GRS-Research Report
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GRS-Research Report by Subject "คำสั่งทางปกครอง"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item วิเคราะห์คำพิพากษาและคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีวินิจฉัยคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาว่ามีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือเป็นการใช้สิทธิ์ในสัญญาทางปกครอง(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-16) เอกรัฐ เผ่าพงศ์ประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด เหตุผลของศาล หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย ลักษณะคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา กรณีวินิจฉัยคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาว่า มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือเป็นการใช้สิทธิ์ในสัญญาทางปกครอง 2) พิจารณาความแตกต่างของคำสั่งลงโทษพนักงานในอุดมศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาหรือพนักงานในอุดมศึกษา และ 3) เสนอแนะแนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงเอกสาร เช่น พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง คำพิพากษา และคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและทำการจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยมีดังนี้ ประการแรกแนวคิดของศาลในการวินิจฉัยลักษณะคดีคือ กระบวนการเริ่มต้นอันเป็นที่มาของการออกคำสั่งลงโทษ และเหตุที่อ้างของผู้ถูกฟ้องคดีในการเริ่มต้นกระบวนการ ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายภายใน หรืออ้างสิทธิตามสัญญาจ้างพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบกับลักษณะของคำสั่งทางปกครอง และสัญญาทางปกครอง ประการที่สองแนววินิจฉัยของศาลปกครองกรณีมีคำสั่งลงโทษพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิของพนักงานโดยตรง เนื่องจากอาจเกิดความสับสนทั้งขณะอยู่ในกระบวนการการดำเนินการทางวินัยและขั้นตอนก่อนฟ้องคดี และส่งผลกระทบต่อสถาบันอุดมศึกษาในแง่ของการดำเนินการออกคำสั่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประการสุดท้ายแนวทางการออกคำสั่งลงโทษพนักงานให้ยึดถือรูปแบบการดำเนินการทางวินัยโดยต้องมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนดItem หลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารกับการแก้ไขปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีศึกษา นักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-06-15) อาทิตย์ สุทธิธรรมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักธรรมมาภิบาลของนักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 (2) ศึกษาปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (3) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาวิทยาลัยการทัพบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 ในการนำหลักธรรมมาภิบาลมาแก้ไขปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 จำนวน 157 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาร โดยใช้สถิติค่าไควแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุ 41-50 ปี เพศชายมีสถานสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท และมีระยะเวลาปฏิบัติงานมากกว่า 15 ปี (2) หลักธรรมาภิบาลของนักศึกษานักศึกษาวิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 66 ในภาพรวมและรายด้านมีปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองอยู่ในระดับน้อยที่สุด ยกเว้นรายด้านหลักความโปร่งใส มีหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมาก (3) ปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองในภาพรวมรายด้านมีปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองอยู่ในระดับน้อยที่สุด ยกเว้นรายด้านหลักว่าด้วยกระบวนการขั้นตอนและหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ มีปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านหลักการใช้เหตุผลและด้านหลักการว่าด้วยกระบวนการขั้นตอน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01