การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
dc.contributor.author | ถิรพร แสงพิรุณ | |
dc.contributor.author | รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์ | |
dc.contributor.author | อังค์ริสา แสงจำนงค์ | |
dc.date.accessioned | 2025-03-03T08:44:41Z | |
dc.date.available | 2025-03-03T08:44:41Z | |
dc.date.issued | 2020-09-29 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน คลองรางจระเข้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนคลองรางจระเข้ และ 3) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ เป็นงานวิจัยและพัฒนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และเสริมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การทดลองปฏิบัติการนำเที่ยวร่วมกับชุมชน และการประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อรายการนำเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นชาวบ้านในชุมชน กลุ่มเครือข่าย โฮมสเตย์คลองรางจระเข้ ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงปริมาณในการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาจากภาคเอกชน เจ้าของบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนคลองรางจระเข้ ประกอบด้วยฐานกิจกรรม 7 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 นำชมวัดรางจระเข้ ถวายสังฆทาน และให้อาหารปลาที่วังมัจฉา ฐานที่ 2 การฝึกลวกเส้นทำก๋วยเตี๋ยวเรือ ฐานที่ 3 การล่องเรือชมวิถีชีวิต กิจกรรมพับดอกบัว และฟังประวัติเรือเทพนรสิงห์ที่วัดเกาะ ฐานที่ 4 หัดทอดแห หัดพายเรือ ฐานที่ 5 การสาธิตทำขนมดอกโสน และสาธิตการยำผักแพงพวย ฐานที่ 6 สาธิตการทำไข่เค็มใบเตย และฐานที่ 7 สาธิตการสกัดใบเตยเป็นเครื่องดื่มชาที่ได้จากงานวิจัย สำหรับข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ชุมชนควรบรรยายแหล่งท่องเที่ยวขณะล่องเรือและเตรียมความพร้อมกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มากขึ้น | |
dc.description.sponsorship | งบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2562 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.identifier.citation | "บรรณานุกรม บรรณานุกรมภาษาไทย กรกช ตราชู และคณะ. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บ้านด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(พิเศษ), 164-177. กรมการท่องเที่ยว. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (CREATIVE TOURISM DESTINATION MANAGEMENT). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา. กรมการท่องเที่ยว. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนา การท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหาร ผ่านศึก. ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2554). การสุ่มตัวอย่าง (Sampling). สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2554, จากhttp://www.watpon.com/Elearning/res22.htm. ชูวิทย์ ศิริเวชกุล (2544). การท่องเที่ยวเชิงชุมชนและการจัดโฮมสเตย์. จุลสารการท่องเที่ยว, 20(2), 14. ญาดา ชอบทำดี และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตลาดน้ำท่าคาสำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 6(1), 138-149. ถิรพร แสงพิรุณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร. ถิรพร แสงพิรุณ. (2561). ตำราการอนุรักษ์และและการพัฒนาทรัพยากรทางการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์. ถิรพร แสงพิรุณ. (2558). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดบริการบ้านพักแบบ โฮมสเตย์ในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ (ฉบับสหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(พิเศษ), 67-80. ธนะรัตน์ ทับทิมไทย. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2560, จาก www.suphan.dusit.ac.th/report/230757.pdf. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลรางจระเข้. (2562, เมษายน). สัมภาษณ์โดย ถิรพร แสงพิรุณ ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. นาฬิกอัติภัค แสงสนิท. (2562). นิยาม “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”. องค์การบริหารการพัฒนา พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.dasta.or.th/creativetourism/th/creativetourism/531. html. นิตยา งามยิ่งยง และละเอียด ศิลาน้อย. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชุมชนบริเวณริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี. วิจัยวารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 2560, 149-166. บุญญิสา สุวรรณทรัพย์. (2562, พฤษภาคม). สัมภาษณ์โดย ถิรพร แสงพิรุณ ที่โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การพัฒนาตัวแบบยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. (วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร. ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของสวนผึ้ง. วารสารศิลปากร, 9(1), 250-268. ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556, ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ถิรพร แสงพิรุณ, ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา. พงศกร เอี่ยมสอาด และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). ถอดบทเรียนกระบวนการบริหารจัดการเพื่อ การพัฒนาชุมชนตลาดโบราณสูความสำเร็จ: ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปากร, 10(2), 623-635. พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวเชิงชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. ไพวรรณ์ เงาศรี และคณะ. (2558). ปัจจัยการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชน ไทยพวน ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(2), 206-218. มนัส สุวรรณ. (2557). แนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการท่องเที่ยวของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย. (หน่วยที่ 15, หน้า 309-340). พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2549). การ" | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4289 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ | |
dc.subject | ชุมชนคลองรางจระเข้ | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |