FON-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing FON-Article by Author "ธีระชล สาตสิน"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร(วชิรสารการพยาบาล, 2022) ธีระชล สาตสินโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ทำให้สถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีการออกแบบและจัดทำการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ สถาบันการศึกษาด้านพยาบาลศาสตร์ก็มีความจำเป็นต้องมีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เช่นเดียวกัน ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จนั้น การทราบถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้กลายเป็นข้อมูลสำคัญจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนนั้นประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ผ่านการใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ตามกรอบการสืบค้นตามกรอบแนวคิด PICO ที่ประกอบไปด้วย ประชากรที่สนใจศึกษา (P) สิ่งแทรกแซง (I) สาเหตุหรือปัจจัย (C) ผลลัพธ์ (O) ผลการทบทวนวรณกรรม พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องข้องต่อการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ประกอบไปด้วยปัจจัยด้านตัวผู้เรียน คือความแตกต่างระหว่างเพศ ช่วงอายุ ประสบการณ์การเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยี ทัศนคติและพฤติกรรม การเรียน และปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ ความไว้วางใจต่อผู้สอน สื่อการสอนออนไลน์ และสภาพแวดล้อมItem การพัฒนาแบบประเมินความสามารถด้านปฏิบัติการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ณ หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน(VAJIRA NURSING JOURNAL, 2023-07) ธีระชล สาตสินการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความสามารถด้านปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ณ หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการส่มแบบง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก และอาจารย์นิเทศ จำนวน 3 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถ ด้านปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ณ หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และแบบประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม โดยใช้การสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรมไมโครขอฟท์ทีม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์คำความถี่ ค่าร้อยละ เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้องใช้การวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธ์แอลฟ้าของครอนบาคเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบความสามารถและพฤติกรรมบ่งชี้ระดับ คุณภาพจากผลการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ ด้านความสามารถของการประเมินอาการในภาวะฉุกเฉิน ด้านทักษะ ปฏิบัติการพยาบาล ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านจริยธรรมและกฎหมาย และด้านบุคลิกภาพและการพัฒนา ตนเองหาค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1, 0.98, 0.67, 0.80 และ 1 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธ์แอลฟ้า ของครอนบาค เท่ากับ 0.80, 0.82, 0.65, 0.69 และ 0.87 ตามลำดับ