School of Law and Politics
Permanent URI for this community
Browse
Browsing School of Law and Politics by Subject "กฎหมาย"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
Item ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาและกฎหมายในสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา–พ.ศ. 2475(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2024-06-15) ยอดชาย ชุติกาโมบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาและกฎหมายในสังคมไทย ตั้งแต่ก่อนสมัย อยุธยา–พ. ศ. 2475 ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคลี่คลายตัวของรัฐไทยจากสังคมรัฐจารีตมาสู่รัฐสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่าในสมัยที่เป็นรัฐจารีตคือสมัยอยุธยาและก่อนหน้านั้น พุทธศาสนากับกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกัน โดยตรงน้อยมาก เนื้อหาและหลักค าสอนของพุทธศาสนามิได้ถูกน ามาบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยตรงในกฎหมายต่าง ๆ หลักการทางพุทธศาสนามีบทบาทเน้นต่อตัวผู้ปกครองเป็นส าคัญที่ให้ปกครองอย่างมีธรรม ถ้าผู้ปกครองมีธรรมแล้ว สังคมก็เป็นธรรม จนกระทั่งสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่เริ่มมีการตรากฎหมายมาบังคับใช้คณะสงฆ์เกี่ยวกับ การประพฤติตนให้อยู่ในวัตรปฏิบัติตามพระวินัยและจารีตที่ดีงาม อันเนื่องมาจากวัตรปฏิบัติที่ย่อหย่อนของคณะสงฆ์ใน เวลานั้น ท าให้เกิดผลพลอยได้ที่คณะสงฆ์ได้เข้ามาสู่การควบคุมจากฝ่ายอาณาจักร และเมื่อเข้าสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ใน ลักษณะที่เรียกว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เต็มที่ พุทธศาสนาและกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้น ในรูปแบบที่ คณะสงฆ์ก็ได้รับการจัดการจากรัฐไทยด้วยกฎหมายคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ ท าให้พระสงฆ์มิเพียงอยู่ภายใต้บังคับของ พระธรรมวินัยเท่านั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมืองด้วยเช่นกัน และในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นี้ที่สถานะของ พุทธศาสนาได้รับการยกย่องโดยนัยยะทางกฎหมายว่าเป็นศาสนาประจ าชาติไทยจากกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบ ราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ที่ก าหนดว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นพุทธศาสนูปถัมภกItem รัฐกับนโนทัศน์ทางกฎหมายและการเมือง(วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2020-08) ธนภัทร ปัจฉิมม์; รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจันในบทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ว่าด้วยรัฐกับกฎหมายและการเมือง ซึ่งแนวคิด ดังกล่าว เริ่มต้นด้วยการพิจารณา “รัฐ” ที่ปรากฏขึ้นในมิติของการดำรงอยู่จริงทางกฎหมาย ในขณะที่คำอธิบาย โดยทั่วไปมักพิจารณา “รัฐ” ในฐานะเป็นหน่วยทางสังคมที่ดำรงอยู่แยกต่างหากจาก “กฎหมาย” กล่าวคือ รัฐ จะปรากฏขึ้นในฐานะที่เป็นหน่วยทางการปกครองซึ่งเป็นชุมชนที่มีการรวมกันตัวของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ สังคมและดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระในตัวเองและมีอยู่ก่อนกฎหมาย กฎหมายจึงเกิดขึ้นจากการเป็นรัฐที่มีฐานะ ในการดำรงอยู่ของระเบียบทางกฎหมาย และปรากฏขึ้นเป็น “รูปแบบการปกครอง” (Form of Government) แม้ว่าในแต่ละรัฐจะมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันก็ล้วนแต่มีเงื่อนไขและวิธีการสร้างระเบียบทางสังคม และระเบียบทางกฎหมายเฉกเช่นเดียวกัน ไม่ว่าในสมัยใหม่ สถานที่แห่งใด หรือในวัฒนธรรมใดคำว่า “กฎหมาย” ย่อมมีนัยถึงเทคนิคทางสังคมอันมีรูปแบบเฉพาะของระเบียบที่มีอำนาจบังคับเสมอ ดังนั้น แม้ว่า กฎหมายสังคมโบราณกับสังคมสมัยใหม่ ต่างชาติต่างภาษาที่แตกต่างกันแต่ก็มีแก่นแท้ร่วมกัน คือ การมีเทคนิคทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์มีการกระทำทางสังคมที่เป็นไปในทิศทางที่พึงปราถนา และโดยเหตุวัตถุแห่งการศึกษาของศาสตร์ว่าด้วยกฎหมายและการเมืองนั้นจะไม่สามารถกระทำได้อย่างครบถ้วน หากปราศจากตัวแปรสำคัญคือการพิจารณาจากความเป็นรัฐและกระบวนการทางการเมือง ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดข้อเท็จจริงในชุมชนการเมืองอันเป็นเป้าหมายให้ศาสตร์ด้านกฎหมายมุ่งพรรณาถึงบรรทัดฐานทางกฎหมายทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้น โดยการกระทำในลักษณะต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคม