TRGC-Proceeding Document
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing TRGC-Proceeding Document by Author "เบญจวรรณ ขุนฤทธิ์"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคุณธรรม วัดกาญจนบริรักษ์บ้านโคกแค ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง(คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 2022-12-03) มนต์ชัย ไชยวรรณ; ธนะวิทย์ เพียรดี; เบญจวรรณ ขุนฤทธิ์การวิจัยเรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคุณธรรมวัดกาญจนบริรักษ์ บ้านโคกแค ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย และใช้วิธีการ snowball เพื่อเข้าถึงผู้ให้ข้อมูลหลัก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียงและบ้านพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีจุดแข็งคือ ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนในชุมชน แต่มีจุดอ่อนคือ ไม่มีคณะกรรมการบริหารงานที่ชัดเจน ในด้านโอกาสมีภาครัฐให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน แต่ยังมีอุปสรรคคือ ยังไม่มีการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม สำหรับองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงพื้นที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านการจัดการที่พัก และด้านบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีศักยภาพพร้อมสำหรับการต่อยอดเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ยั่งยืนต่อไปได้Item โมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook "กล้วย กล้วย"(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2023-06-15) ธนะวิทย์ เพียรดี; จริยา เกิดไกรแก้ว; เบญจวรรณ ขุนฤทธิ์; นัฏจวา ยีหะ; พีรดล เพชรพลายงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อโมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมชม Facebook “กล้วย กล้วย” จำนวน 200 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie & Morgan (1970) คือ 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ Facebook และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” ได้นำเสนอเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการเข้าถึง และด้านการดูแลรักษาระบบ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ภาพนิ่ง สื่ออินโฟกราฟิก และคลิปวีดิทัศน์ 2) ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.32 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66