TRGC-Article
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing TRGC-Article by Author "ชฎาวรรณ ศิริจารุกุล"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item การวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร มรดกหมูย่างเมืองตรังเพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์(วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2022-04-12) ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์; ชฎาวรรณ ศิริจารุกุลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมอาหารมรดกหมูย่างเมืองตรังเพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จําานวน 480 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบบังเอิญ โดยการกําาหนดขนาดแหล่งข้อมูลใช้เกณฑ์ 1:20 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสําารวจ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวมีดังนี้ 1) ศักยภาพการบริหารจัดการด้านท่องเที่ยว ประกอบด้วย 15 ตัวแปร ได้แก่ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ความร่วมมือจากหน่วยงาน ความเพียงพอของสาธารณูปโภค บุคลากรมีความพร้อมให้บริการ การใช้ประโยชน์พื้นที่เหมาะสม การติดตามและประเมินผล กิจกรรมท่องเที่ยวที่เหมาะสม มีการสนับสนุนและพัฒนา มีส่วนร่วมของชุมชน การให้ความรู้และสร้างจิตสําานึก มีสาธารณูปโภคพร้อม ชุมชนสามารถสร้างรายได้ การรักษาสภาพและฟื้นฟู มีสาธารณูปโภคที่เอื้ออําานวย ความหลากหลายของกิจกรรม 2) ศักยภาพด้านเอกลักษณ์ทางกายภาพศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียม ในการรองรับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 9 ตัวแปร ได้แก่ การสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ ความงดงามทางศิลปวัฒนธรรม ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีที่สืบค้นได้ การสืบทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สะดวก ความเข้มแข็งในการรักษาเอกลักษณ์ ความผูกพันต่อวิถีชีวิตในชุมชน และความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวItem การศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจ ใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม(Journal of Roi Kaensarn Academi, 2024-04-05) นวลรัตน์ วัฒนา; ชฎาวรรณ ศิริจารุกุล; ธนะวิทย์ เพียรดี; จริยา เกิดไกรแก้ว; ชารินี ใจเอื้อ; ยุวศรี อวะภาค; นิศานาถ มั่งศิริบทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและทบทวนวรรณกรรม ฐานความรู้ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดการศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม ผลการศึกษา พบว่า กรอบแนวคิดการศึกษาคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิม ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ องค์ประกอบคุณภาพการบริการ (Service Quality) ตัวแปรกลาง (Mediator Variable) คือ ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวมุสลิม (Muslim’s tourist trust) และตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาล (Intention to use service) โดยองค์ประกอบคุณภาพการบริการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการบริการด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (Tangibility) 2) คุณภาพการบริการด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ (Reliability) 3) คุณภาพการบริการด้านการตอบสนองต่อลูกค้า (Responsiveness) 4) คุณภาพการบริการด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า (Assurance) และ 5) คุณภาพการบริการด้านการเอาใจใส่ของลูกค้า (Empathy) ซึ่งได้มาโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่นำเสนอภายใต้กรอบแนวคิด กรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ จะถูกนำไปใช้ในการดำเนินงานวิจัยต่อไป และผลการศึกษาจะนำมาสู่ข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการบริการที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารฮาลาลเพื่อเตรียมการหรือปรับตัวให้สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวมุสลิมได้อย่างมั่นใจและสร้างความประทับใจและความพึงพอใจให้แก่นักท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมสามารถใช้บริการร้านอาหารได้อย่างสนิทใจและเกิดความรู้สึกปลอดภัยในการบริโภค