TRGC-Proceeding Document
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing TRGC-Proceeding Document by Author "จริยา เกิดไกรแก้ว"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของสระมรกต เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่(คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 2022-12-03) ฉัตรติมา ศิริ; ธนะวิทย์ เพียรดี; จริยา เกิดไกรแก้วงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและสถานการณ์ปัจจุบันของสระมรกต เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของสระมรกต และ 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของสระมรกต ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพทั่วไปของสระมรกต ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม หมู่บ้านบางเตียว ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติทีนา โจลิฟฟ์ (ทุ่งเตียว) มีลักษณะเป็นวงรอบป่าเขียวครึ้ม ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ที่น่าสนใจ เป็นแหล่งชมนกหายากที่ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด ระหว่างทางเดินมีสายน้ำไหลและสระใหญ่ สระเล็กตลอดทาง 2) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของสระมรกตเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ช่วยส่งเสริมธรรมชาติศึกษาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างรายได้ และสร้างงานให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยดำเนินกิจกรรมตามองค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5 องค์ประกอบ (5A’s) ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ด้านเส้นทางคมนาคมการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของสระมรกตเป็นการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว ได้แก่ องค์ประกอบด้านพื้นที่ องค์ประกอบด้านการจัดการ องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ และองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมItem โมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook "กล้วย กล้วย"(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2023-06-15) ธนะวิทย์ เพียรดี; จริยา เกิดไกรแก้ว; เบญจวรรณ ขุนฤทธิ์; นัฏจวา ยีหะ; พีรดล เพชรพลายงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อโมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมชม Facebook “กล้วย กล้วย” จำนวน 200 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie & Morgan (1970) คือ 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ Facebook และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์บน Facebook “กล้วย กล้วย” ได้นำเสนอเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการเข้าถึง และด้านการดูแลรักษาระบบ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ภาพนิ่ง สื่ออินโฟกราฟิก และคลิปวีดิทัศน์ 2) ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.32 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66