Lampang Center
Permanent URI for this community
Browse
Browsing Lampang Center by Author "พัชพร วิภาศรีนิมิต"
Now showing 1 - 20 of 20
Results Per Page
Sort Options
Item 21 ปี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง "จิ๋ว แต่ แจ๋ว"(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร21 ปี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง "จิ๋ว แต่ แจ๋ว" (SUAN DUSIT UNIVERSITY LAMPANG 21 YEARS) กว่า 2 ทศวรรษแห่งพลวัตรของการพัฒนา "สวนดุสิต ลำปาง" สู่ก้าวย่างของการเติบโตอย่างมั่นคง การสร้างความเข้มแข็งคืนสู่สังคมผ่านการให้บริการวิชาการด้วยกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ในทุกมิติขององค์กรและเชื่อมโยงภาคีท้องถิ่นItem ONE WORLD LIBRARY & AI STATION SUAN DUSIT UNIVERSITY LAMPANG (August - November)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024) พัชพร วิภาศรีนิมิต; กุลธิดา ปัญญาวงค์ONE WORLD LIBRARY & AI STATION SUAN DUSIT UNIVERSITY LAMPANG (August - November) มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้มุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของพื้นที่การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย โดยมีแนวทางในการ สร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวคิด One World Library (OWL) ซึ่งมุ่งหมายให้ทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัยกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ ที่สมบูรณ์แบบ พร้อมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรอย่างครอบคลุม OWL จึงเป็นตัวอย่างของการจัดการพื้นที่ ที่อย่างสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกมิติ ที่แนวคิด Place-Based Learning (PBL) ได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและจัดการพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย โดยการผสมผสานพื้นที่หลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันบนพื้นที่ที่มีการเชื่อมโยงต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงแต่เอื้อต่อการเรียนรู้ในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะชีวิต การทำงานร่วมกัน และการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมเชิงพื้นที่ที่กระตุ้นการใช้งานและส่งเสริมการเรียนรู้ในพื้นที่ของ OWL ยังถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเติมเต็มประสิทธิภาพของการเรียนรู้ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ และได้พัฒนากิจกรรมที่สามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพในทุกจุดของมหาวิทยาลัยItem การจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะนักดนตรี ทีมงานและผู้เข้าร่วมงานดนตรีเล่าเรื่อง “วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า”(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021-11-11) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครการจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะนักดนตรี ทีมงานและผู้เข้าร่วมงานดนตรีเล่าเรื่อง “วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า” โดย รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข พร้อมคณะ 11 พฤศจิกายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นำโดยดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อานวยการศูนย์ฯ ได้รับความไว้วางใจจากมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุขในการจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร. สุกรี เจริญสุขประธานมูลนิธิฯ ผู้อำนวยการโครงการ ดร. สุชาติ วงษ์ทอง ศิลปิน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส คณะนักดนตรีวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้าและทีมงาน ในการจัดงานดนตรีเล่าเรื่อง จังหวัดลำปาง เพื่อถ่ายทอดเสียงเพลงพื้นบ้านผ่านการแสดงวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า โดยมหาวิทยาลัยฯ ร่วมบูรณาการกับสาขาอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยได้แก่ สาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการดูแลในส่วนของการจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างรับรองคณะ สาขาธุรกิจการบินดูแลในส่วนต้อนรับ การจัดเลี้ยงและการบริการ และสาขาการศึกษาปฐมวัยด้านการประสานงานและรับลงทะเบียนItem การประลองสะล้อซอซึง ล้านนา ณ ไร่ผดุงธรรม(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2022-06-11) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯลำปาง สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนามูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข และภาคเอกชนในจังหวัด จัดการประกวดดนตรีล้านนา “วงสะล้อซอซึงและวงซอพื้นบ้าน” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาศรมศิลปินลำปาง ไร่ผดุงธรรม ตำบลบ้านค่า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 9 - 11 มิถุนายน 2565 โดยมีนางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน การจัดประลองวงสะล้อซอซึงและวงซอพื้นบ้านภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2565 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข และภาคเอกชนในจังหวัด จัดขึ้น ณ ไร่ผดุงธรรม บ้านค่าหลวง ตำบลบ้านค่า เมืองลำปาง โดยการประลองดนตรีครั้งนี้ ได้รับการตอบรับจากวงดนตรีพื้นบ้านล้านนาจังหวัดภาคเหนือตอนบนร่วมประกวด จำนวน 17 วง และได้รับเกียรติจากศิลปินระดับชาติ ได้แก่ ผศ.ชูวิทย์ ยุระยง อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ผศ.ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และดร.สุชาติ วงษ์ทอง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวด ซึ่งมีวงที่ผ่านเข้ารอบประชันจำนวน 10 วงItem การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร ศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2567(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024) พัชพร วิภาศรีนิมิตการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร ศูนย์การศึกษา ลำปาง Information Board (One Page) สรุปกิจกรรมของศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2567Item "ครั่งรักลำปาง"(2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร"ครั่งรักลำปาง" ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม ภูมิปัญญา "ครั่ง" สู่ฐานการผลิตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์Item ดุสิตาอาลัมภางค์(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021-10-21) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครการจัดเตรียมอาหารว่างรับรองนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีพร้อมด้วยคณะผู้เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ถวายพระพรหมมงคลวัชโรดม ณ วัดจองคำ จังหวัดลำปาง วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ณ ห้องรับรอง ท่าอากาศยานลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นผู้เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ไปถวายพระพรหมมงคลวัชโรดม เจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง ณ วัดจองคำ พระอารามหลวง อำเภองาว ด้วยเป็นพระเถระที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลีที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จนทำให้วัดจองคำได้รับยกย่องจากมหาเถระสมาคมให้เป็น "สำนักศาสนศึกษาประจำจังหวัด" โดยมี นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนคณะศิษยานุศิษย์ผู้เคารพรักและศรัทธา เข้าร่วมพิธีฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง นำโดย ดร.ขวัญนภา สุขคร พร้อมด้วยบุคลากรและนักศึกษา ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานจังหวัดลำปางในการจัดเตรียมอาหารว่างรับรององคมนตรีพร้อมด้วยคณะ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2564 ณ ห้องรับรอง ท่าอากาศยานลำปาง จำนวน 2 ชุด ได้แก่อาหารว่างเช้าและอาหารว่างบ่าย ภายใต้แนวคิด “ดุสิตาอาลัมภางค์” ชุดอาหารว่างที่แสดงถึงความเป็นมาตรฐานสากลบนพื้นฐานความเป็นไทยที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดลำปางItem ภูมิธรรม ลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครภูมิธรรม Religious and Traditional Beliefs ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" ศาสนาและความเชื่อ คณะสงฆ์กับการปกครอง ประเพณี พิธีกรรม ปราชญ์ กวี (คติธรรม) ศาสนสถานItem ภูมิปัญญา ลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครภูมิปัญญา Local Wisdom ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" นำเสนอวิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้จากท้องถิ่นในสาขาด้านต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยประชาชนในเมืองลำปางตามยุคสมัยต่าง ๆItem ภูมิวงศ์ ลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครภูมิวงศ์ Local Intellectuals ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" "ผู้คน" กับบทบาทและความสำคัญต่อพัฒนาการของนครลำปางในมิติที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มประเภท ประกอบด้วย บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ พระอริยสงฆ์ ตระกูลที่มีบทบาทในลำปาง และ บุคคลทรงคุณค่าและมีบทบาทItem ภูมิหลัง ลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครภูมิหลัง Local History ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" ภูมิหลังเมืองลำปางในห้วงตำนานและห้วงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ยุคที่ 1 ลำปางยุคสร้างบ้านแบ่งเมือง ยุคที่ 2 ลำปางยุคร่วมประวัติศาสตร์ล้านนา ยุคที่ 3 ลำปางภายใต้การปกครองของพม่าและการร่วมกอบกู้เอกราชภายใต้ร่มธงไทย ยุคที่ 4 ลำปางในยุคเจ้าผู้ครองนครและยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็ยข้าใส่เมืองItem ภูมิเมือง ลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครภูมิเมือง Dynamic Town ภายใต้โครงการวิจัย "ลำปางศึกษา Lampang Study" พัฒนาการและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดลำปางในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นำไปสู่บทวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของจังหวัดลำปาง เพื่อการพัฒนาขึดความสามารถและการพัฒนาแบบยั่งยืนItem รถม้า(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครรถม้าลือลั่น บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตระหว่างคนกับม้าจังหวัดลำปาง อัตลักษณ์บนฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม งานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยทุน "หน่วยบริหาร และจัดการทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)"Item รายงานสรุปการจัดเตรียมงานรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2022-01-25) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครรายงานสรุปการจัดเตรียมงานรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคาร "เฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558" ของโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปางItem รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ ปัญญาแห่งอนาคต ประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021) พัชพร วิภาศรีนิมิตรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ ปัญญาแห่งอนาคต ประจำปี 2564 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปางItem ลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ เปิดพื้นที่การเรียนรู้ "บ้านหลุยส์"(2021-12) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ เปิดพื้นที่การเรียนรู้ "บ้านหลุยส์" (Lampang Learning City) กระบวนการขับเคลื่อนลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม (Lampang Learning City) และโครงการวิจัย ลำปางศึกษา (Lampang Study) งานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยทุน หน่วยบริการและการจัดการทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวง อว.Item สรุปผลการดำเนินงานศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนกันยายน - ตุลาคม 2567(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-10) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครสรุปผลการดำเนินงานศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนกันยายน - ตุลาคม 2567Item สรุปผลการดำเนินงานศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนตุลาคม 2567(2024-10) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครสรุปผลการดำเนินงานศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนตุลาคม 2567Item สรุปผลการดำเนินงานศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนพฤศจิกายน 2567(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2024-11) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขครสรุปผลการดำเนินงานศูนย์การศึกษา ลำปาง เดือนพฤศจิกายน 2567Item "เพลงเล่าเรื่อง" วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (THAI SYMPHONY ORCHESTRA)(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง, 2021-11-11) พัชพร วิภาศรีนิมิต; ดร.ขวัญนภา สุขคร"เพลงเล่าเรื่อง" วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (THAI SYMPHONY ORCHESTRA) "ดนตรีเล่าร่องรอยประวัติศาสตร์" โครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้าน เพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกของชาติ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง ลำปาง ภายใต้การชักชวน จาก “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย “ขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกของชาติ” ในการเป็นเจ้าภาพร่วมจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีเล่าร่องรอยประวัติศาสตร์จังหวัดลำปาง ถ่ายทอดเสียงเพลงพื้นบ้าน ผ่านการแสดงของวงดนตรีไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า จากการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า เพื่อรักษาเสถียรภาพและอัตลักษณ์ของสังคมไทยให้สืบทอดและคงอยู่ต่อไป อันเป็นโครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอย วิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน โดยโครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)