GRS-Research Report
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GRS-Research Report by Subject "ช้างเร่ร่อน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item มาตรการทางกฎหมายในการจัดการช้างเร่ร่อนของกรมปศุสัตว์(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) บุณิกา จุลละโพธิการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายของกรมปศุสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการช้างเร่ร่อน ปัญหาและอุปสรรคจากการบังคับใช้กฎหมายของกรมปศุสัตว์ในการจัดการช้างเร่ร่อน และแนวทางในการบริหารจัดการช้างเร่รอนของกรมปศุสัตว์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสาร กฎหมายแรงงาน รายงาน และการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสีย ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับช้างมีทั้งหมด 21 ฉบับ เป็นกฎหมายที่สามารถนำมาบังคับใช้เมื่อได้รับการแจ้งเหตุพบช้างเร่ร่อน 10 ฉบับ และเป็นกฎหมายของกรมปศุสัตว์ 2 ฉบับ คือ (1) พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตเคลื่อนย้ายช้าง ลักษณะของยานพาหนะและอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายช้าง การป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ และ (2) พระราชบัญญัติการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้กับช้าง ปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีกฎหมายเกี่ยวข้องกับช้างหลายฉบับ แต่ละฉบับมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแตกต่างกันทำให้ไม่มีหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ เจ้าของช้างไม่มีความเกรงกลัวกฎหมาย เจ้าหน้าที่ขาดความเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขาดความร่วมมือในการทำงานหรือบูรณาการใช้กฎหมายร่วมกัน สำหรับข้อเสนอแนะ ควรทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายเดิม เพื่อปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานการบังคับใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ในภาพรวมทุกหน่วยงาน ให้ครอบคลุมทุกกระบวนการ เป็นการกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกันให้เป็นเอกภาพ นอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้วควรใช้แนวทางการส่งเสริมและการสนับสนุนต่อเจ้าของช้าง เพื่อให้มีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ที่เหมาะสม มีอาหารและน้ำให้กับช้างอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการอย่างยิ่ง จะเป็นการแก้ปัญหาในภาพรวมอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน