Faculty of Science and Technology
Permanent URI for this community
Browse
Browsing Faculty of Science and Technology by Subject "ข้าวทนแล้ง ข้าวเศรษฐกิจ องค์ประกอบผลผลิต"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
Item การพัฒนาข้าวทนแล้ง ระหว่างข้าวพันธุ์ท้องถิ่น และพันธุ์เศรษฐกิจใน พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี(วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2, 2023-12-25) สุรชาติ สินวรณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนแล้งจากพันธุ์ข้าวท้องถิ่นและพันธุ์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทำการสร้างคู่ผสมจำนวน 10 คู่ ซึ่งใช้พันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่มีสมบัติทนแล้ง ที่มีการรวบรวมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์แม่ และใช้ข้าวพันธุ์เศรษฐกิจ จำนวน 5 พันธุ์ เป็นข้าวพันธุ์พ่อ หลังจากนั้นทำการสร้างประชากรข้าวที่เป็นพันธุ์ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่จากประชากรข้าวชั่วที่ F1 แล้วคัดเลือกประชากรข้าวด้วยวิธีพันธุประวัติ จนได้ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 10 สายพันธุ์ เมื่อนำไปปลูกทดสอบความทนแล้ง ในระยะกล้า พบว่า ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 มีความทนแล้งได้ระดับดีที่สุด เมื่อประเมินระดับการฟื้นตัว พบว่า ข้าวสายพันธุ์ RHPT1 มีระดับการฟื้นตัวหลังได้รับน้ำดีที่สุด ส่วนองค์ประกอบผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยแต่ละพารามิเตอร์ทำการทดสอบทางสถิติความแปรปรวน (ANOVA) พบว่า ความสูงเฉลี่ยสูงสุดคือข้าวพันธุ์แม่ RH เท่ากับ 166.3 เซนติเมตร จำนวนต้นต่อกอและจำนวนรวงต่อกอเฉลี่ยสูงสุด คือข้าวสายพันธุ์ RHPT1 เท่ากับ 7.33 ต้นต่อกอ และ 6.67 รวงต่อกอ ตามลำดับ จำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ยสูงสุด น้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ยสูงสุด และน้ำหนักเมล็ดต่อกอ (กรัม) เฉลี่ยสูงสุด คือ ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 เท่ากับ 175.3 เมล็ด 2.63 กรัม 882.33 กรัม และ 20.67 กรัม ส่วนผลผลิตต่อไร่ ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 818 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ทุกสายพันธุ์มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน โดยเกษตรกรสามารถเลือกใช้ข้าวสายพันธุ์เหล่านี้ปลูกทดแทนข้าวพันธุ์เดิมเมื่อเกิดภาวะภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร