TRGC-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing TRGC-Article by Author "ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร มรดกหมูย่างเมืองตรังเพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์(วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2022-04-12) ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์; ชฎาวรรณ ศิริจารุกุลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมอาหารมรดกหมูย่างเมืองตรังเพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จําานวน 480 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบบังเอิญ โดยการกําาหนดขนาดแหล่งข้อมูลใช้เกณฑ์ 1:20 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสําารวจ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวมีดังนี้ 1) ศักยภาพการบริหารจัดการด้านท่องเที่ยว ประกอบด้วย 15 ตัวแปร ได้แก่ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ความร่วมมือจากหน่วยงาน ความเพียงพอของสาธารณูปโภค บุคลากรมีความพร้อมให้บริการ การใช้ประโยชน์พื้นที่เหมาะสม การติดตามและประเมินผล กิจกรรมท่องเที่ยวที่เหมาะสม มีการสนับสนุนและพัฒนา มีส่วนร่วมของชุมชน การให้ความรู้และสร้างจิตสําานึก มีสาธารณูปโภคพร้อม ชุมชนสามารถสร้างรายได้ การรักษาสภาพและฟื้นฟู มีสาธารณูปโภคที่เอื้ออําานวย ความหลากหลายของกิจกรรม 2) ศักยภาพด้านเอกลักษณ์ทางกายภาพศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียม ในการรองรับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 9 ตัวแปร ได้แก่ การสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ ความงดงามทางศิลปวัฒนธรรม ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีที่สืบค้นได้ การสืบทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สะดวก ความเข้มแข็งในการรักษาเอกลักษณ์ ความผูกพันต่อวิถีชีวิตในชุมชน และความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวItem ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2023-03-22) ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์; จิรัชญา แก่นบุญงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร กรณีศึกษาขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ และข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำมาจัดหมวดหมู่และเรียบเรียงเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร กรณีศึกษาขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ดังนี้ 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงบวก ได้แก่ ด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (β1=0.419, p < 0.01) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (β2=0.214, p < 0.01) ด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (β3=0.114, p < 0.05) และด้านความเชื่อ ศรัทธา และพิธีกรรมทางศาสนา (β5=0.129, p < 0.01) และ 2) ปัจจัยเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อาหารขนมลา (β4=-0.048, p > 0.05) ไม่ส่งผลกระทบกับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร กรณีศึกษาขนมลา จังหวัดนครศรีธรรมราช