นที่ไทยเป็นภาคีนั้นยังคงใช้บังคับต่อกันได้ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับไทยในกระบวนการภาคยานุวัติที่จะแสดงให้เห็นอย่างน้อยตาม 3 เกณฑ์มาตรฐานของ CPTPP หลายประเทศภาคีได้ทำความตกลงข้างเคียงกันไว้ในเรื่องเฉพาะแยกต่างหากจาก CPTPP แต่ประเทศที่ไม่ได้ร่วมทำความตกลงด้วยไม่อาจกล่าวอ้างหรือได้ประโยชน์ ภาครัฐของไทยจึงควรพิจารณามาตรการที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณี หมายเหตุทั่วไป เงื่อนไขทดแทน และมาตรการ ช่วงเปลี่ยนผ่านไปกำหนดไว้ในข้อเสนอของไทยซึ่งต้องผ่านการเจรจาตามขั้นตอนกระบวนการต่อไป โดยจะเป็นประโยชน์อย่างน้อยก็ต่ออุตสาหกรรมที่ยังไม่พร้อมต่อการเปิดตลาด ควรวิเราะห์ข้อมูลศึกษาวิจัยในแต่ละภาคอุตสาหกรรม และร่วมกันระดมสมองหาข้อสรุปเพื่อจัดทำข้อเสนอที่แสดงความพร้อม และศักยภาพของไทยอย่างน้อยตาม 3 เกณฑ์มาตรฐานให้สอดคล้องกับข้อตกลง CPTPP ทั้งที่มีอยู่เดิม และที่พัฒนา หรือสร้าง ขึ้นใหม่ อาจจัดการปัญหาความสับสนและการปฏิบัติไม่ถูกต้องเหมาะสมในการใช้บังคับที่ทับซ้อน หรือซับซ้อนเตรียมจัดทำความตกลงข้างเคียงกับประเทศภาษีที่มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นItem การส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์: ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและปัจจัยทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) สุณี หงษ์วิเศษ; ปริญญา นาคปฐม; กฤษฎิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์; ธนวัฒน์ พิมลจินดาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยทางการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในมุมมองของผู้บริโภค และ (2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม สินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ที่เลือกซื้อและได้ซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากห้างสรรพ สินค้า ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ และตลาดทั่วไป จำนวน 1,182 ตัวอย่าง ครอบคลุม 12 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาค ทำการวิเคราะห์ผลใน 2 รูปแบบ คือ (1) ความรู้ความเข้าใจใช้แบบสอบถามเลือกตอบ แสดงผลเป็นเข้าใจถูกต้อง เข้าใจไม่ถูกต้อง และไม่แน่ใจ สรุปผลเป็นความถี่และร้อยละ และ (2) ทัศนคติและปัจจัยการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ใช้แบบสอบถามแบบ Rating Scale โดยแสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากขาดการสื่อสารทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและต้องการบริโภค สินค้าปลอดสารปนเปื้อนโดยมีหน่วยงานที่น่าเชื่อถือรับรอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ ปัจจัยทางการตลาด พบว่า ผู้บริโภคต้องการสินค้าคุณภาพที่มีความหลากหลาย และให้ความสำคัญกับราคาและแหล่งจำหน่ายที่เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค และควรส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่หลากหลาย ด้วยวิธีการที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อให้ราคาขายลดลง และควรส่งเสริมให้มีการขยายตัวของผู้ประกอบการเพื่อรองรับความ ต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงItem อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของคุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรมการให้บริการ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล (3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ และ (4) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายนวัตกรรมการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่มาใช้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความ ถี่ค่าเฉลี่ยทดสอโดยใช้สถิติที สถิติเอฟ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ผลการศึกษาคุณภาพการให้บริการและนวัตกรรมการให้บริการ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ พบว่า เพศ อายุสถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ผลศึกษาศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการพบว่า คุณภาพการให้บริการ มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการ อยู่ในระดับสูง (R=0.738) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผลการค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายนวัตกรรมการให้บริการ พบว่า มีตัวพยากรณ์ที่ดีจำนวน 3 ตัว ประกอบด้วย ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า (TQ5) ด้านการตอบสนองลูกค้า (TQ3)และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (TQ1) มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการ อยู่ในระดับสูง (R=0.734) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05Item กลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในการตัดสินใจ สั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) ธณัฐพล เวียงสิมมา; จอมขวัญ สุวรรณรักษ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของกลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียลในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ และเพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์ทางการตลาดบริการมีผลต่อผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในการตัดสินใจสั่งอาหารจากร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียลที่เคยใช้บริการแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ในการสั่งอาหาร ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้วิธีสุ่ม ตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนสถิติทดสอบที่และสถิติทดสอบเอฟ ผลการ วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ พบว่า กลยุทธ์ทางการตลาดบริการประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 8 ปัจจัย สำหรับผลการเปรียบเทียบกลยุทธ์ทางการตลาดบริการมีผลต่อผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในการตัดสินใจสั่งอาหารจาก ร้านอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นส่งอาหารเดลิเวอรี่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ พบว่า ปัจจัยด้านการ พัฒนาสินค้าใหม่ มีผลต่อการตัดสินใจของเพศชายมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านระดับการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านการสร้างการรับรู้ และปัจจัยด้านความถูกต้องและครบถ้วน แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านอาชีพ พบว่า ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านความถูกต้องและครบถ้วน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05Item ส่วนประสมการตลาด 4.0 จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อภาพลักษณ์และ ชื่อเสียงของแบรนด์ท่องเที่ยวเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) เรวิตา สายสุด; เสรี วงษ์มณฑา; ชวลีย์ ณ ถลางการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 4.0 จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบรนด์ท่องเที่ยวเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและภาควิชาการ รวมทั้งสิ้น 20คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ด้วยการจัดความสำคัญ จัดกลุ่มเนื้อหาเป็นหมวดหมู่รวมถึงการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูล พื้นฐานที่ร่วมกันพัฒนากับนักท่องเที่ยว (Co-creation) มีศักยภาพในการใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการทางการ ท่องเที่ยวและเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานที่สามารถเข้าถึงรสนิยมและความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) การปรับราคาและวิธีการจ่ายเงินของนักท่องเที่ยว (Currency) เป็นไปตามกลไกตลาดและช่วงเวลาฤดูกาล ท่องเที่ยว การรับประกันเรื่องราคาที่เป็นธรรมจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจเลือกตามคุณภาพและความพึ่งพอใจ 3) ความร่วมมือของภาคธุรกิจ (Communal Activation)สามารถอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการซื้อ และการใช้บริการทางการท่องเที่ยวรวดเร็ว และ ตัดสินใจง่ายขึ้น อีกทั้งภาคธุรกิจที่มีหน่วยขนาดเล็กในท้องถิ่นควรได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันในช่องทางตลาดแบบออนไลน์ 4) พื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ (Conversation) ควรมีการติดตามกระแสความสนใจของนักท่องเที่ยวและมีพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ ดังนั้นผลการศึกษานี้ควรนำไปประยุกต์ช้เพื่อวางกรอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองหัวหินItem ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) มานิตย์ มัลลวงค์; วิวัฒน์โชติกร เรืองจันทร์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นในเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการบรรทัดฐานทางสังคม การรับรู้สมรรถภาพแห่งตน และความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 230 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง ชั้นตามสัดส่วนโดยการคำนวณเทียบสัดส่วนจำนวนประชากรในชั้นปีสุดท้ายของแต่ละแผนก และใช้แบบสอบถามที่มีค่าระดับความเชื่อมั่น (∝) ที่ 0.856 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับเจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการบรรทัดฐานทางสังคม และการรับรู้สมรรถภาพแห่งตนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม = 3.93 3.65 และ 3.45) ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการอยู่ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ยรวม = 3.17) 2) ปัจจัยทั้งสามมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) โดยบรรทัดฐานทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการสูงสุด (r = 0.495)รองลงมา คือ เจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ (r = 0.299) และสุดท้ายคือการรับรู้สมรรถภาพแห่งตน (r = 0.025) ซึ่งปัจจัยทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ โดยมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสมมติฐานที่กำหนดItem การศึกษาเปรียบเทียบการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนเครื่องหนัง ด้วยวิธีการซุปเปอร์กลู(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) อาภาพร อรุณแสงทอง; พัชรา สินลอยมางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงด้วยวิธีการ ซุปเปอร์กลู จำแนกตามช่วงระยะเวลาและประเภทหนังที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยทำการทดลองตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือด้วยวิธีการซุปเปอร์กลูบนเครื่องหนัง 4 ประเภท คือ หนัง Top Grain, หนังกลับ, หนัง PU และหนังแก้ว ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน 8 ช่วงเวลา คือ ทันที่หลังประทับลายนิ้วมือ, 3 ชั่วโมง, 6 ชั่วโมง, 12 ชั่วโมง, 1 วัน, 3 วัน, 5 วัน และ 7 วัน หลังจากนั้นจึงทำการตรวจพิสูจน์คุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงโดยการนับจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษด้วยเครื่องตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ อัตโนมัติ แล้วนำค่าที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจั พบว่า คุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงบนเครื่องหนังแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (F = 11.586, Sig = 0.000) เมื่อพิจารณาคุณภาพของรอยลายนิ้วมือบนเครื่องหนังแต่ละประเภทแล้ว พบว่า รอยลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฏขึ้นบนหนัง Top Grain มีคุณภาพของรอยลายนิ้วมืออยู่ในระดับสูงที่สุด ในขณะที่การปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนเครื่องหนังในแต่ละช่วงเวลานั้นไม่แตกต่างกันItem การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือด(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) เพียงจิตร เงื่อนไข่น้ำ; ธิติ มหาเจริญการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความไว ความจำเพาะและประสิทธิภาพของ ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะจากผ้าที่ปนเปื้อนคราบเลือดเพื่อช่วยในการตรวจคราบเลือดเบื้องต้น ในการทดลองครั้งนี้ใช้เลือดจากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครที่มีผลการทดสอบเลือดว่า มีค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่างกัน 3 ระดับ โดยนำเลือดมาหยดลงบนผ้าตัวอย่างและเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดจึงนำมาทดสอบกับชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ ชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะและทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะมีความจำเพาะต่อเลือดมนุษย์ โดยให้ผลบวกกับเลือดมนุษย์เท่านั้นและให้ผลลบกับเลือดสัตว์ (หมู) ในด้านความไว พบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระมีความไวต่อเลือดมนุษย์มากกว่าชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะ โดยชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระสามารถตรวจพบเลือดที่ทำการเจือจางได้ถึงระดับความเข้มข้นที่ 1 : 20,000 ในขณะที่ชุดตรวจเลือดแผงในปัสสาวะให้ผลตรวจพบเลือดที่ทำการเจือจางถึงระดับความเข้มข้นที่ 1: 2,000 ในส่วนของผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะเพื่อตรวจหาคราบเลือดบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือดในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 โดยการเปรียบเทียบความไว ความจำเพาะ จากผ้า ตัวอย่าง ระยะเวลาและค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือด พบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระมีความประสิทธิภาพในการตรวจหาคราบเลือดบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือดมากกว่าชุดตรวจปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01Item การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและส่วนประกอบทางเคมีของยาบ้าที่ตรวจจับในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) เพ็ญพิศ เกตุใหม่; พัชรา สินลอยมาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลการค้าและการแพร่ระบาดของยาบ้าในเขต พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 2) ความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพระหว่างสีกับน้ำหนักของยาบ้า และ 3) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางเคมีของยาบ้าระหว่างเมทแอมเฟตามีนกับกาเฟอีนที่พบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างยาบ้าที่ส่งตรวจพิสูจน์ในศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3 ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 และการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ตำรวจและนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มงานตรวจยาเสพติด ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3 รวม 13 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรุนแรงของการค้าและการแพร่ระบาดของยาบ้าในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบว่าอำเภอเมืองนครราชสีมา มีการตรวจยึดจับกุมยาบ้าได้มากที่สุด จำนวน 183 คดี คิดเป็นร้อยละ 30.7 รองลงมาคือ อำเภอปากช่อง จำนวนการจับกุม 78 คดี คิดเป็นร้อยละ 13.1 และอำเภอหนองบุญมาก จำนวนการ จับกุม 39 คดี คิดเป็นร้อยละ 6.5 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ลักษณะทางกายภาพของสียาบ้ากับน้ำหนักของยาบ้า พบว่า ลักษณะทางกายภาพของสียาบ้ามีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของยาบ้า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางเคมีของยาบ้าระหว่างเมทแอมเฟตามีนกับกาเฟอีนที่พบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางเคมีของเมทแอมเฟตามีน มีความสัมพันธ์กับยาบ้าที่มีองค์ประกอบของกาเฟอีน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05Item สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: การวิจัยเชิงสำรวจและการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาแบบผสานวิธี(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) พวงเพชร จินดามาศ; ภิรดี วัชรสินธุ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ 2) ประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนคลองโยงเวทีอุปถัมภ์ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ประสิทธิผล และความพึงพอใจ การสำรวจสภาพปัญหาและประเมินหลักสูตรสถานศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจและแบบประเมินหลักสูตรจากประชากรกลุ่ม ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 28 คน และกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 300 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น สำหรับการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้อำนวยการ/คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน กลุ่มครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มละ 10 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวมพบว่ามีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (X = 1.56, SD = 0.95) 2) ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาเชิงปริมาณ ตามตัวแปรทั้งหมดในภาพรวม พบว่า หลักสูตรสถานศึกษามีตัวแปรทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก (X = 2.63, S.D. = 0.83) 3) ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาเชิงคุณภาพพบว่าสิ่งที่ควรพัฒนา คือ การนำความต้องการของท้องถิ่นและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ควรมีผู้รับผิดชอบในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาที่ชัดเจน นอกจากนั้นครูควรนำหลักสูตรสถานศึกษามาใช้ในการกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นและเน้นการปฏิบัติจริงItem การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของแฮร์โรว์ และการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) นที ปิ่นวิไลรัตน์; อินทิรา รอบรู้บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของแฮร์โรว์ และการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2561 มีประเด็นสังเคราะห์ คือ 1) ด้านข้อมูลพื้นฐาน 2) ด้านวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) ด้านวิธีดำเนินการวิจัย 4) ด้านผลการศึกษา นำเสนอผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยการพรรณนาเป็นความเรียง เอกสารวิจัย จำนวน 24 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล คุณลักษณะวิทยานิพนธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้าน ข้อมูลพื้นฐาน ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของคณะครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน งานวิจัย ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ด้านวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนใหญ่เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลัง 3) ด้านวิธีดำเนินการวิจัย งานวิจัยส่วนใหญ่เลือกใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาโดยใช้ทฤษฎีของคนอื่น มีการอ้างอิงจากสื่อสิ่งพิมพ์ภายในประเทศหาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่าความเที่ยงตรง ส่วนใหญ่ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐาน 4) ด้านผลการ วิจัย การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ มี 5 ขั้นตอน โดยการเลียนแบบจากการสังเกตและลงมือทำตามคำสั่ง ผู้เรียนฝึกฝนให้ถูกต้องและชำนาญ ทำให้สามารถแสดงออกได้อย่างธรรมชาติ นิยมนำมาใช้ในวิชาดนตรี ศิลปะ เทคโนโลยีและการงานอาชีพ แนวคิดการสอนดนตรีของคาร์ล ออร์ฟ จะพัฒนาทักษะทางดนตรีจากง่ายไปหายาก จากจังหวะ ระดับเสียง สัญลักษณ์ตัวโน้ต การอ่านโน้ต และเครื่องดนตรี จึงทำให้ผู้เรียนเกิด พัฒนาการทางด้านดนตรีได้เป็นอย่างดีItem Cognitive Dissonance and Revised Teacher Qualification Scheme 2017:A Case Study of SWU Education Programs(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) Watthana SuksiripakonchaiTeacher education is one of the most essential components in an educational system. However, it seems that effort to equip teachers with knowledge and skills for the Thai teaching profession has been loosened lately. This is applied research which examined cognitive dissonance of English teacher students as well as teachers responsible for the education programs at Srinakharinwirot University (SWU) with regards to the new teacher qualification scheme in Thailand as of 2017 that reduced the former five-year education programs to four. The sampling group comprised 62 students reading the Bachelor of Education Program in English at SWU based on purposive sampling. The research instrument was the cognitive dissonance questionnaire which was validated by three experts. Semi-structured interviews were conducted on three responsible teachers of the program. The findings through descriptive statistics indicated that students demonstrated cognitive dissonance against some aspects of the revised teacher qualification scheme 2017 reporting 45.2% on insecurity about future employment, 30.6% on benefits of their current degree, 74.2% demanding action against the new scheme, 77.4% protection from the new scheme, 51.6% non-necessity of the new scheme and 56.5% unfairness of the new scheme. The interview results by teachers responsible for an education program indicated uncertainty in relation to future employment competitiveness and stability of remaining students of the five-year students.Item ความขัดแย้งทางปัญญาและโครงการปรับปรุงคุณวุฒิวิชาชีพครู พ.ศ. 2560 กรณีศึกษาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มศว.(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) วรรธนะ สุขศิริปกรณ์ชัยการศึกษาวิชาชีพครูเป็นปัจจัยสำคัญของระบบการศึกษาแต่ทิศทางการพัฒนาความรู้และทักษะของครูไทยในปัจจุบันเกิดการลดหย่อนคุณภาพลงไปมาก งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงประยุกต์ ศึกษาความขัดแย้งทาง ปัญญาของนิสิต และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เกี่ยวกับโครงการปรับปรุงคุณวุฒิวิชาชีพครูปี พ.ศ. 2560 ซึ่งลดระยะเวลาของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตจากเดิม 5 ปี เป็น 4 ปี กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษา อังกฤษ 62 คนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับความขัดแย้งทาง ปัญญาที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยแสดงด้วยสถิติเชิญพรรณนาให้เห็นว่า ทั้งนิสิตเกิดความขัดแย้งทางปัญญาในด้านต่าง ๆ ของโครงการปรับปรุง คุณวุฒิวิชาชีพครู พ.ศ. 2560 คือ 45.2% รู้สึกไม่มั่นคงเกี่ยวกับงานในอนาคต 30.6% เสื่อมศรัทธาในประโยชน์ของหลักสูตรปัจจุบันที่ตนศึกษา 74.2% เรียกร้องให้ต่อต้านโครงการปรับคุณวุฒิ 77.4% ต้องการความคุ้มครองจากโครงการใหม่ และ 56.5% คิดว่าโครงการใหม่ไม่มีความยุติธรรม ผลการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรชี้ให้เห็นถึงความไม่มั่นคงเรื่องโอกาสการแข่งขันของการทำงานในอนาคตและความเชื่อมั่นของนิสิตคงค้างของหลักสูตร 5 ปีItem การวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) รินทร์ฤดี ภัทรเดช; ปัญญเดช พันธุวัฒน์บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษา อังกฤษระดับประถมศึกษาที่เผยแพร่ใน ThaiLIS ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการ ศึกษา จำนวน 11 เล่ม ที่ผ่านเกณฑ์การการคัดเลือกที่กำหนดขึ้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกข้อมูลเพื่อบันทึก ลักษณะของข้อมูลทั่วไปในงานวิจัยและแบบบันทึกผลงานวิจัยที่เป็นลักษณะองค์ความรู้รวมของงานวิจัยในการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ 5 ด้าน ประกอบด้วย หัวข้องานวิจัย วัตถุประสงค์งานวิจัยแนวคิดทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัย และ ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์พบว่า ระหว่างปี 2553-2563 มีผลงานวิจัยเพียง 11 เล่ม ที่มีการศึกษาเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ด้านหัวข้อวิจัยพบ ว่ามุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบ วิธีการ สื่อการสอน สภาพปัญหาของผู้เรียน ผู้สอน และการพัฒนาผู้สอน ด้าน วัตถุประสงค์พบว่าส่วนใหญ่มีการมุ่งเน้นศึกษาด้านสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา ด้านแนวคิดทฤษฎีที่พบส่วนมากใช้แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และทฤษฎีการวัดและประเมินผลการศึกษา ด้านระเบียบวิธีวิจัยที่พบมากที่สุดคือการออกแบบงานวิจัยเป็นการวิจัยและ พัฒนา (Research and Development) และด้านผลการวิจัย สามารถจัดกลุ่มผลการวิจัยที่ได้เป็นห้าด้านคือการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูผู้สอน การพัฒนาเจตคติและทัศนคติของผู้เรียน การพัฒนาสื่อ และการพัฒนาการวัดผลประเมินผลItem ผลการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021), 2021-02-15) กนกวรรณ กุลสุทธิ์; สุดารัตน์ เจตน์ปัญจภัค; ขจีนุช เชาวนปรีชา; สรพล จิระสวัสดิ์; วิลาสินี พลอยเลื่อมแสง; ลลิตา พูลทรัพย์; จุฬาลักษณ์ ปาณะศรีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ และเพื่อ ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษษุรกิจที่มีต่อการพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษา อังกฤษด้วยการเรียนออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 43 คน สำหรับทำแบบทดสอบและตอบแบบสอบถามและเลือกนักศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 คนเพื่อสัมภาษณ์กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนรู้ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์โดยค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถามในแบบสอบถามเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า 1) นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษสูงขึ้นหลังการเรียนออนไลน์ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ 2) นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจเห็นด้วยต่อการพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้วยการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษออนไลน์ด้วยตนเอง และมีระดับความคิดเห็นด้วยอย่างยิ่งอันดับแรกในประเด็นผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากแบบฝึกไวยากรณ์ภาษาอังกฤษออนไลน์ด้วยตนเองได้เท่าที่ต้องการ ผลจากการสัมภาษณ์ พบความคิดเห็น 3 ประเด็น ได้แก่ ความสะดวกในการเรียนออนไลน์ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชันการพัฒนาความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนออนไลน์เพื่อการสอบโทอิคItem การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (2024), 2023-02-15) มนสิชา ชำนาญเวช; จุไรศิริ ชูรักษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านขอนคลาน อ าเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จ านวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบ Wilcoxon Testผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค เอส ที เอ ดี ร่วมกับ เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล อยู่ในระดับมากที่สุด