ARIT-Synthesis Report
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ARIT-Synthesis Report by Author "พลัง เนาสราญ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item R2R การยอมรับเทคโนโลยีการเรียนการสอนและการประชุมโดยการใช้ห้องออนไลน์ของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2025-03-12) พลัง เนาสราญการวิจัย R2R เรื่อง การยอมรับเทคโนโลยีการเรียนการสอนและการประชุมโดยการใช้ห้องออนไลน์ของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจการใช้งานการเรียนการสอนและการประชุมโดยการ ใช้ห้องออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มแต่ละค่ายของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ การยอมรับเทคโนโลยีการ เรียนการสอนและการประชุมโดยการใช้ห้องออนไลน์ ของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 3) เพื่อพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการเรียน การสอนและการประชุมโดยการใช้ห้องออนไลน์ ของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัย สวนดุสิต 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยี การเรียนการสอนและการประชุมโดยการใช้ห้องออนไลน์ ของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร สายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ใข้การเรียนการสอนและการประชุมโดยการใช้ ห้องออนไลน์ จำนวน 285 คน โดยใช้สถิติในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงยืนยัน และแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์ม Zoom cloud meetings 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันของ ตัวแปรแฝงภายในและตัวแปรภายนอกของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนการสอนและ การประชุมโดยการใช้ห้องออนไลน์ของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อตัวแปร พฤติกรรมการใช้งานจริง ได้แก่ ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม รองลงมาคือ การรับรู้ถึงความง่าย การรับรู้ ถึงประโยชน์ ทัศนคติต่อการใช้งาน และปัจจัยภายนอกตามลำดับ ซึ่งตัวแปรตามสาเหตุในแบบจำลองสามารถ ร่วมกันอธิบายตามตัวแปรของพฤติกรรมการใช้งานจริงได้ร้อยละ 31.7