GRS-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing GRS-Article by Author "ชาติชาย มหาคีตะ"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติด(RatchaphruReak Journal, 1265-09) ชาติชาย มหาคีตะ; อาภาศิริ สุวรรณานนท์การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบหลักสูตรการฝึกอาชีพ และ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพ จํานวน 2 หลักสูตร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพดด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาดูงานเป็นกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ผู้แทนจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นักวิชาการ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้แทนสถานประกอบการและเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอบรม รวมทั้งสิ้น 58 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผลการศึกษา พบว่า 1) การฝึกวิชาชีพในปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรที่กําหนดไว้ชัดเจน 2) การพัฒนาหลักสูตรจํานวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการฝึกอาชีพสําหรับการทํางานในสถานประกอบการและหลักสูตรการประกอบอาชีพอิสระ โดยมีวิชาปรับพื้นฐานรวม วิชาบังคับร่วม และวิชาเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความถนัดของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระหว่างฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอบรมฯItem มาตรการทางสังคมเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรม ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 Social Measures and Their Impact on Crime Management Effectiveness During the COVID-19 Outbreak(Ratchaphruek Journal, 0023) ชาติชาย มหาคีตะ; อาภาศิริ สุวรรณานนท์งานวิจัยเรื่องมาตรการทางสังคมเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมสภาพปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมในการสนับสนุนประสิทธิภาพการจัดการปัญหาอาชญากรรมในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยมีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 540 คน และจัดการสนทนากลุ่มกับผู้แทนจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 12 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 อันดับที่ 1 คือ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการทางสังคมที่เหมาะสม อันดับที่ 1 คือ การส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพกฎหมายและมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐและผู้นำชุมชน การวิเคราะห์ผลการวิจัยรูปแบบมาตรการทางสังคม คือ การสร้างความตระหนักรู้และควบคุมตนเองจากภายในครอบครัวและชุมชน การสร้างจิตสำนึกต่อสังคมร่วมกันกับภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นในชุมชน การสร้างความยุติธรรมทางสังคม การสร้างนวัตกรรมทางสังคม และการสร้างความยั่งยืนของมาตรการทางสังคมในภาวะวิกฤต