Power of SDU Talk
Permanent URI for this community
Browse
Browsing Power of SDU Talk by Subject "การควบคุมอารมณ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item Poll Talk Exclusive Ep 6. โลกเปลี่ยนไปใจ(ต้อง)เปลี่ยนทัน(2022) ณัชนก นุกิจโลกเปลี่ยนไปใจ(ต้อง)เปลี่ยนทัน เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ของคนไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากผลการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้คนไทย ต้องพบกับความเครียด ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ การเงินการจัดการเวลาและสัมพันธภาพ ซึ่งทักษะชีวิต (Life Skill) ที่ส าคัญและควรมีเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าคนเจเนอเรชั่นไหน อายุเท่าไหร่ ก็จ าเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน คือ 1) EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางด้านอารมณ์ 2) AQ (Adversity Quotient) ความฉลาดในการรับมือกับปัญหา 3) RQ (Resilience Quotient) ความสามารถทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวและฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติภายหลังที่พบกับวิกฤตินอกจากนี้ในปัจจุบันการเจริญสติ (Mindfulness) เป็นจิตวิทยากระแสใหม่ซึ่งอาศัยหลักการพักด้วยการฝึกสมาธิ ทำงานด้วยการฝึกสติ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในด้านจิตบำบัด การพัฒนาคน การสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ซึ่งหากเราได้รับการพัฒนาสติและสมาธิแล้วก็จะตั้งรับกับปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเอาตัวรอดจากวิกฤติที่เกิดขึ้น 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,138 คน ระหว่าง วันที่ 17-22 กันยายน 2565 พบว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงและต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ประชาชนมักจะทำใจยอมรับ ร้อยละ 51.00 เมื่อมีปัญหาเข้ามารุมเร้า ประชาชนควบคุมอารมณ์ได้บ้าง ร้อยละ 59.91 เรื่องที่มักทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้คือ การมีปัญหาสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ ไม่สบาย ร้อยละ 51.62 รองลงมา คือ ปัญหาเรื่องเงิน ร้อยละ 43.14 เวลาที่เครียด โกรธ โมโห สิ่งที่จะทำคือ ตั้งสติ ร้อยละ 51.58 รองลงมาคือ ยอมรับและเผชิญกับความเป็นจริง ร้อยละ 48.42 จากข่าวความรุนแรงในสังคมปัจจุบันประชาชนมองว่าน่าจะเกิดจากการถูกกดดัน เครียด ขาดสติ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ร้อยละ 41.97 รองลงมาคือมองว่าสุขภาพจิตของคนในสังคมแย่ลง ร้อยละ 22.58 และจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมองว่าตนเองยังทนได้ ร้อยละ 73.37