FON-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing FON-Article by Author "ณัฐรพี ใจงาม"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
Item การประเมินความต้องการจำเป็นในการอบรมหลักสูตรผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแล Needs Assessment in Training Courses for Caregivers on Dependent Elderly Care(Princess of Naradhiwas University Journal, 2022) ดวงเนตร ธรรมกุล; เรณู ขวัญยืน; อรนุช ชูศร; ณัฐรพี ใจงามงานวิจัยเพื่อศึกษาและจัดลำดับความต้องการจำเป็นอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในตำบลบ้านลองตอง อำเภอสอสองที่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม 2565 จำนวน 66 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการอบรมฯ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.67-1.00 ตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค ได้เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีคำนวณหาดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Prionity Needs Index: PNI ......) ผลวิจัยพบว่า ระดับความต้องการจำเป็นอบรมหลักสูตรฯตามสภาพจริงมีระดับปานกลาง(M-3.55, S.D.=0.50) ระดับความต้องการจำเป็นในการอบรมหลักสูตรฯตามสภาพที่คาดหวังมีระดับ มากที่สุด (M=4.71, S.D.-0.45) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นฯ พบว่า ความต้องการจำเป็นในการอบรมสูงสุดถึงต่ำสุด ได้แก่ 1) การดูแลเพื่อคลายความเครียด 2) การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สำหรับตนเองและดูแลผู้สูงอายุ 3) การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ: อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ 4) สิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญ/กฎหมายแรงงานที่ควรรู้ 5) ความจำเป็นของการดูแลผู้สูงอายุ: โรคเรื้อรัง ติดเตียง 6) การช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น 7) การใช้ยาในวัยสูงอายุ 8) ภาวะวิกฤติกับการปฐมพยาบาล 9) การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เนื่องจากชราภาพหรือมีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ และ 10) บทบาทและจริยธธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (PNI .... -0.348, 0.346, 0.342, 0.336, 0.331, 0.329, 0.326, 0.315, 0.300, และ 0.29) ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ และเกิดประ โยชน์ต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้Item ประสิทธิผลการเพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพิง The Effectiveness of Enhancing the Potential of Caregivers in Managing Health Care for the Dependent Older Adults(Journal of Health and Nursing Research, 2022) ดวงเนตร ธรรมกุล; เรณู ขวัญยืน; อรนุช ชูศร; ณัฐรพี ใจงามบทนำ: การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเกิดภาระส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การอบรมจะช่วย เพิ่มศักยภาพในการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามบริบททำให้การดูแลเกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน วัตถุประสงค์การวิจัย: เพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลในการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึ่งพิง และพัฒนาหลักสูตรอบรมสำหรับผู้ดูแล ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ต.บ้านลอง ตอง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรีเดือน ม.ค-ค-ส.ค 2565 จำนวน 60 คน เครื่องมือ ได้แก่ หลักสูตรการอบรมผัดแล แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินหลักสูตร ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00, 67-1.00 และ .67-1.00 ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินหลักสูตร ได้..69 และ .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ paired t-test ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.ร้อยละ 89.30 เพศหญิง ร้อยละ 88.50 และผู้สูงอายุ (อายุ 60-69 ปี) ร้อยละ 44.20 ผลการเปรียบเทียบระดับความรู้กลุ่มตัวอย่าง พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05, t = 6.64) และผลประเมินหลักสูตรโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับดี (M = 4.18, SD. = .72) การประเมินรายต้านของหลักสูตรฯ พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับดี (M = 4.06, 4.17, 4.19, 4.11, SD. = = 63,52, 57, และ .56 ตามลำดับ) ด้านผลผลิตอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.20, SD. = 54) ดังนั้นการเพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึ่งด้วยหลักสูตรฯนี้สามารถนำไปใช้ได้ สรุปผล: การเพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านความรู้ จากการพัฒนาหลักสูตรอบรมฯ สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ข้อเสนอแนะ: บุคลากรทางการพยาบาลควรจัดอบรมเพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรอบรมฯนี้ทุกปีItem ผลของการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์: วิชาการรักษาโรคเบื ้องต้น Effects of Problem-Based Teaching Model through Electronic Media in Nursing Students: Primary Medical Care Course(Journal of Health and Nursing Research, 2022) อรนุช ชูศรี; ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล; ณัฐรพี ใจงามบทนำ : การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และได้พัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีที่มีผลต่อ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น ปีการศึกษา 2563 จำนวน 85 คน เรียนออบไลน์เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และแบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแพร์ที่ (Paired t-test) ผลการวิจัย: 1. ภายหลังการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถด้าน การคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ.05 (t = -20.01,p = 00) 2. นักษามีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากสถานการณ์ที่กำหนดให้กระตุ้นให้นักศึกศึกษาใช้ความรู้เดิมหรือที่เคยเรียนมาในระดับมาก (mean = 4.69, SD = 0.59) สรุปผลการวิจัย: ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเพิ่มความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในนักศึกษาพยาบาลได้ ข้อเสนอแนะ: การจัดการเรียนรู้สำหรับการสอนโดยโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการเรียนรู้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต