GRS-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GRS-Article by Author "ศิโรจน์ ผลพันธิน"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
Item Sirote's Model for University Quality Integration: ต้นแบบการบูรณาการศาสตร์และศิลป์ในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (2025), 2025-02-15) ศิโรจน์ ผลพันธิน; พิทักษ์ จันทร์เจริญ; สุขุม เฉลยทรัพย์บทความนี้นำเสนอ Sirote's Model for University Quality Integration ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารที่บูรณาการศาสตร์การบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ากับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย โดยพัฒนาขึ้นจากบทเรียนการบริหารของ รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยจากสถาบันราชภัฏสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โมเดลนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 14 ประการ เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ "SMALL but SMART" ที่เน้นความเป็นเลิศเฉพาะทาง การเปลี่ยนแปลงเชิงบูรณาการที่ผสานการพัฒนาวิสัยทัศน์ กระบวนการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกที่มุ่งเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากรในทุกระดับ การบริหารคุณภาพแบบองค์รวมที่บูรณาการเกณฑ์คุณภาพระดับสากล และการสร้างความยั่งยืนทางการเงินผ่านการพัฒนาธุรกิจวิชาการ โมเดลนี้ยังเน้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการบูรณาการมิติความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสังคมวงกว้าง ตัวอย่างความสำเร็จของโมเดลนี้ ได้แก่ การพัฒนามหาวิทยาลัยสวนดุสิตให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านอาหาร การศึกษาปฐมวัย การพยาบาล และอุตสาหกรรมการบริการ นอกจากนี้ บทความนี้ยังกล่าวถึงการจัดตั้ง "สถาบันศิโรจน์ ผลพันธิน" ซึ่งเป็นการต่อยอดแนวคิดในโมเดลดังกล่าว โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้นำที่มีความสามารถในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงและเผชิญกับความท้าทายของยุคสมัย ผ่านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จาก Sirote's Model กับนวัตกรรมการพัฒนาผู้นำสมัยใหม่ บทความชี้ให้เห็นว่า Sirote's Model for University Quality Integration มีศักยภาพสูงในการเป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในบริบทไทยให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติItem ธุรกิจวิชาการ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-02-15) ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุขุม เฉลยทรัพย์; มลิวัลย์ ธรรมแสง; สิรธัมม์ อุดมธรรมานุภาพ; สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์บทความนี้เป็นการอธิบายธุรกิจวิชาการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต เริ่มจากการพัฒนาตามกฎหมายและการปฏิบัติ มุมมองของผู้บริหารในการมองการคิดและการทำ ปรัชญาของมหาวิทยาลัย แนวคิดการพัฒนาธุรกิจวิชาการ แนวคิดการทำธุรกิจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ความมั่งคั่งทางวิชาการ และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ธุรกิจวิชาการ มาจากคำว่า ธุรกิจ มีความหมายว่า การประกอบกิจการเพื่อมุ่งการค้าหากำไร และคำว่า วิชาการ มีความหมายว่า วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา “ธุรกิจวิชาการ” ในบทความนี้หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ใหม่จากฐานวิชาการที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญและนำนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน การอบรม การวิจัย การบริการชุมชน และการดำเนินการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตItem ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา(วารสารวิชาการบัณฑิตสวนดุสิต, 2022-09) สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์; ศิโรจน์ ผลพันธิน; สุวมาลย์ ม่วงประเสิรฐการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2564 จำนวน 6,288 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamana ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 377 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสถิติแอลฟาโคเอฟฟิเชียลของครอนบาค เท่ากับ 0.986 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้าด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ สามารถอธิบายถึงผลกระทบร่วมกันที่เกิดขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 77 (R2 = 0.773) โดยมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐาน เท่ากับ 0.120 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยปัจจัยนำเข้าด้านผู้สอนและบุคลากรสนับสนุนส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.050 และปัจจัยนำเข้าด้านการบริหารจัดการรายวิชาส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) ปัจจัยด้านกระบวนการส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 และ 3) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001