EC-Journal

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 6
  • Item
    A Study of guideline for Reforming Training Program for Pre-service Preschool Teachers, In-service Preschool Teachers, Caregivers, and Teacher Assistants
    (ครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2021) Phornchulee Lungka; Chanasuek Nichanong; Wilailak Langka; Nisarat Issaramanorose; Pornluck Intamra; Poonyawee Chiropasworrapong; Ua-aree Janthon
    This research aims to study the preparation and development guidelines of early childhood curriculums, including caregiver and teacher assistant training program. The research operation separated into three parts: 1) The knowledge synthesis of early childhood preparation and development systems in Thailand, and six foreign countries, namely The United States of America, England, New Zealand, Japan, Philippines, and Hong Kong ; 2) The developmental guideline studies of early-years curriculums and teaching methodologies for preschool teachers, caregivers, and teacher assistants; 3) The recommendation for Equitable Education Fund (EEF), using as part of the reformation in preschool teacher preparation and development, providing the recommendations for creating the prototypical patterns of preparation and development for the preschool teachers and other personnel. For the qualitative data, the interview information was collected from 101 people who were early years educational specialists, kindergarten executives, preschool teachers, parents. The quantitative data was gathered by using a questionnaire, there were 1,044 responders in six regions of Thailand including the school administrators, preschool teachers, caregivers, and teacher assistants. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and Modified Priority Needs Index (PNI Modified) to forecast and analyze the expected and actual condition. The qualitative data were analyzed by content analysis. The results found that there were four periods of reformation in early childhood development for preschool teachers of Thailand during the last two decades. There were similar and different systems for preparation and development of preschool teachers in six countries. Moreover, the recommendations of preschool teacher preparation, consisting of 12 areas.
  • Item
    DEVELOPMENT OF WORK-BASED LEARNING SKILLS BANK TO ENHANCE LEARNING AND INNOVATION SKILLS ON EARLY CHILDHOOD EDUCATION FOR CAREGIVERS
    (ASEAN Journal of Education, 2021) Ua-aree Janthon; Tuan Tongkeo; Sirorat Trakoonsathitmun
    Abstract The study has the objectives to develop work-based learning skills bank to enhance learning skills and innovation in Early Childhood Education (ECE) among the caregivers under the Department of Local Administration. This research and development focus on shaping the direction of caregiver’s development according to the existing environment; the caregiver here means a person taking care of children aged 2-5 in their local area at daycare center under the Department of Local Administration. This study includes the analysis drawn from confirm factor analysis (CFA) to determine the factors of work-based learning skills bank. The sample group being comprised of 10 experts in ECE and technology, and 1,467 caregivers was selected from a total population of 46,673 through multi-stage sampling. The qualitative data was collected from the experts by the semi-structured interview and content analysis, and questionnaire on work-based learning behavior was used to acquire the quantitative data from the caregivers of which reliability was 0.945 with CFA. The study found five factors of work-based learning skills i.e. (1) technology, (2) knowledge, (3) learning activities, (4)outcome analysis and evaluation, and (5) work. It is found that each factor has had its key indicatorand each one has resonated with the empirical evidence according to the Goodness of Fit Index (GFI).The GFI has showed the chi-squired value of 0.04 and relative chi-squared value of 0.04. Thestandardized factor loading of each factor and factor indicator have ranged between 0.756-0.936 and0.436-0.936 respectively. Keywords: caregiver, work-based learning skills bank, early childhood education (ECE)
  • Item
    การพัฒนาความสามารถในการผลิตสื่อสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยใช้การเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยี
    (กองบรรณาธิการ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2023-09-08) เอื้ออารี จันทร
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความสามารถในการผลิตสื่อ โดยใช้การเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่กำลังศึกษารายวิชา สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผน การจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความสามารถในการผลิตสื่อ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (Paired sample t-test) สถิติเชิงพรรณา ค่าพัฒนา การสัมพัทธ์ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง สัดส่วนการเรียนแบบออนไลน์ต่อการเรียนแบบออนไซต์ 50 : 50 ผลการประเมินความสามารถในการผลิตสื่อ โดยรวม พบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความสามารถในการผลิตสื่อก่อนและหลัง พบว่า ภายหลังการเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีทำให้ระดับความสามารถในการผลิตสื่อสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มผู้ที่มีค่าพัฒนาการสัมพัทธ์ระดับสูงมากที่สุด ส่วนใหญ่เลือกใช้การเสริมศักยภาพด้วยแหล่งเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ มีการปรับปรุงงานตามคำแนะนำ และค้นคว้าข้อมูลเพื่อปรับแก้ไขทุกครั้งที่ได้รับคำแนะนำ
  • Item
    Development of English-language Use and Learning through Integrated Interactive Media for Young Learners with Special Needs
    (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-03-01) นวรัตน์ เตชะโชควิวัฒน์
    This study investigated the development of English-language use and learning among 15 young learners with special needs, by integrating some interactive media into instruction of reading and speaking. This study aimed to 1) find out the methods to help these young learners build up their understanding of English-language use and learning, with the help of some media such as pictures, actions, sounds, moving pictures and interactive media as part of the teaching materials, 2) compare and contrast the development of the learners’ understanding of the language use and learning, and 3) apply the research findings with instruction of English in other situations or of other languages. The research instruments comprised the ones used for teaching English and the ones used for collecting data. The teaching instruments were formed with integration of various kinds of media, like pictures, actions, sounds, moving pictures and interactive media. The instruments for data-collection were observations, pre-tests and post-tests, and follow-up interviews with open-ended questions. The quantitative data collected from the pre-tests and the post-tests were analysed with Wilcoxson Signed Ranks Test Statistics; whereas the qualitative data collected from the classroom observations and follow-up interviews were analysed and cross-checked with the quantitative data. This study revealed the following interesting findings. First, the integration of pictures, actions, sounds, moving pictures and interactive media into classroom instruction, as a whole, could develop these learners’ use and learning English, in terms of grammar/language structure, meaning and comprehension. Second, the development of language use and learning in the area of language structures resulted from the integration of pictures and actions and of moving pictures and interactive media. Third, the learners’ development of language use and learning in terms of meaning was derived from the integration of pictures, pictures and actions, actions and sounds, and moving pictures and interactive media. Fourth, the learners’ development of language use and learning in terms of overall comprehension resulted from the integration of pictures and moving pictures and interactive media.
  • Item
    การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลียที่มีต่อทักษะทางสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย
    (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2022-12-30) ภิรดี วัชรสินธุ์; อนุสรา แก้วพรม; ทิพรดา หงษ์ร่อน; ชนิสรา นุ้ยแหลมหลัก; เมธาวิณี รัศมี; ฤกษ์ขวัญ แอกทอง
    การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย เพื่อส่งเสริมทักษะทางสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย ระหว่างการวัดครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร จำนวน 1 ห้อง จำนวนทั้งหมด 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย และแบบประเมินทักษะทางสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย ปฐมวัย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้การจัดสวนถาดหรรษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย มีค่าเฉลี่ยการวัดทักษะทางสมอง (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน ครั้งที่ 2 สูงกว่า การวัดครั้งที่ 1 และ 2) การเปรียบเทียบทักษะสมอง (EF) ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเมล็ดพืช ภาพรวมเด็กปฐมวัยมีคะแนนพัฒนาการ 67.96 % อยู่ในระดับสูง
  • Item
    คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่บริบทไทย
    (คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023-09-23) จิราพร รอดพ่วง; กัลยา ชนะภัย; จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
    ผลจากการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ มอนเตสซอรี่ ได้พบว่าคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่ของต่างประเทศสามารถสรุปได้ 31 ลักษณะ การค้นพบคุณลักษณะดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจว่าเด็กปฐมวัยในบริบทไทยที่เรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะมีคุณลักษณะดังกล่าวหรือไม่ และมีคุณลักษณะนั้นๆ มากน้อยเพียงใด จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่บริบทไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และอาจารย์หรือครูประจำชั้น จำนวน 45 คน จากสถานศึกษา 10 แห่ง ที่จัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ และเป็นเครือข่ายของสมาคมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเด็กเป็นสำคัญ (TAMS) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยพิจารณาความถูกต้องและความเหมาะสมของเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินระดับ กำหนดอันดับ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี่บริบทไทย อยู่ใน ระดับมากที่สุด 11 ลักษณะ และอยู่ในระดับมาก 20 ลักษณะสำหรับคุณลักษณะที่พบในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก อันดับ 1 คือ Happy/Full of Joy/Joy of Learning เด็กมีความสุข ร่าเริง สนุกสนานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และการใช้ชีวิตประจำวัน (M = 4.84, SD = 0.37) อันดับ 2 คือ Curiosity เด็กมีความสนใจใคร่รู้ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้ (M = 4.76, SD = 0.48) และอันดับ 3 คือ Frank เด็กแสดงออกถึงความจริงใจและตรงไปตรงมาในสิ่งที่พูดและการปฏิบัติ (M = 4.62, SD = 0.58) สำหรับคุณลักษณะที่พบในระดับมาก 3 อันดับสุดท้าย คือ อันดับ 29 คือ Organize เด็กสามารถจัดการและจัดระบบการทำงานของตนได้ (M = 4.11, SD = 0.65) อันดับ 30 คือ Global thinker เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างกว้างไกล เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป (M = 4.09, SD = 0.63) และอันดับ 31 คือ Problem-solving เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (M = 4.00, SD = 0.74) การอภิปรายผลการวิจัยภายใต้กรอบของมอนเตสเซอรี่ในบริบทไทยและความต้องการของโลกปัจจุบัน หลักการสำคัญของการสอน คือ ความสามารถของครูในการสังเกตและนำพาเด็กให้มีคุณลักษณะได้ตามแนวคิดของมอนเตสเซอรี่ครู คือ ผู้ที่จะนำพาเด็กให้มีคุณลักษณะได้ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่