GRS-Research Report
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GRS-Research Report by Subject "การเรียนและการสอน"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การศึกษาความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้กระดานสอนอ่าน(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) สุมาลี พูลสวัสดิ์การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้กระดานสอนอ่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กระดานสอนอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัญญาวุฒิกร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 คน ซึ่งเลือกมาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ มีระดับสติปัญญาระหว่าง 50-70 และไม่มีความพิการซ้ำซ้อน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แผนการสอนอ่านคำศัพท์โดยใช้กระดานสอนอ่าน 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วนำคะแนนที่ได้จากการประเมินทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิธีทดสอบวิลคอกชัน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร ก่อนการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่านในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ความรู้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง อ่านจากคำ อ่านจากภาพ และอ่านจากภาพและคำ แต่หลังการทดลองความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโรงเรียน ปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่าน ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ความรู้ ค่าเฉลี่ย 52.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.31 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่าน อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ความรู้ทั้ง 3 เรื่องคือ อ่านจากคำอ่านจากภาพ และอ่านจากภาพและคำ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กบกพร่อง ทางสติปัญญาโดยใช้กระดานสอนอ่าน ความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่านในภาพรวม แตกต่าง จากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .026) การทดสอบสมมติฐาน ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon Signed Ranks Test พบว่า ความสามารถการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร หลังการพัฒนาโดยใช้กระดานสอนอ่าน ในภาพรวมแตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .026) เมื่อ พิจารณาความสามารถการอ่านคำศัพท์ก่อน-หลังได้รับการพัฒนาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถ การอ่านคำศัพท์หลังได้รับการพัฒนาใน 3 เรื่อง คือ อ่านจากคำ (p-value = .024) อ่านจากภาพ (p-value = .024) และอ่านจากภาพและคำ (p-value = .023) แตกต่างจากก่อนได้รับการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Item การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเซต โดยวิธีการสอนที่แตกต่างกันตามความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนที่มี่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) อรอนงค์ นุเสนการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย วิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา เรื่อง เซต ประชากรที่ศึกษา คือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับหูหนวก กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2560 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ระหว่างเรียนและหลังเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 82.38/80.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับ หูหนวกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ หลังได้รับวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญาสูงกว่าก่อนได้รับวิธีการสอนที่แตกต่างตามความสามารถทางพหุปัญญา