ความคาดหวังของพนักงานต้อนรับภาคพื้นต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท แบ๊กส์ บริการภาคพื้น จํากัด

Loading...
Thumbnail Image
Date
2020-05-15
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Article
Publisher
สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน
Journal Title
ความคาดหวังของพนักงานต้อนรับภาคพื้นต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท แบ๊กส์ บริการภาคพื้น จํากัด
Recommended by
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน บริษัท แบ๊กส์ บริการภาคพื้น จํากัด ขณะปฏิบัติหน้าที่หลักต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานภายในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คือพนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน บริษัท แบ๊กส์ บริการภาคพื้น จํากัด จํานวน 225 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ให้บริการภาคพื้นให้กับสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ ณ ท่าอากาศยานภายในประเทศไทย 12 แห่ง โดยหน้าที่ภาระงานของพนักงานต้อนรับภาคพื้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ หน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 1 ได้แก่ (1) งานอํานวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร (2) การบริการสํารองที่นัง ( ่ 3) งานบริการจัดเตรียมเอกสารประกอบการบิน และ (4) งานด้านสัมภาระผู้โดยสาร หน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 2 ได้แก่ (1)บริการตรวจรับบัตรโดยสาร ณ ประตูทางออก-เข้าเครื่อง (2) งานบริการรับส่งผู้โดยสารขาเข้า-ขาออก (3) การรายงานจํานวนผู้โดยสาร (4) งานด้านการรักษาความปลอดภัย (5) งานบริการติดต่อ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรการเก็บข้อมูลใช้วิธีการสํารวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จํานวน 225 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อวิเคราะห์ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-25 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี ตําแหน่งงานส่วนใหญ่คือ ตําแหน่งพนักงานต้อนรับภาคพื้น ผลการทดสอบสมมติฐานด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า (1) พนักงานที่มีเพศแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทยในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 (2) พนักงานที่มีอายุแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทยในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 (3) พนักงานที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทยในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 ยกเว้นด้านความเชื่อถือไว้วางใจ พนักงานมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทยไม่แตกต่างกัน (4) พนักงานที่มีตําแหน่งงานแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทยในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 ยกเว้นด้านความเชื่อถือ ไว้วางใจ พนักงานมีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานในประเทศไทยไม่แตกต่างกัน ผลการทดสอบสมมติฐานความคาดหวังของพนักงานต้อนรับภาคพื้นขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงาน 2 กลุ่ม พบว่า (1) พนักงานต้อนรับภาคพื้นขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 1 และขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 2 มีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานด้านลักษณะทางกายภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 (2) พนักงานต้อนรับภาคพื้นขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 1 และขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 2 มีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานด้านความเชื่อถือไว้วางใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 (3) พนักงานต้อนรับภาคพื้นขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 1 และ ขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 2 มีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 (4) พนักงานต้อนรับภาคพื้นขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 1 และขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 2 มีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานด้านความมั่นใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ ่ 0.05 (5) พนักงานต้อนรับภาคพื้นขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 1 และขณะปฏิบัติหน้าที่ภาระงานกลุ่มที่ 2 มีความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานด้านการเอาใจใส่ลูกค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05
Description
Citation
View online resources