Browse
Recent Submissions
Item ความสําเร็จในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2019-12) มานิดา เชื้ออินสูง; เหรียญ ใกล้กลาง; สุรพงษ์ นิ่มเกิดผลการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสําเร็จในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิตขาวอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืนอําเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรีรวมถึงปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นในจังหวัดสุพรรณบุรี และศึกษาแนวทางหนุนเสริมและขยายผลไปยังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นในจังหวัสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมกลุ่มย่อยกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืนและการจัดประชุม กลุ่มย่อย กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยน คือ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตลิ่งชัน (อําเภอเมือง) กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรบ้านตาลลูกอ่อน (อําเภออู่ทอง) และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้เศรษฐกิจโตเร็ว (อําเภอด่านช้าง) ผลการวิจัย พบ ปัจจัยที่นําไปสู่ความสําเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ได้แก่ ผู้นํากลุ่ม สมาชิกกลุ่ม การบริหารจัดการกลุ่ม ปัญหาอุปสรรคของกลุ่มวิสาหกิจ พบปัญหาแนวกันชน การจัดการน้ำ การขาดองค์ความรู้ ด้านเกษตรอินทรีย์และมีการกำหนดแนวทางหนุนเสริมและขยายผลไปยังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่น คือ หาความรู้จากการศึกษาดูงานกับกลุ่มที่ประสบความสําเร็จ ทําบันทึกบัญชี และออกร้านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายItem การทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย(MFU Connexion Journal of Humanities and Social Sciences, 2015) มานิดา เชื้ออินสูงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย (2) เพื่อตรวจสอบความตรงของตัวแบบกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย และ (3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย ในรูปแบบของโมเดลเชิงสาเหตุ จากกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 217 คน การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย ทั้ง 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำ (2) การสร้างเครือข่าย (3) การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม (4) ความสามารถในการแข่งขันและ (5) ผลการดำเนินงาน ผลการวิจัย พบว่า การสร้างเครือข่าย และความสามารถในการแข่งขันมีอิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลโดยรวมต่อผลการดำเนินงาน ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้นำไปใช้ในทางปฏิบัติ และประเด็นเพื่อการศึกษาวิจัยในอนาคต เกี่ยวกับกรอบแนวคิดและรูปแบบในการศึกษาวิจัยนี้ สามารถนำไปทดสอบกับกลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะหรือทำการวิจัยเชิงคุณภาพ เปรียบเทียบตามกลุ่มข้อจำกัดในการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำกัด ขอบเขตเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะ (โรงงาน 105) เท่านั้น ผู้วิจัยไม่ได้ศึกษาผู้มีส่วนได้เสียอื่น (stakeholder) เช่น ชุมชน ภาครัฐ ฯลฯ