การใช้ห้องเรียนกลับด้านพัฒนาผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: บทบาทของผู้เรียนและผู้สอน
creativework.keywords | ห้องเรียนกลับด้าน ผลการเรียนรู้ ผลสัมฤทฤทธิ์ทางการเรียน | |
creativework.publisher | The Journal of Boromarionani College of Nursing, Suphanburi | |
dc.contributor.author | ดวงเนตร ธรรมกุล | |
dc.contributor.author | พิมพ์ขวัญ แก้วเกลื่อน | |
dc.contributor.author | ลัดดาวัลย์ เตชางกูร | |
dc.date.accessioned | 2025-02-21T03:58:45Z | |
dc.date.available | 2025-02-21T03:58:45Z | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านเป็นแนวทางการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้อันพึง ประสงค์ ด้วยหลักการ 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) พิจารณาเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อใช้การเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร 2) ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสื่อสาร เพื่อตอบข้อสงสัย ตั้งคำถาม หรือแจ้งให้ผู้เรียนสืบค้นค้นเรื่องที่ต้องการ และ 3) ใช้เวลาในห้องเรียน ส่งเสริมความเข้าใจผ่านกิจกรรม การอภิปราย วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และอธิบายสาระสำคัญเพิ่มเติม ผู้สอนใช้องค์ประกอบ 4 ด้านหมุนเวียนเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง คือ 1) การกำหนดยุทธวิธีเพิ่มพูมพูนประสบการณ์ครูผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะวิธีการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนผ่านเกม สถานการณ์จำลอง สื่อปฏิสัมพันธ์ การทดลอง หรือการวิจัย 2) การสืบค้นเพื่อให้เกิดมโนทัศน์รวบยอด ครูสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ 3) การสร้างองค์ความรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนเป็นผู้บูรณาการสร้างทักษะองค์ความรู้จากสื่อที่ได้รับจากการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสะท้อนคิดและการชี้แนะ และ 4) การสาธิตและประยุกต์ใช้ ผู้สอนสามารถสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตอบสนองกับผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 การเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านจะช่วยลดการเรียนในห้องเรียน ช่วยให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคมลดการรวมกลุ่ม และเพิ่มการพูดคุยกันผ่านทางสื่อออนไลน์มากขึ้น ช่วยพัฒนาทักษะและทัศนคติการเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดความพึงพอใจในการเรียน และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้และสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3987 | |
dc.title | การใช้ห้องเรียนกลับด้านพัฒนาผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: บทบาทของผู้เรียนและผู้สอน |