Faculty and Staff Publications
Permanent URI for this community
Browse
Browsing Faculty and Staff Publications by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 3005
Results Per Page
Sort Options
Item มาตรการทางสังคมเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรม ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 Social Measures and Their Impact on Crime Management Effectiveness During the COVID-19 Outbreak(Ratchaphruek Journal, 0023) ชาติชาย มหาคีตะ; อาภาศิริ สุวรรณานนท์งานวิจัยเรื่องมาตรการทางสังคมเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมในการสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยมีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 540 คน และจัดการสนทนากลุ่มกับผู้แทนจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 12 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 อันดับที่ 1 คือ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการทางสังคมที่เหมาะสม อันดับที่ 1 คือ การส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพกฎหมายและมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐและผู้นำชุมชน การวิเคราะห์ผลการวิจัยรูปแบบมาตรการทางสังคม คือ การสร้างความตระหนักรู้และควบคุมตนเองจากภายในครอบครัวและชุมชน การสร้างจิตสำนึกต่อสังคมร่วมกันกับภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นในชุมชน การสร้างความยุติธรรมทางสังคม การสร้างนวัตกรรมทางสังคม และการสร้างความยั่งยืนของมาตรการทางสังคมในภาวะวิกฤตItem มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา นครนายก จัดกิจกรรมที่ 4 เกษตรปันสุข ณ หอพักนักศึกษา(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา นครนายก, 0025-01-24) ฉัตรชัย ต้นมงคลวัฒนาItem การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติด(RatchaphruReak Journal, 1265-09) ชาติชาย มหาคีตะ; อาภาศิริ สุวรรณานนท์การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบหลักสูตรการฝึกอาชีพ และ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพ จํานวน 2 หลักสูตร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพดด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาดูงานเป็นกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ผู้แทนจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นักวิชาการ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้แทนสถานประกอบการและเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอบรม รวมทั้งสิ้น 58 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผลการศึกษา พบว่า 1) การฝึกวิชาชีพในปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรที่กําหนดไว้ชัดเจน 2) การพัฒนาหลักสูตรจํานวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการทํางานในสถานประกอบการและหลักสูตรการประกอบอาชีพอิสระ โดยมีวิชาปรับพื้นฐานรวม วิชาบังคับร่วม และวิชาเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความถนัดของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอบรมฯItem ปอกเปลือกประเทศไทย(ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2009) รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ปอกเปลือกประเทศไทย ผ่าน...บทความที่เข้มข้นบนฐานข้อมูล "สวนดุสิตโพล"Item สวนดุสิตโพล : ชี้เป็นชี้ตาย หรือคำทำนายอนาคต(บริษัท โซลิด มีเดีย (ประเทศไทย), 2010-02-01) กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์โซลิด บุ๊กส์เจาะกลยุทธ์ต้นตำหรับโพลการเมืองของสำนักโพลอันดับ 1 ของประเทศ ที่ส่งอิทธิพลสะท้านสะเทือนบัลลังก์การเมืองที่ล่อแหลมและอ่อนไหวกับหนังสือ สวนดุสิตโพล : ชี้เป็นชี้ตาย หรือคำทำนายอนาคตItem มองเมืองไทยผ่าน "สวนดุสิตโพล"(บริษัท ส.พิจิตรการพิมพ์ จำกัด, 2010-06-01) รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์; สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมองทะลุผ่านเมืองไทย แบบมากกว่า 360 องศา บนฐานข้อมูลของ "สวนดุสิตโพล" ทุกตัวเลขมีนัย ทุกเหตุผล...มีความหมาย ทุกข้อมูล...มีค่า อีกหนึ่งมีมิติของการนำเสนอความคิดเห็นที่สกัดจาก "ประชาชน" ธรรมดาๆ สู่การมองการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาไทยในอีกองศาที่แตกต่าง โดยผ่านบทความที่เคี่ยวกรำจากความรู้ในตัวผุ้เขียน และฐานข้อมูลที่กลั่นออกมาจาก "ประชาชน" ที่สะท้อนผ่าน "สวนดุสิตโพล" อันจะทำให้ได้ "รู้มากกว่าที่เคยรู้"..."เข้าใจมากกว่าที่เข้าใจ"..."เห็นมากกว่าที่เห็น"..หรือแม้แต่ "รับรู้มากกว่าที่เคยรู้"ว่า... "เมืองไทย" มีอีกหลายเรื่องที่ "นักการเมือง นักวิชาการ กูรูผุ้เชี่ยวชาญ"... "ไม่คิด..คิดไม่ถึง" แต่ "ประชาชนคนธรรมดา"..."คิด...คิดชนิดทะลุปรุโปร่ง"...!!!Item ย่างสามขุม(บริษัท โซลิด มีเดีย(ประเทศไทย) จำกัด, 2011-03-01) กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์โซลิด บุ๊กส์เส้นทางของคนชื่อ "สุขุม" มีความเป็นมาอย่างไร กว่าที่แต่ละคนจะสร้างตัวตนจนเป้นที่รู้จักในวงสังคมได้ ต้องผ่านเรื่องราว อุปสรรคใดมาบ้าง พบชีวิตและเรื่องราวแบบเจาะลึกได้ใน ย่างสามขุม รศ.สุขุม นวลสกุล, รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ และรศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย หนังสือที่จะสะท้อนการย่างก้าวของ "สุขุม" จนกลายเป็น "ไอดอล" ให้กับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการ "ต้นแบบ" ในการดำเนินชีวิตItem ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อไทย-กัมพูชา(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2011-03-20) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพลได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน 3,185 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2554 ต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า 40.72% ของประชาชนวิตกกังวล เพราะไม่รู้ว่าความขัดแย้งจะจบลงอย่างไร ขณะที่ 29.98% กลัวการเกิดสงครามและความวุ่นวายในประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารเป็นระยะ (56.17%) แต่มีถึง 41.29% ที่ไม่เข้าใจเหตุการณ์อย่างแท้จริง สาเหตุที่ปัญหายืดเยื้อเกิดจากการเจรจาที่ยังไม่ชัดเจน (44.52%) และขาดความจริงใจจากทั้งสองฝ่าย (31.81%) ประชาชนเสนอแนวทางแก้ไข เช่น หยุดยิงโดยถาวร (32.06%) และเจรจาด้วยความจริงใจ (31.30%) ผู้ที่ประชาชนคาดหวังว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้คือ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์และคณะรัฐมนตรี (34.10%) ร่วมกับพันธมิตรทางการเมือง การสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลและความต้องการของประชาชนต่อแนวทางที่ยั่งยืนในการคลี่คลายสถานการณ์ พร้อมเรียกร้องความร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงและรักษาเสถียรภาพของประเทศItem (เสี้ยวหนึ่ง)...สวนดุสิตโพล' 55(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2012) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสุขม เฉลยทรัพย์ ชุบชีวิตให้ผล-โพลล์ เมื่อพูดถึง “โพลล์” บุคคลที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงคงเป็นใครอื่นไปไม่ได้ หากไม่ใช่ “รศ.ดร.สุขม เฉลยทรัพย์” - เจ้าพ่อแห่งวงการโพลล์ ที่ทำให้"สวนดุสิตโพล" กลายเป็นข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นที่ถูกใช้อ้างอิง และให้ความเชื่อถือเป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย หากย้อนเวลากลับไปสัก 10 -20 ปีก่อน โพลล์หรือการสำรวจความคิดเห็นในเมืองไทยถูกพูดถึงหรือให้ความสำคัญน้อยมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ เครื่องไม้เครื่องมือในการสื่อสารในยุคสมัยนั้นยังไม่เพียบพร้อมและไม่รวดเร็วเหมือนในสมัยนี้ แต่อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะโพลล์ยังดูเป็นเรื่องไกลตัวเกินไปสำหรับคนไทยItem Gastronomic Tourism in Ayutthaya, Thailand(Proceedings of the International Conference on Tourism, Transport, and Logistics, 2013-02-02) Ladapha Pullphothong, Chiranut SophaThai gastronomic tourism involves culinary heritage resources basis and theirs amazing tourist destinations which can be generated the squander of the long history of Thai culinary heritage resources. This article addresses this by drawing together knowledge of gastronomy involving with tourism aspect in order to develop a better understanding of the meaning, role, and the importance of gastronomy and culinary heritage in Thailand tourism. Particular attention is paid to the relationship between the forces of localization and the potential for being the gastronomic destination of Ayutthaya. The aim of this paper is to present the gastronomic tourism in Ayutthaya, Thailand. The study was using qualitative method. Data were gathered from documentaries, interviewing, observation and exploring geographic of the tourism area. The result of the culinary aspect discovered that there are the most popular menus of Thai dishes and desserts among those Thai and foreign tourists which included kouy tiew rue, Thai styled rice noodle soup with vegetable and meat: kung-mae-naam-pao, charcoal grilled river prawn, and the dessert is the candy floss wrapped with roti flour.Item วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่, 2013-08-08) สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี โดยคณะนักศึกษาและครู จำนวน 13 คน เข้าศึกษาดูงานโฮมเบเกอรี่ เพื่อสร้างความตระหนัก พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ และเปิดโลกทัศน์ในด้านการประกอบธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม ณ โฮมเบเกอรี่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556Item วิทยาลัยชุมชนแพร่ ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่, 2013-09-03) สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากวิทยาลัยชุมชนแพร่ ในการเข้าศึกษา ดูงานหลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ครัวสวนดุสิต ศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหารนานาชาติ และโฮมเบเกอรี่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับครูผู้สอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ประกอบการร้านอาหาร ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556Item Home Bakery เชิญชวนคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ร่วมตักบาตรอาหารเพื่อสุขภาพ(สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่, 2013-12-11) สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่อาจารย์จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานโครงการ บริการอาหารและขนมอบ (โฮมเบเกอรี่) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดกิจกรรมตักบาตรอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ร่วมตักบาตร ณ โฮมเบเกอรี่ เมื่อวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2556 ซึ่งกิจกรรมตักบาตรในครั้งนี้จะจัดต่อเนื่องทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เวลา 07.30-8.00 น. บริเวณด้านหน้าโฮมเบเกอรี่Item 25 ปี สวนดุสิตโพล เดินหน้าสู่ความยั่งยืน Suan Dusit Poll 4.0(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต"สวนดุสิตโพล" เริ่มต้นมาจากการเป็นแหล่งบ่มเพาะองค์ความรู้ ด้านการสํารวจประชามติให้แก่นักศึกษาหลักสูตรบรรณาริกษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนดุสิต ซึ่งในสมัยนั้นคนไทยเริ่ม ตื่นตัวในการใช้ข่าวสารที่มีคุณภาพ สามารถอ้างอิงได้ เพื่อการรับรู้ และการตัดสินใจ ทำให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีแนวคิดที่จะผลิต บุคลากรทางด้านสารนิเทศศาสตร์ที่มีมากกว่าความรู้ ความสามารถ ตามหลักสูตรเท่านั้น ในจำนวนนี้มีวิทยาลัยครูสวนดุสิต (ในขณะนั้น) ได้เป็นผู้ริ่เริ่มลงมือจากแนวคิดสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง จนสามารถพัฒนาแหล่งบ่มเพาะของนักศึกษามาสู่การเป็นสำนักโพลที่ทําหน้าที่ สํารวจความคิดเห็นวิเคราะห์วิจัยเพื่อเผยแพร่ข้อมูล สถานการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นที่สังคมก่าลังให้ความสนใจและรวมไปถึงการนําเสนอความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในสังคมให้กับสาธารณชนได้รับทราบ เพื่อเป็นการรับรู้ไปจนกระทั่งถึงข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับตลอดมา การทำงานที่ผ่านมาสวนดุสิตโพล มีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นกลาง และเชื่อถือได้ กลายเป็นสถาบันที่สังคมให้ความเชื่อใจตลอดมา กระทั่งบัดนี้เป็นระยะเวลาถึง 25 ปีแล้ว หากเปรียบเทียบเป็นต้นไม้ คงต้องยอมรับว่า ณ วันนี้ สวนดุสิตโพลได้กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขา และรากแก้วที่มั่นคง จนสามารถเป็นที่พักพิงด้านองค์ความรู้ในศาสตร์การสำรวจสาธารณมติให้แก่สังคมไทยได้เป็นอย่างดีItem กลยุทธ์การตลาด(คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015) มานิดา เชื้ออินสูงItem การทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย(MFU Connexion Journal of Humanities and Social Sciences, 2015) มานิดา เชื้ออินสูงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย (2) เพื่อตรวจสอบความตรงของตัวแบบกับความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย และ (3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย ในรูปแบบของโมเดลเชิงสาเหตุ จากกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 217 คน การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการทดสอบรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะในประเทศไทย ทั้ง 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำ (2) การสร้างเครือข่าย (3) การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม (4) ความสามารถในการแข่งขันและ (5) ผลการดำเนินงาน ผลการวิจัย พบว่า การสร้างเครือข่าย และความสามารถในการแข่งขันมีอิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลโดยรวมต่อผลการดำเนินงาน ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้นำไปใช้ในทางปฏิบัติ และประเด็นเพื่อการศึกษาวิจัยในอนาคต เกี่ยวกับกรอบแนวคิดและรูปแบบในการศึกษาวิจัยนี้ สามารถนำไปทดสอบกับกลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะหรือทำการวิจัยเชิงคุณภาพ เปรียบเทียบตามกลุ่มข้อจำกัดในการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำกัด ขอบเขตเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมคัดแยกขยะ (โรงงาน 105) เท่านั้น ผู้วิจัยไม่ได้ศึกษาผู้มีส่วนได้เสียอื่น (stakeholder) เช่น ชุมชน ภาครัฐ ฯลฯItem ความคาดหวังของคนไทยในปี 2558(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015-01-04) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพลได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 1,642 คนระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ถึง 3 มกราคม 2558 เกี่ยวกับความคาดหวังในปี 2558 เปรียบเทียบกับปี 2557 ผลสำรวจแบ่งเป็นสามด้าน ได้แก่ ด้านประชาชน ด้านชุมชน และด้านประเทศไทย ในแต่ละด้านมีการระบุสิ่งที่คาดว่าจะดีขึ้นและแย่ลง ด้านประชาชน คาดหวังว่าจะมีงานมั่นคง การเรียนสำเร็จ และเงินเดือนขึ้น แต่กังวลเรื่องสุขภาพ เวลาพักผ่อน และค่าครองชีพ ด้านชุมชน คาดหวังการพัฒนาสาธารณูปโภค ความสะอาด และความสามัคคี ขณะที่กังวลปัญหายาเสพติด สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และปัญหาวัยรุ่น ส่วนด้านประเทศไทย คาดหวังความสงบสุข เศรษฐกิจดีขึ้น และเทคโนโลยีทันสมัย แต่กังวลความเสื่อมถอยของวัฒนธรรม ปัญหาศีลธรรม และระบบการศึกษาItem วันเด็ก ปี 2558(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015-01-09) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตการสำรวจนี้จัดทำโดยสวนดุสิตโพลเกี่ยวกับความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนไทยต่อวันเด็กแห่งชาติ ปี 2558 โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,275 คน ระหว่างวันที่ 5-9 มกราคม 2558 ผลการสำรวจพบว่า เด็กๆ ต้องการของขวัญประเภทเทคโนโลยีมากที่สุด (93.25%) รองลงมาคือของเล่น (90.12%) และจักรยาน (88.39%) เด็กส่วนใหญ่รู้จักนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน (96.55%) และสิ่งที่อยากขอจากนายกรัฐมนตรีคือการสนับสนุนด้านการศึกษาและกีฬา (91.84%) ส่วนสิ่งที่อยากขอจากพ่อแม่คือความรักความเข้าใจ (94.04%) และอุปกรณ์เทคโนโลยี (92.94%) เมื่อโตขึ้นเด็กๆ ตั้งใจจะประกอบอาชีพที่ใฝ่ฝัน (95.45%) และเป็นคนดีของสังคม (82.50%) สำหรับความคิดเห็นต่อการเมืองไทย เด็กๆ มองว่าการเมืองไทยเริ่มดีขึ้น (91.22%) แต่ยังมีความวุ่นวาย (89.02%) และไม่อยากให้ผู้ใหญ่ทะเลาะกัน (84.94%) การสำรวจนี้สะท้อนมุมมองและความต้องการของเด็กไทยในช่วงวันเด็กแห่งชาติปี 2558Item ประชาชนคิดอย่างไร? กับการให้ “กระทรวงมหาดไทย”และ “กระทรวงศึกษาธิการ” จัดการเลือกตั้ง(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015-01-11) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตกรณีที่มีการเสนอให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการเลือกตั้งแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,247 คน ระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2558 พบว่า ปัญหาหลักในการเลือกตั้งที่ผ่านมาคือ การจัดการที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นกลาง และมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง รองลงมาคือ ความเบื่อหน่ายการเมือง และความขัดแย้งทางการเมือง สำหรับข้อเสนอให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการจัดการเลือกตั้งแทน กกต. ประชาชนส่วนใหญ่ (62.25%) ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า กกต. เป็นหน่วยงานอิสระและมีหน้าที่โดยตรงในการดูแลเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่เห็นด้วย (37.75%) มองว่าเป็นการสร้างความร่วมมือและอาจทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น เมื่อถามว่าใครควรเป็นเจ้าภาพในการจัดการเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่เลือก กกต. (66.67%) รองลงมาคือความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการ ข้อดีที่ประชาชนเห็น ได้แก่ ความเป็นระบบระเบียบ เจ้าหน้าที่เพียงพอ และการป้องกันการทุจริต ขณะที่ข้อเสียคือ ขาดความเป็นอิสระ ถูกแทรกแซง และขาดประสบการณ์Item ยักยอกเงินกว่าพันล้าน สจล.(สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2015-01-11) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตการศึกษานี้นำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยสวนดุสิตโพลเกี่ยวกับกรณีการยักยอกเงินกว่า 1,000 ล้านบาทในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 1,214 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-10 มกราคม 2558 ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขาดคุณธรรมและจิตสำนึก โดยระบุว่าสาเหตุหลักเกิดจากความโลภ ความอยากได้อยากมี (67.39%) ประชาชนร้อยละ 70.11 เห็นว่าควรดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ทั้งจับกุม ยึดทรัพย์ และจำคุกผู้กระทำผิด อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 53.31 ที่มั่นใจว่าจะสามารถสืบสาวและเอาผิดผู้กระทำได้ ในขณะที่ร้อยละ 73.41 เชื่อว่าเหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านการศึกษาในภาพรวม ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าบทเรียนสำคัญจากกรณีนี้คือสถาบันการศึกษาควรเพิ่มความตระหนักและความรอบคอบในการบริหารจัดการการเงิน