EC-Article

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 3 of 3
  • Item
    การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา Game-Based Learning on Learning Achievement of Undergraduate Student
    (2021) พรชุลี ลังกา
    การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน ถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นําเอาความสนุกสนานของเกมและเนื้อหาบทเรียนวิชาต่างๆ มาผสมผสาน และออกแบบให้อยู่ในรูปแบบใหม่เข้าด้วยกัน ทําให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กัน โดยที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ต่างๆ ของหลักสูตรนั้นผ่านการเล่นเกมนั้น โดยเฉพาะในลักษณะของเกมที่มีการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน ทําให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ และมีความท้าทาย การเรียนรู้ผ่านเกม ยังถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนเองบนพื้นฐานแนวคิดที่จะทําให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • Item
    การจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ในบริบทของครูปฐมวัย MACRO model Learning Management in the Context of Early Childhood Teachers
    (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2021) สุภาพร มูฮำหมัด; นิศารัตน์ อิสระมโนรส
    ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้คนเราต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและเรียนรู้ทักษะต่างๆ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ทักษะในศตวรรษที่21 เป็นทักษะที่สำคัญที่บุคคลพึงมีเพื่อเตรียมตัวสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน และการดำรงชีวิต ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งในศตวรรษที่ 21 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model สามารถนำมาปรับใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับครูปฐมวัยได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีแนวทาง ได้แก่ 1. ขั้นสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ครูผู้สอนร่วมมือกับครูปฐมวัยในการกำหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแผนที่ยึดโยงกับหลักสูตร 2. ขั้นการเรียนรู้โดยตรง (Active Learning) คือ ครูผู้สอนให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้3. ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Conclusion) ครูปฐมวัยนำผลการอภิปรายและสาธิตที่เป็นผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากำหนดเป็นความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ 4. ขั้นรายงานและนำเสนอ (Reporting) ขั้นนี้จะช่วยให้ครูปฐมวัยได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้5. ขั้นการเผยแพร่ความรู้(Obtain) เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ครูปฐมวัยได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้ และเป็นการเรียนรู้ที่มีความยั่งยืน
  • Item
    Assessment for Learning (AfL): An Assessment Method Easing University to Workplace Transition of the Early Childhood Preservice Teachers
    (Suan Dusit University, 2021) Sasanun Bunyawanich; Chayapon Chomchaiya; Nutthaporn Owatnupat
    The transformative world driven by computer technology and globalization changes the nature of work. Thus, it is essential that preservice teachers need to be prepared for coping with the demands of the changing job market. The 21st-century skills highlight collaboration, communication, ICT literacy, critical thinking, problem solving, and social and cultural competencies. Assessment for learning (AfL) enhances development of teacher identity of preservice teachers which eases their transition from university to workplace. AfL can foster identity of early childhood preservice teachers because of two main reasons. Firstly, the preservice teachers need to have assessment literacy to help promote students’ learning in school. Having experience AfL in a teacher training program creates understanding of preservice teachers concerning its approach which they can apply AfL strategies in their own early childhood classrooms. Secondly, AfL enhances preservice teachers to have self-regulation in monitoring, designing, and assessing their own learning performance supported by self-reflection. Successfully implementing AfL as a classroom practice greatly relies on decision making of instructors and preservice teachers, and other external factors such as state accountability testing and district policies.