FON-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing FON-Article by Author "ปณวัตร สันประโคน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item การแปลแบบข้ามวัฒนธรรมและการทดสอบความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดความเครียดของญาติผู้ดูแล ฉบับภาษาไทย ในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาการรู้คิ(Journal of Mental Health of Thailand, 2023) ปณวัตร สันประโคนวัตถุประสงค์ : เพื่อแปลและทดสอบความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหา การรู้คิด วิธีการ : แปลแบบวัดความเครียดของญาติผู้ดูแลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลภาษา 2 คน อย่างเป็นอิสระต่อกัน ตรวจสอบความเหมาะสมของภาษาโดยการแปลย้อนกลับเป็นภาษาต้นฉบับ ประเมินความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน จากนั้นศึกษาภาคตัดขวางเพื่อทดสอบคุณสมบัติของแบบวัดในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาการรู้คิด 100 คน ในชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี ประเมิน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจากข้อมูลครั้งที่ 1 และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากข้อมูลครั้งที่ 2 วิเคราะห์ความเชื่อมั่นภายนอกระหว่างการทดสอบ 2 ครั้งด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นภายในด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผล : แบบวัดความเครียดของญาติผู้ดูแล ฉบับภาษาไทย จำนวน 15 ข้อ จำแนกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความกดดัน ส่วนบุคคล (personal distress) 2) ความปั่นป่วนวุ่นวายของชีวิต (degree of life upset) และ 3) ความรู้สึกเชิงลบต่อ ผู้สูงอายุ (negative feelings toward care recipient) มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.92 และมีความสอดคล้องกันระหว่างตัวแปรสังเกตกับแต่ละองค์ประกอบ (χ2/df =1.70, RMSEA = 0.08, CFI = 0.93, TLI = 0.91) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นของแต่ละองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.96 - 0.98 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแต่ละองค์ประกอบ อยู่ระหว่าง 0.89 - 0.91 สรุป : แบบวัดความเครียดของญาติผู้ดูแล ฉบับภาษาไทย มีความตรงและความเชื่อมั่นในระดับที่ดี เหมาะสำหรับใช้วัดความเครียดของผู้ดูแลที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการรู้คิด