GRS-Research Report
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GRS-Research Report by Subject "การศึกษาและการสอน"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-01) กาญจนา เดชภิญญาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นประถมปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยเลือกแบบเจาะจงจากระดับสติปัญญา 50-70 ไม่มีพิการซ้อน มีจำนวนทั้งสิ้น 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้การประกอบอาหารโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ จำนวน 8 แผน แบบประเมินระหว่างเรียนแต่ละแผน จำนวน 8 ชุด และแบบประเมินความสามารถด้านทักษะปฏิบัติการประกอบอาหารก่อนและหลังที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วน าคะแนนที่ได้จากการประเมินท าการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิธีทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 คะแนนระหว่างการพัฒนาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.50 และคะแนนหลังการพัฒนาความสามารถในการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนดไว้ (E1/E2 เท่ากับ 80/80) 2) ความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ พบว่า นักเรียนมีคะแนนอยู่ระหว่าง 140-176 คะแนน มีค่าเฉลี่ย 161.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.20 3) การเปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon Signed Ranks Test พบว่า ความสามารถหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ในภาพรวมแตกต่างจากก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .028) แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหลังพัฒนาความสามารถด้านการประกอบอาหารโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์มีการพัฒนาสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้Item การศึกษาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูถัมถ์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2019-06-07) วิชชุดา แหล่งสนามการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) ศึกษาความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และ3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองจากประชากรที่เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่สูญเสียการได้ยินระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป และมีใบรับรองความพิการกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ จำนวนทั้งสิ้น 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ก่อน-หลังการทดลอง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .643 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.29/83.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ (E1/E2 เท่ากับ 80/80) 2) ความสามารถด้านการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับปรับปรุง ในขณะที่หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.88 คะแนน 3) ความสามารถด้านการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในภาพรวมแตกต่างจากก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05