ประสบการณ์ความจำบกพร่องในผู้สูงอายุ
dc.contributor.author | วิวินท์ ปุรณะ | |
dc.date.accessioned | 2025-02-21T04:09:16Z | |
dc.date.available | 2025-02-21T04:09:16Z | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | ปัญหาความจำบกพร่องเป็นหนึ่งในปัญหาของผู้สูงอายุที่อาจเป็นได้ทั้งความเสื่อมตามวัยปกติและจากการมีภาวะสมองเสื่อมก่อนเวลาเนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายจะมีความเสื่อมถอยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากพยาธิสภาพที่มีการตายของเซลล์ประสาทในสมองหลายบริเวณส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดการถดถอยของความจำ ขาดความมั่นใจในตนเองเกิดความเครียดความกลัว ต้องพึ่งพาผู้อื่นและนำไปสู่การขาดแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตประจำวันและขาดสังคมของผู้สูงอายุ วัดอุประสงค์การวิชัย เพื่อศึกษาประสบการณ์ความจำบกพร่องในชีวิตประวัของผู้สูงอายุ การออกแบบการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งหนึ่งของจังหวัดทางภาคกลาง เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามเวลาที่ผู้ให้ข้อมูลสะดวกเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามแนวคิดของ Sandelowskd มีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล การยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและการนำผลการวิจัยไปใช้สิ่ง ผลการวิจัย ประสบการณ์ความจำบกพร่องในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) อาการหลงลืม ประกอบด้วย การรับรู้ว่ามีอาการหลงลืม กิจวัตรประจำวันที่หลงลืม อาการหลงลืมที่เกิดภายนอกบ้าน 2) อารมณ์เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผลของการหลงลืม ประกอบด้วย อารมณ์หงุดหงิดความกังวลและกลัว และ 3) การจัดการเมื่อหลงลืม ประกอบด้วย การเริ่มต้นใหม่ การช่วยเหลือโดยญาติการกำหนดจุดวางของให้ชัดเจน การทำกิจกรรม ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อาการหลงลืม อารมณ์เปลี่ยนแปลง และการจัดการมื่อหลงลืมเป็นประสบการณ์สำคัญของผู้สูงอายุ ทีมสุขภาพสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางครอบครัวของผู้สูงอายุเพื่อการคัดกรอง ติดตามและจัดกิจกรรมกระตุ้นความจำเพื่อชะลอภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3989 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วารสารสภาการพยาบาล | |
dc.subject | ประสบการณ์ ความจำมจำบกพร่อง ผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงคุณภาพ | |
dc.title | ประสบการณ์ความจำบกพร่องในผู้สูงอายุ |