EC-Report
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing EC-Report by Title
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามบริบทไทย(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2023) พรชุลี ลังกา; นิศารัตน์ อิสระมโนรส; พรรัก อินทามระ; ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์; เอื้ออารี จันทรสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทยสามารถเลือกและปรับใช้แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างอิสระและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการเลือกแนวทางดังกล่าว โดยคำนึงถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมหรือพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านตามวัย ทั้งนี้ การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแต่ละแห่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความสนใจ และความสามารถของเด็ก ทักษะ สมรรถนะ และแนวคิดทางปรัชญาของครูและผู้บริหารสถานศึกษา หลักสูตรสภาพจริงของการเรียนรู้ของเด็ก รวมถึงบริบทของชุมชน เป็นต้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภายใต้อุดมการณ์หรือการยึดมั่นในหลักทฤษฎีสำหรับการเลือกแนวทางของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของไทยมีความหลากหลาย บางแห่งดำเนินการตามอุดมการณ์และนำแนวทางที่เลือกแล้วมาปรับใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานศึกษาของตนเป็นเวลานานจนสามารถเห็นผลสำเร็จในระยะยาว ตัวอย่างแนวทางการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ถูกนำมาใช้ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต่าง ๆ ทั่วไปประเทศ เช่นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคป (High/Scope Approach) แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ (Waldorf Approach) แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่(Montessori Approach) แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach)แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ