ผลของการบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏบติการพยาบาลต่อความสามารถ ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลชั้นปที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดสิต The Effects of Ethical Integration in Nursing Practice Courses on Ethical Decision Making Ability and Ethical Behavior in 3th year Nursing Students, Faculty of Nursing Suan Dusit University
Loading...
Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
ผลของการบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏบติการพยาบาลต่อความสามารถ ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลชั้นปที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดสิต The Effects of Ethical Integration in Nursing Practice Courses on Ethical Decision Making Ability and Ethical Behavior in 3th year Nursing Students, Faculty of Nursing Suan Dusit University
Authors
Recommended by
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน และหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลต่อความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดสิต ระยะเวลาที่ศึกษาวจัย 8 สัปดาห์ ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดสิต จำนวน 48 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 48 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากการลงทะเบียนเรียนรายวิชา ปฏิบัติการมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 2 และรายวิชาปฏบติการพยาบาลอนามัยชุมชน ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการบูรณาการจริยธรรมเป็นการฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรม 6 ครั้ง แบบประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลเป็น Rating Scale 4 ระดับ และแบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลต่อผู้ป่วย ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามพฤติกรรมจริยธรรมของ Muengprasert, 2010) เป็น Rating Scale 5 ระดับ มี 6 ด้าน จำนวน 34 ข้อ เครื่องมือวจัยไดผ่านผู้ทรงคุณวฒิ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาทั้ง 3 เครื่องมือ ได้ค่า IOC=1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample T-test ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -21.59, p.00 และ t = -4.42, p.00) การบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏบติการพยาบาลมีผลต่อความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดสิต