Browse
Recent Submissions
Item Learning Development Guidelines for Children with Cochlear Implant to Prepare for Early Childhood Learning.(Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences)., 2023-01) Supaporn TungdamnernsawadThe aims of this research were to study: 1) child development before and after cochlear implantation, 2) child development based on learning theory, language development, and learning of early childhood, 3) family circumstances and approaches to caring for cochlear implant children, and 4) learning development guideline for children with cochlear implant to prepare for their early childhood learning. Using mixed methods research that combines the methods of quantitative and qualitative research. The sample group included 78 parents of children undergoing cochlear implantation from birth to 6 years old. A total of 6 parents and 10 experts involved in cochlear implantation and early childhood learning were key respondents. Data were collected through learning development for children with cochlear implant opinion questionnaire and in-depth interviews by using the structured interview form of learning development guideline. The mean, standard deviation, and t-test were used to analyze quantitative data, and content analysis was used to analyze qualitative data. The results of the quantitative research revealed that: 1) Child development before and after cochlear implantation was found that after surgery (x̄ = 4.14, S.D. = 0.57), the children developed according to the standards of overall desirable characteristic: physical, emotion and mental, social, and intelligence more than before surgery (x̄ = 2.86, S.D. = 0.94), 2) The overall child development based on learning theory, language development, and learning of early childhood was at a high-level (x̄ = 4.05, S.D. = 0.60), the first was the learning of early childhood, followed by the child’s development according to the learning theory, and language development, 3) The results of the research hypothesis test were as follows: 3.1) A comparative analysis of child development (1) child development in overall (before surgery) was no difference, (2) child development in overall (after surgery) was significantly different (p = 0.050) at the 0.050 level, 3.2) A comparative data analysis of child development differences according to learning theory, language development, and early childhood learning classified by children’s age revealed that there was significantly different (p = 0.001) at the 0.050 level. The results of the qualitative research revealed that: 1) The family circumstances and approaches to caring for cochlear implant children revealed that the children were assigned a disabled person’s identification in order to access the right to medical care. Their parents were the income earners for the family. Raising children like normal children according to the doctor’s advices, 2) The learning development guidelines for children with cochlear implant to prepare for their early childhood learning were as follows: 2.1) The appropriate age for children for cochlear implant surgery was less than 3 years old or 4 years old, 2.2) The first period after the cochlear implantation, parents must bring their children to the hospitals every week because children had to be rehabilitated continuously. 2.3) The assessment of the children with cochlear implant to attend regular schools was as follows: (1) the children could speak the language, (2) the children could communicate reasonably, (3) the children could control himself while studying, (4) the children had self-help, and (5) the children could participate in classroom activities.Item การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติด(RatchaphruReak Journal, 1265-09) ชาติชาย มหาคีตะ; อาภาศิริ สุวรรณานนท์การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบหลักสูตรการฝึกอาชีพ และ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพ จํานวน 2 หลักสูตร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพดด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาดูงานเป็นกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ผู้แทนจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นักวิชาการ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้แทนสถานประกอบการและเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอบรม รวมทั้งสิ้น 58 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผลการศึกษา พบว่า 1) การฝึกวิชาชีพในปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรที่กําหนดไว้ชัดเจน 2) การพัฒนาหลักสูตรจํานวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการทํางานในสถานประกอบการและหลักสูตรการประกอบอาชีพอิสระ โดยมีวิชาปรับพื้นฐานรวม วิชาบังคับร่วม และวิชาเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความถนัดของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอบรมฯItem Zinc-Solubilizing Streptomyces spp. as Bioinoculants for Promoting the Growth of Soybean (Glycine max (L.) Merrill)(Journal of Microbiology and Biotechnology, 2022-10) Rungnapa TangchitcharoenkhulZinc-solubilizing bacteria can convert the insoluble form of zinc into soluble forms available to plants. This study was conducted to isolate and screen zinc-solubilizing actinobacteria from rhizosphere soils and to assess their effect on vegetable soybean growth. In total, 200 actinobacteria strains belonging to 10 genera were isolated from rhizosphere soil samples. Among these isolates, four showed zinc solubilization with solubilizing index values ranging from 3.11 to 3.78 on Bunt and Rovira agar supplemented with 0.1% zinc oxide. For the quantitative assay, in broth culture, strains CME34 and EX51 solubilized maximum available zinc contents of 529.71 and 243.58 μg/ml. Furthermore, indole-3-acetic acid (IAA) and ammonia were produced by these two strains, the strain CME34 produced the highest amount of IAA 4.62 μg/ml and the strain EX51 produced the highest amount of ammonia 361.04 μg/ml. In addition, the phosphate-solubilizing abilities in Pikovskaya’s medium of CME34 and EX51 were 64.67 and 115.67 μg/ml. Based on morphological and biochemical characterization and 16S rDNA sequencing, the strains CME34 and EX51 were closely related to the genus Streptomyces. In a greenhouse experiment, single-strain inoculation of Streptomyces sp. CME34 or EX51 significantly increased the shoot length, root length, plant dry weight, number of pods per plant and number of seeds per plant of vegetable soybean plants compared to the uninoculated control. These findings facilitated the conclusion that the two Streptomyces strains have potential as zinc solubilizers and can be suggested as bioinoculants to promote the growth and yield of soybean.Item แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(วารสารวิจัยวิชาการ, 2023-03) รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุลบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพ 2) ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ และ 3) ตรวจสอบประสิทธิผลแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประสิทธิภาพฯประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยกลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มภาคีเครือข่ายฯ รวม 1,480 คนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพฯประกอบด้วย กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่มดังกล่าวของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยการ รวม 60แห่ง รวมจํานวน 2,280คน และกลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบประสิทธิผลของแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพฯจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่มดังกล่าว รวม 1,470 คนเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกเอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์วางกรอบข้อมูลประยุกต์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สําคัญ พบว่า 1) ผลประเมินประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 60แห่ง มีคะแนนประสิทธิภาพระหว่าง 57.08-100.00% เมื่อเปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพระหว่างกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่าคะแนนประสิทธิภาพของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้ง 4กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพบว่าแต่ละแห่งต้องปรับปรุงด้วยการเพิ่มผลผลิต/ผลลัพธ์ 2-3 ปัจจัย (7.51-54.68%) ปรับลดปัจจัยป้อน 2-3 ปัจจัย (12.73-53.31%) และการนํากระบวนการ ได้แก่ การเสริมพลังอํานาจ การเป็นพี่เลี้ยง การกํากับติดตาม และการประเมินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาใช้ในการช่วยส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ผลจากการตรวจสอบประสิทธิผลของแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ พบว่า แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์Item RESEARCH AND DEVELOPMENT FOR EARLY CHILDHOOD TEACHERS’ DESIRED COMPETENCIES OF THE CHILD DEVELOPMENT CENTERS UNDER LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION CORRESPONDING THE CHANGE IN THE 21ST CENTURY EDUCATION(Journal of Educatino Naresuan University, 2023-01) รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุลThe purposes of this research were 1) to formulate the components of desired competencies’ early childhood teachers of the child development centers under Local Administrative Organization corresponding the change in the 21st century education, 2) to examine indicators and research instruments of desired competencies’ early childhood teachers of the child development centers, 3) to evaluate desired competencies’ early childhood teachers of the child development centers of stakeholders, and 4) to study variables affecting desired competencies’ early childhood teachers of the child development centers. Data were collected by evaluation form from early childhood teachers, administrators, and parents. They were analyses using descriptive statistics, factor analysis and one-way ANOVA. The significant research findings were 1) Eighty-two related literatures were reviewed for synthesis the desired competencies’ early childhood teachers of the child development centers. There were 3 components of desired competencies’ early childhood teachers: 1.1) core competency consisted of 5 indicators (childhood’body of knowledge competency, instruction competency, research and development competency, learner development competency and self development competency, 1.2) non-core competency composed of 4 indicators (communication competency, moral and ethics competency, teamwork competency and academic service competency), 1.3) management competency composed of 4 indicators (leadership competency, environment management for learning support competency, environmental sanitary management competency and participation with community competency). 2) The result of the quality examination of desired competencies’ early childhood teachers of child development centers evaluated from experts and stakeholders found that they had appropriateness, feasibility and utility. 3)The evaluation results of desired competencies’ early childhood teachers of child development centers from stakeholders found that the component of core competency had the highest mean (mean=4.36, 4.31 and 4.28, respectively) followed by the non-core competency (mean=4.26, 4.19 and 4.19), and the component of management competency (mean=4.22, 4.16 and 4.11). 4) The factors affecting the desired competencies’ early childhood teachers of the child development centers were education level, experience in early childhood research and motivation for teacher developing.Item ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา(วารสารวิชาการบัณฑิตสวนดุสิต, 2022-09) สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์; ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุวมาลย์ ม่วงประเสิรฐการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2564 จำนวน 6,288 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamana ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 377 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสถิติแอลฟาโคเอฟฟิเชียลของครอนบาค เท่ากับ 0.986 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้าด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ สามารถอธิบายถึงผลกระทบร่วมกันที่เกิดขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 77 (R2 = 0.773) โดยมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐาน เท่ากับ 0.120 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยปัจจัยนำเข้าด้านผู้สอนและบุคลากรสนับสนุนส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.050 และปัจจัยนำเข้าด้านการบริหารจัดการรายวิชาส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) ปัจจัยด้านกระบวนการส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 และ 3) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001Item Sirote's Model for University Quality Integration: ต้นแบบการบูรณาการศาสตร์และศิลป์ในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (2025), 2025-02-15) ศิโรจน์ ผลพันธิน; พิทักษ์ จันทร์เจริญ; สุขุม เฉลยทรัพย์บทความนี้นำเสนอ Sirote's Model for University Quality Integration ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารที่บูรณาการศาสตร์การบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ากับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย โดยพัฒนาขึ้นจากบทเรียนการบริหารของ รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยจากสถาบันราชภัฏสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โมเดลนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 14 ประการ เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ "SMALL but SMART" ที่เน้นความเป็นเลิศเฉพาะทาง การเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการที่ผสานการพัฒนาวิสัยทัศน์ กระบวนการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกที่มุ่งเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรในทุกระดับ การบริหารคุณภาพแบบองค์รวมที่บูรณาการเกณฑ์คุณภาพระดับสากล และการสร้างความยั่งยืนทางการเงินผ่านการพัฒนาธุรกิจวิชาการ โมเดลนี้ยังเน้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการบูรณาการมิติความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสังคมวงกว้าง ตัวอย่างความสำเร็จของโมเดลนี้ ได้แก่ การพัฒนามหาวิทยาลัยสวนดุสิตให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านอาหาร การศึกษาปฐมวัย การพยาบาล และอุตสาหกรรมการบริการ นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงการจัดตั้ง "สถาบันศิโรจน์ ผลพันธิน" ซึ่งเป็นการต่อยอดแนวคิดในโมเดลดังกล่าว โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้นำที่มีความสามารถในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงและเผชิญกับความท้าทายของยุคสมัย ผ่านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จาก Sirote's Model กับนวัตกรรมการพัฒนาผู้นำสมัยใหม่ บทความชี้ให้เห็นว่า Sirote's Model for University Quality Integration มีศักยภาพสูงในการเป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในบริบทไทยให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติItem ปัญหาและความต้องการ การช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในเขตเมือง...กรณีศึกษาชุมชนแออัดปู่เจ้าสมิงพรายสะพานปูน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร(วารสารรัฐศษสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, GRS_ART_21102_องค์อร) องค์อร สงวนญาติ; ธีรเดช ชื่นประภานุสรณ์; ประกฤติ พูลพัฒน์; วิจิตรา ศรีสอนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาลักษณะที่อยู่อาศัยทางสังคมของชุมชนปู่เจ้าเจ้าสมิงพรายสะพานปูน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขของประชาชนผู้อยู่อาศัยในชุมชนปู่เจ้าสมิงพรายสะพานปูน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อยู่อาศัยในชุมชนปู่เจ้าสมิงพรายสะพานปูน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 202 คน โดยคัดเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อให้ได้ข้อมูลตอบตรงตามวัตถุประสงค์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเกิน 0.5 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะที่อยู่อาศัยของชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เช่น ในชุมชนมีปัญหาเรื่องระบบระบายน้ำ เช่น น้ำท่วม น้ำขัง มีปัญหาน้ำเน่าเสีย มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นจากของเสียหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ มีปัญหาเรื่องขยะ เช่น การทิ้งขยะไม่เป็นที่และมีถังขยะไม่เพียงพอ รวมถึงปัญหาความไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในชุมชน และ 2) ปัญหาและความต้องการการช่วยเหลือสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในชุมชนเจ้าสมิงพรายสะพานปูน ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยเฉพาะด้านความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้านบริการสร้างเสริมสุขภาพ ในชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุดItem มาตรการทางสังคมเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรม ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 Social Measures and Their Impact on Crime Management Effectiveness During the COVID-19 Outbreak(Ratchaphruek Journal, 0023) ชาติชาย มหาคีตะ; อาภาศิริ สุวรรณานนท์งานวิจัยเรื่องมาตรการทางสังคมเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมในการสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยมีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 540 คน และจัดการสนทนากลุ่มกับผู้แทนจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 12 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 อันดับที่ 1 คือ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการทางสังคมที่เหมาะสม อันดับที่ 1 คือ การส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพกฎหมายและมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐและผู้นำชุมชน การวิเคราะห์ผลการวิจัยรูปแบบมาตรการทางสังคม คือ การสร้างความตระหนักรู้และควบคุมตนเองจากภายในครอบครัวและชุมชน การสร้างจิตสำนึกต่อสังคมร่วมกันกับภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นในชุมชน การสร้างความยุติธรรมทางสังคม การสร้างนวัตกรรมทางสังคม และการสร้างความยั่งยืนของมาตรการทางสังคมในภาวะวิกฤตItem การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร(วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 2023-07) สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์; จีระพันธ์ุ พูลพัฒน์; ปาจารีย์ นาคะประทีปการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน จำนวน 365 คน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรได้กลุ่มตัวอย่าง 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9583 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร 1.1) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.2) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการวางแผนและสรรหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการวางแผนและสรรหาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 1.3) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการบริหารการปฏิบัติงานและพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการบริหารการปฏิบัติงานและพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.4) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย การวางแผนและสรรหา การบริหารการปฏิบัติงานและการพัฒนา และการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ โดยผลการประเมินรูปแบบดังกล่าว ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการ พบว่ารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และความสามารถนำไปปฏิบัติได้Item Challenges in Education Posed by the Fourth Industrial Revolution(ASEAN Journal of Education, 2024-01) Hubert Ruch; Natthakitta Florentine; Sirote Pholpuntin; Sukhum Chaleysub; Supaporn Tungdamnernsawad; Siratam UdomtamanupabThis review article provides an overview of the challenges that the Fourth Industrial Revolution (4IR) may pose for education as reflected in scientific articles, white papers and other up-to-date publications. The approach taken here does not make distinctions among different educational levels but instead aims to highlight overarching challenges across the education sector as a whole, providing the opportunity to identify general or cross-cutting risks that may arise from the 4IR. The topic of digitization-one of the main pillars of the 4IR-seems highly controversial within the research studies examined, with disagreement regarding both possible harmful effects of digitizing classrooms and the fundamental benefits of multimedia. There seems to be a clear trend of many authors to recommend necessary adjustments that enable various stakeholders to adapt to the developments prompted by the 4IR. The main recommendations here are flexibility, personal responsibility, and self-reliance. Relatively few researchers-such as Yong Zhao-recommend active engagement in order to consciously influence or even delay the dynamics of the 4IR. Leaders in particular are called upon to make greater efforts to adapt, e.g. by implementing AI and AI-powered personalized learning into pedagogies and curricula, teacher support in using AI tools and developing ethical standards, fostering access and equity, data-driven decision making, future-ready skills development, partnerships with tech companies, continual adaptation and lifelong learning, and taking into account human aspects regarding the digitalization of education, such as the impact on people when they learn and work on computer screens or in virtual worlds.Item ธุรกิจวิชาการ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-02-15) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; มลิวัลย์ ธรรมแสง; สิรธัมม์ อุดมธรรมานุภาพ; สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์บทความนี้เป็นการอธิบายธุรกิจวิชาการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต เริ่มจากการพัฒนาตามกฎหมายและการปฏิบัติ มุมมองของผู้บริหารในการมองการคิดและการทำ ปรัชญาของมหาวิทยาลัย แนวคิดการพัฒนาธุรกิจวิชาการ แนวคิดการทำธุรกิจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ความมั่งคั่งทางวิชาการ และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ธุรกิจวิชาการ มาจากคำว่า ธุรกิจ มีความหมายว่า การประกอบกิจการเพื่อมุ่งการค้าหากำไร และคำว่า วิชาการ มีความหมายว่า วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา “ธุรกิจวิชาการ” ในบทความนี้หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ใหม่จากฐานวิชาการที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญและนำนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน การอบรม การวิจัย การบริการชุมชน และการดำเนินการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต