หลักความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกับหลักในต่างประเทศ
dc.contributor.author | ธนภัทร ปัจฉิมม์ | |
dc.date.accessioned | 2025-02-13T04:38:11Z | |
dc.date.available | 2025-02-13T04:38:11Z | |
dc.date.issued | 2024-08-30 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “หลักความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกับหลัก ในต่างประเทศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีสากลเกี่ยวกับหลักความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ รวมถึงองค์ประกอบที่สำคัญของหลักความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของเจตนารมณ์ของหลักดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และยังมุ่งศึกษาเปรียบเทียบหลักความเป็นอิสระของ ศาลรัฐธรรมนูญของไทยกับหลักเช่นเดียวกันที่ใช้กับศาลอื่นในระบบศาลไทยตลอดจนศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรเทียบเท่าในต่างประเทศ โดยมุ่งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือมาตรการทางการบริหารอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในประเทศไทยในเชิงลึก เช่น การสัมภาษณ์อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เป็นต้น ลการวิจัยพบว่า หลักความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญไทย ศาลรัฐธรรมนูญออสเตรีย ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนี และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส มีหลักการแห่งความเป็นอิสระ อย่างน้อย ๒ ประการ ประการแรก คือความเป็นอิสระในทางเนื้อหา ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรรมนูญต้องมีความเป็นอิสระด้านหน้าที่และอำนาจ โดยต้องเป็นอิสระจากทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการด้วยกันเอง และมีความอิสระด้านโครงสร้าง ตลอดจน ด้านกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งตุลาการ ประการที่สอง คือ ความเป็นอิสระในทางส่วนตัว ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญต้องมีความเป็นอิสระในการดำรงตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่ การถอดถอนและเปลี่ยนตุลากาการวิเคราะห์หลักความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญของไทยและองค์กรทำนองเดียวกันของต่างประเทศนำมาสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้หลักความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรรมนูญไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ในการนี้ ควรแก้ไขกฎหมายในเรื่องคุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้รับการสรรหาจากนักกฎหมายมหาชน นอกจากนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ควรทบทวนการจัดหลักสูตรอบรมต่าง ๆ โดยศาลรัฐธรรรมนูญ เพื่อมิให้กระทบต่อหลักความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญ | |
dc.identifier.citation | วารสารกระบวนการยุติธรรม | |
dc.identifier.issn | 2985-2609 | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3068 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วารสารกระบวนการยุติธรรม | |
dc.relation.ispartofseries | 17; 2 | |
dc.subject | หลักความเป็นอิสระ | |
dc.subject | ศาลรัฐธรรมนูญ | |
dc.subject | องค์กรตุลาการ | |
dc.title | หลักความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกับหลักในต่างประเทศ | |
dc.type | Article | |
mods.location.url | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/270679 |