การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยการใช้ห้องเรียนกลับด้านในวิชาศักยภาพ การนำและการบริหารจัดการทางคลินิก Improving of Learning Outcomes for Nursing Students by Using Flipped Classrooms in Leadership and Clinical Nursing Management Subject
dc.contributor.author | ลัดดาวัลย์ เตชางกูร | |
dc.contributor.author | ชญานิศ ชอบอรุณสิทธิ | |
dc.date.accessioned | 2025-02-21T08:04:40Z | |
dc.date.available | 2025-02-21T08:04:40Z | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยพัฒนาการเรียนรู้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับ ด้าน (fipped class room) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิคลินิกก่อนและหลังการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านการศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (Quasi Experimental. Research) โดยมีประชากรคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 118 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 และยินยอมและยินดีเข้าร่วมการศึกษาวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก และแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ผลการจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 118 คน เป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2564 เพศชาย 11 คน คิดเป็นร้อยละ 9.32 เพศหญิง จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 90.68 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก ก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน มีคะแนนเฉลี่ย = 29.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 3.22 และหลังใช้ห้องเรียนกลับด้าน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย = 32.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 3.27 นักศึกษาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ ห้องเรียนกลับด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) สำหรับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน ในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทารทางคลินิก พบว่า ผลการเรียนรู้รวมทุกด้านก่อนการใช้ห้องเรียนกลับด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.75 (SD-8.92) และผลการเรียนรู้รวมทุกด้าน หลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100.53 (SD-8.21) เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน พบว่า นักศึกษาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำทัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4033 | |
dc.subject | fipped classroom นักศึกษาพยาพยาบาล,ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | |
dc.title | การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยการใช้ห้องเรียนกลับด้านในวิชาศักยภาพ การนำและการบริหารจัดการทางคลินิก Improving of Learning Outcomes for Nursing Students by Using Flipped Classrooms in Leadership and Clinical Nursing Management Subject |