GRS-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GRS-Article by Author "สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร(วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 2023-07) สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์; จีระพันธ์ุ พูลพัฒน์; ปาจารีย์ นาคะประทีปการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน จำนวน 365 คน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรได้กลุ่มตัวอย่าง 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9583 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร 1.1) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.2) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการวางแผนและสรรหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการวางแผนและสรรหาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 1.3) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการบริหารการปฏิบัติงานและพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการบริหารการปฏิบัติงานและพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.4) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย การวางแผนและสรรหา การบริหารการปฏิบัติงานและการพัฒนา และการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ โดยผลการประเมินรูปแบบดังกล่าว ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการ พบว่ารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และความสามารถนำไปปฏิบัติได้Item ธุรกิจวิชาการ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-02-15) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; มลิวัลย์ ธรรมแสง; สิรธัมม์ อุดมธรรมานุภาพ; สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์บทความนี้เป็นการอธิบายธุรกิจวิชาการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต เริ่มจากการพัฒนาตามกฎหมายและการปฏิบัติ มุมมองของผู้บริหารในการมองการคิดและการทำ ปรัชญาของมหาวิทยาลัย แนวคิดการพัฒนาธุรกิจวิชาการ แนวคิดการทำธุรกิจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ความมั่งคั่งทางวิชาการ และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ธุรกิจวิชาการ มาจากคำว่า ธุรกิจ มีความหมายว่า การประกอบกิจการเพื่อมุ่งการค้าหากำไร และคำว่า วิชาการ มีความหมายว่า วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา “ธุรกิจวิชาการ” ในบทความนี้หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ใหม่จากฐานวิชาการที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญและนำนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน การอบรม การวิจัย การบริการชุมชน และการดำเนินการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตItem ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา(วารสารวิชาการบัณฑิตสวนดุสิต, 2022-09) สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์; ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุวมาลย์ ม่วงประเสิรฐการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2564 จำนวน 6,288 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamana ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 377 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสถิติแอลฟาโคเอฟฟิเชียลของครอนบาค เท่ากับ 0.986 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้าด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ สามารถอธิบายถึงผลกระทบร่วมกันที่เกิดขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 77 (R2 = 0.773) โดยมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐาน เท่ากับ 0.120 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยปัจจัยนำเข้าด้านผู้สอนและบุคลากรสนับสนุนส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.050 และปัจจัยนำเข้าด้านการบริหารจัดการรายวิชาส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) ปัจจัยด้านกระบวนการส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 และ 3) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001