Browse
Recent Submissions
Item Knowledge Management of Local Wisdom of Safrol Laurel Products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang Province for Strengthening the Community(Jundishapur Journal of Microbiology, 2022-04-24) Benjawan Khunrit; Thanawit Piandee; Therdchai ChoibamroongThis research article on Knowledge Management of Local Wisdom of Safrol Laurel Products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang Province for Strengthening the Community aimed to 1) Study local wisdom of Safrol Laurel products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang, 2) Study the knowledge management process of local wisdom of Safrol Laurel products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang, 3) Study the success conditions of the knowledge management of local wisdom of Safrol Laurel products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang. This study used qualitative research methodology based on in-depth interviews, observations, focus group meetings, and qualitative data analysis. The major findings indicated as follows: 1. Knowledge of local wisdom of Safrol Laurel products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang included: 1) Safrol Laurel products were divided into three categories: belongings, souvenir, and decoration types, and belief and ritual products, 2) equipment used in the production of carvings from SafrolLaurel , 3) production procedures, and 4) group management. 2. The knowledge management process of local wisdom of Safrol Laurel products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang contained 7 areas: knowledge identification, knowledge acquisition, knowledge capture, knowledge sharing, knowledge storage, knowledge transfer, and knowledge application. 3. Conditions of success of the knowledge management of local wisdom of the Safrol Laurel products in KhaoKob Sub-district, HuaiYot District, Trang contained 6 areas: knowledge about knowledge management, corporate culture, group leaders, organizational structure, support from external agencies and local resources.Item Torch Ginger (Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith.) Tea and the Effects of Brewing Time on Color, Volatile Compounds, Chemical Compositions and Sensory Quality(Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 2022) Dudsadee Sapbua; Chalida CholmaitriThe torch ginger tea made from flower of Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith. It is a type of herbal tea (tisanes) with health benefits. The composition of volatile aroma compounds is one of the factors which induce relaxation and charming scent. The purpose of this study was to profile volatile compounds of the torch ginger tea and quality on physical, chemical, and sensory properties of torch ginger tea. The torch ginger tea infusion was prepared by adding 2 and 5 g of torch ginger tea into 100 ml of hot water (95°C) infused for 5 and 10 min and is effected by quantity and brewing time. Results showed that volatile compounds of the dried petal of the torch ginger had the highest abundance that included α-pinene, 1- dodecanol and dodecanal, respectively. The odor description were fresh, sweet, pine earthy and woody. Prolonged brewing time and enrichment quantity of the dried petal of the torch ginger decreased L*(lightness) values but increased positive a* (red) and positive b*(yellow) significantly (p < 0.05). 5 g torch ginger with 10 min brewing time had the highest chemical content consisting of the total phenolic content (206.42 mg GAE/100 g dry weight), the total anthocyanin content (0.887 mg/100 g dry weight), the ascorbic acid (0.602 mg/100 g dry weight) and DPPH (49.38 % inhibition) were significantly (p < 0.05). However, 2 g torch ginger with 10 min brewing time had the chemical content (the total phenolic, the total anthocyanin, the ascorbic acid and DPPH) as well as with the 5 g torch ginger tea with brewing time at 5 min. The sensory properties showed 5 g torch ginger tea with 10 min brewing time had high scores for color, flavor, taste and over all acceptance. Finally, 5 g torch ginger and 10 min brewing time was recommended as the best condition.Item การศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจ ใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม(Journal of Roi Kaensarn Academi, 2024-04-05) นวลรัตน์ วัฒนา; ชฎาวรรณ ศิริจารุกุล; ธนะวิทย์ เพียรดี; จริยา เกิดไกรแก้ว; ชารินี ใจเอื้อ; ยุวศรี อวะภาค; นิศานาถ มั่งศิริบทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและทบทวนวรรณกรรม ฐานความรู้ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดการศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม ผลการศึกษา พบว่า กรอบแนวคิดการศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ องค์ประกอบคุณภาพการบริการ (Service Quality) ตัวแปรกลาง (Mediator Variable) คือ ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวมุสลิม (Muslim’s tourist trust) และตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาล (Intention to use service) โดยองค์ประกอบคุณภาพการบริการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการบริการด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (Tangibility) 2) คุณภาพการบริการด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ (Reliability) 3) คุณภาพการบริการด้านการตอบสนองต่อลูกค้า (Responsiveness) 4) คุณภาพการบริการด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า (Assurance) และ 5) คุณภาพการบริการด้านการเอาใจใส่ของลูกค้า (Empathy) ซึ่งได้มาโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่นำเสนอภายใต้กรอบแนวคิด กรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ จะถูกนำไปใช้ในการดำเนินงานวิจัยต่อไป และผลการศึกษาจะนำมาสู่ข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการบริการที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารฮาลาลเพื่อเตรียมการหรือปรับตัวให้สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวมุสลิมได้อย่างมั่นใจและสร้างความประทับใจและความพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมสามารถใช้บริการร้านอาหารได้อย่างสนิทใจและเกิดความรู้สึกปลอดภัยในการบริโภคItem การศึกษาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนในยุคนิวนอร์มัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเทศบาล จังหวัดราชบุรี(วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 2022) วัฒนพล ชุมเพชร; ตรีพล สักกะวนิช; ภราดร เสถียรไชยกิจ; พรสวรรค์ จันทะคัดจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนโดยเฉพาะในรูปแบบออนไลน์ สิ่งที่ท้าทายต่อสถานการณ์นี้ คือ การปรับตัวของนักเรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนในยุคนิวนอร์มัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เปรียบเทียบระดับชั้นและเพศต่อทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนในยุคนิวนอร์มัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนเทศบาล ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 573 คน โดยใช้การสุ่มแบบง่าย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมผลการประเมินความคิดเห็นต่อความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของนักเรียน อยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนที่ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารหรือไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้านหรือที่พักได้ มีความรู้ด้านสารสนเทศและด้านสื่ออยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่นักเรียนที่มีอุปกรณ์สื่อสารหรือสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้านได้ มีความรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านเทคโนโลยีนักเรียนมีความรู้อยู่ในระดับมากเท่ากัน และ 2) จำแนกตามระดับชั้นและเพศ พบว่า ด้านสารสนเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนเพศหญิง มีระดับความรู้สูงที่สุด สำหรับด้านสื่อและด้านเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนเพศชาย มีระดับความรู้สูงที่สุด ในภาพรวม ระดับชั้นและเพศส่งผลต่อความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พิจารณาตามรายตัวแปร พบว่า ระดับชั้นส่งผลต่อความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความรู้ทางด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีที่แตกต่างจากระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ในขณะที่เพศส่งผลต่อความรู้ด้านสื่อและด้านเทคโนโลยีที่ต่างกันเช่นเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มีผลต่อความรู้ด้านสารสนเทศ และข้อเสนอแนะ นักเรียนควรได้รับคำแนะนำที่ดีจากครู ญาติพี่น้อง และผู้ปกครอง ในการรับสื่อและข่าวสารที่ถูกต้อง รวมถึงควรมีการจำกัดเวลาการใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาไปกับการทำกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งการเล่น ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมภายในครอบครัว โดยผลจากการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลหรือแนวทางเพื่อแก้ปัญหาในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนต่อไปItem ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2023-03-22) ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์; จิรัชญา แก่นบุญงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร กรณีศึกษาขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ และข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำมาจัดหมวดหมู่และเรียบเรียงเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร กรณีศึกษาขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังนี้ 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวก ได้แก่ ด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (β1=0.419, p < 0.01) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (β2=0.214, p < 0.01) ด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (β3=0.114, p < 0.05) และด้านความเชื่อ ศรัทธา และพิธีกรรมทางศาสนา (β5=0.129, p < 0.01) และ 2) ปัจจัยเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อาหารขนมลา (β4=-0.048, p > 0.05) ไม่ส่งผลกระทบกับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร กรณีศึกษาขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราชItem Structural Equation Model of The Development of Marketing Communication Strategy for Creative Tourism of Na Muen Si Sub-district, Na Yong District, Trang Province, Thailand(Design Engineering, 2021) Thanawit PiandeeThe present study was intended to analyze structural factors of development of marketing communication strategies for creative tourism of Na Muen Si sub-district, Na Yong district, Trang Province. Structural equation modeling (SEM) was conducted using AMOS software with 800 participants, 400 of whom were people in the community of Na Muen Si sub-district, Na Yong district, Trang Province, and the rest 400 of whom were tourists visiting the community. The analysis of the structural equation model revealed that internal factors of marketing mix, including process of service and promotion, of Na Muen Si sub-district, Na Yong district, Trang Province, influenced factors of integrated marketing communication of the community. Moreover, it was discovered that its factors of integrated marketing communication comprised advertising and personal selling.Item Effect of Chilling and Freezing Storage of Cookie Dough on Dry Roasted Pork Cookie Quality(Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 2021) Sawittree NuwongsriLow temperature is an easy technique which preserves and retains product quality. The objectives of this research were to develop the Trang local roasted pork pieces into cookies and to study the effect of chilling and freezing of cookie dough on cookie quality. The methodology of research was conducted by studying 3 different levels (25%, 50% and 75%) of dry roasted pork suitable to be cookie and study the cookie properties: microbiological and physical quality. The results of this research indicated that addition of dry roasted pork into cookie dough at 50% level received the highest sensory score for all aspects. The 50% dry roast pork cookie dough was studied regarding chilling and freezing storage condition, and determined color, spread ratio and textural quality. The color parameters were determined through lightness (L*), redness (a*) and yellowness (b*) values of both cookie dough models stored under chilling and freezing and the results showed that these values increased with increasing retention time. In terms of cookie color from chilling and freezing cookie dough, it was found that L* and a* decreased but b* was unchanged. The spread ratio for both cookies from chilling and freezing dough decreased, the spread ratio of freezing dough was lower than chilling dough. When cookie’s textural quality was investigated, hardness value from both chilling and freezing cookie dough increased after week 2 and increase rate continued until week 6. In addition, the chewiness value increased for both cookies from chilling and freezing dough. The fracturability of cookies from chilling and freezing dough slightly increased after 6-week storage. And crispiness value of both cookies from chilling and freezing dough were stable as early as 2 weeks and continually increased until last storage time at week 6.Item การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์(วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2022-01-11) นวลรัตน์ วัฒนาการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจให้สามารถใช้งานบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนให้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไปและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวน 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาจำนวน 2 ท่าน และผู้ใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจจำนวน 30 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง โดยอาศัยเครื่องมือทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคโนโลยีการศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาพบว่าด้านที่อยู่ในระดับดีมากคือ ด้านแบบฝึกหัดทบทวนท้ายบทเรียน ในระดับดีคือ ด้านเนื้อหา ด้านรูปภาพ ตัวอักษร และการใช้ภาษา ส่วนผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาพบว่าด้านที่อยู่ในระดับดีมากคือ ด้านภาพประกอบ ในระดับดีคือ ด้านตัวอักษรและสี และการออกแบบและพัฒนา สำหรับการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมาก โดยด้านที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดคือ ด้านเนื้อหาและภาพประกอบ ส่วนระดับมากคือ ด้านการใช้งานและด้านตัวอักษรและสีItem ศักยภาพและความพร้อมในการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนภาคใต้ฝั่งอันดามัน(วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2022-06-22) มาฆฤกษ์ ชูช่วย; กานต์พิชชา ดุลยะลางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชนภาคใต้ฝั่งอันดามัน ศึกษาความคาดหวังและการรับรู้หลักสูตรการท่องเที่ยวชุมชนและการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชนภาคใต้ฝั่งอันดามัน และศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนชุมชน สังคม และภูมิภาค โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรการท่องเที่ยวชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวชุมชนภูมิเวศภาคใต้ฝั่งอันดามัน 12 ชุมชน ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนภูมิเวศภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมจำนวน 18 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวชุมชนภูมิเวศภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แนวคิดและทฤษฎีการท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรระยะสั้น และปัจจัยที่มีผลต่อผลการกำหนดศักยภาพในการสังเกต และข้อมูลการสนทนากลุ่มหาความหมายเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีลักษณะ เป็นภาพมุมมองแบบองค์รวม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของประชากร และระดับความคาดหวังและการรับรู้หลักสูตรการท่องเที่ยวชุมชนและการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชน ผลการศึกษาพบว่าศักยภาพและความพร้อมของท่องเที่ยวชุมชนภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นการจัดการด้วยองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะ รวมทั้งกระบวนการดำเนินการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมินิเวศ กิจกรรมการท่องเที่ยว และภูมิปัญญาตามอัติลักษณ์ของท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงความต้องการของชุมชนการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามันในการรวมกลุ่มจัดตั้งการเรียนรู้ และความพร้อมของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษาในการสนับสนุน เพื่อสร้างแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชน คิดค้น พัฒนา สร้างศักยภาพ และยกระดับการบริการของท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งมีแนวโน้มสอดคล้องกับความพร้อมในการพัฒนาเป็นสถาบันการเรียนรู้ในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น และมีความสัมพันธ์กับผลการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวชุมชนภูมิเวศภาคใต้ฝั่งอันดามัน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 40-49 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพในองค์กรเอกชน และเป็นเพศชาย อายุ 50-59 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และประกอบอาชีพในองค์กรภาครัฐตามลำดับ มีระดับความความคาดหวังและการรับรู้หลักสูตรการท่องเที่ยวชุมชนและการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยประเด็นที่มีระดับความคาดหวังในระดับมากที่สุด คือ ด้านการมีหลักสูตรที่หลากหลาย และด้านการรองรับมาตรฐานและคุณวุฒิ รองลงมา คือ ด้านการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐาน ส่วนประเด็นที่มีระดับการรับรู้มากที่สุด คือ ด้านความพร้อมของหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในชุมชน รองลงมา คือ ด้านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะของชุมชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในการจัดการให้สอดคล้องตามบริบทเชิงพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย สู่การเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชนภาคใต้ฝั่งอันดามัน ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานต่อไปItem การวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร มรดกหมูย่างเมืองตรังเพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์(วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2022-04-12) ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์; ชฎาวรรณ ศิริจารุกุลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมอาหารมรดกหมูย่างเมืองตรังเพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จําานวน 480 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบบังเอิญ โดยการกําาหนดขนาดแหล่งข้อมูลใช้เกณฑ์ 1:20 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสําารวจ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวมีดังนี้ 1) ศักยภาพการบริหารจัดการด้านท่องเที่ยว ประกอบด้วย 15 ตัวแปร ได้แก่ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ความร่วมมือจากหน่วยงาน ความเพียงพอของสาธารณูปโภค บุคลากรมีความพร้อมให้บริการ การใช้ประโยชน์พื้นที่เหมาะสม การติดตามและประเมินผล กิจกรรมท่องเที่ยวที่เหมาะสม มีการสนับสนุนและพัฒนา มีส่วนร่วมของชุมชน การให้ความรู้และสร้างจิตสําานึก มีสาธารณูปโภคพร้อม ชุมชนสามารถสร้างรายได้ การรักษาสภาพและฟื้นฟู มีสาธารณูปโภคที่เอื้ออําานวย ความหลากหลายของกิจกรรม 2) ศักยภาพด้านเอกลักษณ์ทางกายภาพศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียม ในการรองรับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 9 ตัวแปร ได้แก่ การสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ ความงดงามทางศิลปวัฒนธรรม ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีที่สืบค้นได้ การสืบทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สะดวก ความเข้มแข็งในการรักษาเอกลักษณ์ ความผูกพันต่อวิถีชีวิตในชุมชน และความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวItem การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะไส้หมูย่าง(วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2021-10-10) ทิพย์พิกา ธรฤทธิ์; สาวิตรี ณุวงศ์ศรีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะไส้หมูย่าง เป็นการนำเอาส่วนที่เหลือจากการเตรียมหมูย่างมาเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารว่าง การวิจัยประกอบด้วย (1) การคัดเลือกสูตรมาตรฐานของเปลือกและไส้ขนมเปี๊ยะโดยการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่าแป้งเปลือกที่ผู้ทดสอบชอบมากที่สุด แป้งชั้นนอก ประกอบด้วย แป้งเค้ก น้ำมันพืช น้ำตาลทราย แบะแซ ไข่ไก่ และน้ำเปล่า แป้งชั้นใน ประกอบด้วย แป้งเค้ก และน้ำมันพืช โดยมีค่าเนื้อสัมผัสเท่ากับ 424.93 กรัม และทำการประเมินคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของไส้ขนมเปี๊ยะที่มีลักษณะเนื้อหมูย่างต่างกัน พบว่าหมูย่างลักษณะเป็นชิ้นมีคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุด โดยคุณภาพด้านกายภาพของขนมเปี๊ยะทั้งลูกมีค่าความแข็ง (hardness) มากที่สุดเท่ากับ 131.95 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า aw ของไส้ขนม 0.90 เปลือกขนม 0.64 และขนมทั้งลูก 0.84 (2) การศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะไส้หมูย่างที่บรรจุในถุงพลาสติก LDPE และถุง LDPE ที่บรรจุสารดูดซับออกซิเจน เมื่อพิจารณาคุณภาพด้านจุลชีววิทยา โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและคุณภาพด้านประสาทสัมผัส ได้แก่ ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าขนมเปี๊ยะไส้หมูย่างในถุง LDPE และถุง LDPE ที่บรรจุสารดูดซับออกซิเจนสามารถเก็บรักษาได้ 2 วัน และ 4 วันตามลำดับ (3) การศึกษาคุณภาพทางเคมีและการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะไส้หมูย่าง พบว่าในขนมเปี๊ยะ 100 กรัม มีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โปรตีน 15.33 กรัม ไขมัน 21.13 กรัม ความชื้น 28.72 กรัม เถ้า 1.39 กรัม ใยอาหาร 0.07 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.43 กรัม และพลังงานทั้งหมด 385.18 กิโลแคลอรี ผลการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคทั่วไป พบว่า ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อแน่นอนและอาจซื้อมากถึง ร้อยละ 98