ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัดต่อความเครียดในนักศึกศึกษาพยาบาลขั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต The Effects of Group Cognitive Behavioral Therapy Program combined with Meditation on Stress among the Third Year Nursing Students Studying in Mental Health Promotion and Psychiatric Nursing Subject (Course) at Faculty of Nursing, Suan Dusit University

Loading...
Thumbnail Image
Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
Journal of Health and Nursing Research
Journal Title
ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัดต่อความเครียดในนักศึกศึกษาพยาบาลขั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต The Effects of Group Cognitive Behavioral Therapy Program combined with Meditation on Stress among the Third Year Nursing Students Studying in Mental Health Promotion and Psychiatric Nursing Subject (Course) at Faculty of Nursing, Suan Dusit University
Recommended by
Abstract
บทนำ: การจัดการความเครียดที่เหมาะสมของนักศึกษาพยาบาลจะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวกับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัดต่อความเครียดในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสมอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ 1) โปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับกับการฝึกสมาธิบำบัด 6 สัปดาห์ 2) แบบประเมินควานความเครียดของโรงพยาบาลสวนปรุง (SPST-20) เก็บรวบรวมข้อมูล 20 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิถิติpaired sample t-test ผลการวิจัย: คะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด ก่อนเข้ารับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ย 57.06-13.36 หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯทันที มีค่าเฉลี่ย 53.4412.80 และหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ เดือนที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 40.60+11.45 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างทางสถิติ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดหลังเข้ารับโปรแกรมฯ เดือนที่ 3 ต่ำกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) สรุปผล: โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด ช่วยลดความเครียดของนักศึกษา พยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวรได้ข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด เป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมในการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล และสามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ได้
Description
Citation
View online resources
Collections