Poll Talk Exclusive

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 11 of 11
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 1. การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19
    (2022) ศุภศิริ บุญประเวศ
    . การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เรื่องการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ผู้เข้าร่วม 10 คน และการสัมภาษณ์จำนวน 30 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง พบว่า ความสำคัญของการสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19 เน้นการสร้างความเข้าใจกันในครอบครัว โดยในช่วงโควิด-19 การสื่อสารของครอบครัวมีมากขึ้นเนื่องจากต้องอยู่บ้านมากขึ้น และเป็นการพูดคุยเรื่องสุขภาพ การเรียน การทำงาน ฯลฯ ช่วงเวลาส่วนใหญ่ที่พูดคุยกัน คือ ช่วงกินข้าว ไปเที่ยวและทำกิจกรรมร่วมกัน อุปสรรคในการสื่อสาร ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีมากเกินไป ช่องว่างระหว่างวัย ภาษา ความคิดและทัศนคติ แนวทางแก้ปัญหาควรเริ่มจากการเรียนรู้คนในครอบครัว ผลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า โควิด-19 ทำให้คนหันมาสนใจและใส่ใจคนในครอบครัวมากขึ้น ด้วยความห่วงใยนี้จึงทำให้การสื่อสารมีมากขึ้น แต่ก็มีอุปสรรคในการสื่อสาร เช่น การมุ่งแต่จะให้อีกฝ่ายฟังหรือมุ่งแต่จะเสนอความคิดของตนเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้คนในครอบครัวไม่ค่อยอยากพูดคุยกันมากนัก จึงควรอาศัยช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ให้เป็นโอกาสด้วยการสื่อสารกัน เปิดใจรับฟังกัน เน้นการสื่อสารเชิงบวกทั้งคำพูดและการกระทำจะช่วยทำให้บ้านเป็นบ้านที่ใคร ๆ ก็อยากอยู่อย่างแท้จริง 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,143 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 4-12 เมษายน 2565 พบว่า ในยุคโควิด-19 คนไทยพูดคุยกับคนในครอบครัวเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 63.25 รองลงมาคือ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ร้อยละ 18.37 เวลาที่มีปัญหาคนที่อยากพูดคุยด้วยมากที่สุด คือ สามี/ ภรรยา ร้อยละ 32.31 รองลงมาคือ เพื่อน/แฟน ร้อยละ 21.51 เรื่องที่มักจะพูดคุยคือเรื่องทั่วไป สารทุกข์สุขดิบ ร้อยละ 70.71 ในช่วงโควิด-19 การพูดคุยกับคนในครอบครัวทำให้รู้สึกสบายใจมาก ร้อยละ 47.18 ทำให้เกิดความห่วงใยผูกพันกัน มากขึ้น ร้อยละ 67.28 โดยมองว่าการที่คนในครอบครัวไม่ค่อยได้พูดคุยกันเป็นเพราะไม่มีเวลา เวลาไม่ตรงกัน ร้อยละ 56.36 วิธีการที่จะทำให้คนในครอบครัวพูดคุยสื่อสารเข้าใจกันได้มากขึ้น คือ ต้องเปิดใจ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ร้อยละ 65.21 รองลงมาคือ ทำบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจที่จะพูดคุยกัน ร้อยละ 56.27 ฉบับเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จัดทําในหัวข้อ “การสื่อสารของครอบครัวไทยในยุคโควิด-19” ซึ่ง เป็นช่วงระยะเวลาที่บุคคลมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นเป็นการใช้สถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้กําลังใจกัน อันจะมีส่วนทําให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งขึ้น
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 10. เยาวชนไทย กับอนาคตการพัฒนาประเทศ
    (2022) นพพร แพทย์รัตน์
    เยาวชนไทย กับอนาคตการพัฒนาประเทศ เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเยาวชนไทยกับการพัฒนาประเทศ ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องหัวข้อ "เยาวชนไทยกับอนาคตการพัฒนาประเทศ " วันที่ 12 มกราคม 2566 พบว่า เยาวชนเป็น รากฐานและอนาคตของประเทศ ความท้าทายคือ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและครอบครัว ทั้งนี้ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลสูงสุด ทางด้านความคิด ทัศนคติ ค่านิยมและแนวคิดของเยาวชน ดังนั้น การทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น การส่งต่อความรัก การรับฟังความคิดเห็นและการเป็นแบบอย่างที่ดีจึงเป็นแนวทางการพัฒนาเยาวชนที่สำคัญที่สุด นอกจากนั้น สถาบันการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เยาวชนค้นพบศักยภาพของตนเอง มีทักษะชีวิต ทักษะการทำความดีจนสามารถค้นพบอาชีพที่ดีในอนาคต รวมถึงสร้างกระแสสังคมผ่านโลกออนไลน์เพื่อให้เยาวชนใช้เป็นแบบอย่างและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นในกลุ่มผู้หญ่และกลุ่มเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 1,014 คน ระหว่างวันที่ 22-26 มกราคม 2566 พบว่า "เยาวชนไทยคนรุ่นใหม่" ณ วันนี้ มีความเป็นตัวเองสูง มั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ร้อยละ 70.86 จุดเด่นของเยาวชนไทย คือ เก่งทคโนโลยี การใช้สื่อโซเชียลต่าง ๆ ร้อยละ 74.31 สิ่งที่เป็นห่วง/กังวลเกี่ยวกับเยาวชนไทย คือ การใช้สื่อในทางที่ไม่เหมาะสม ใช้ในทางที่ผิด ร้อยละ 71.70 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนไทย คือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว ร้อยละ 76.16 สิ่งที่อยากบอกกับเยาวชนไทย คือ เป็นคนดี ทำในสิ่งที่รักและเป็นสิ่งที่ดี ร้อยละ 47.97 สุดท้ายประชาชนเชื่อมั่นว่าเยาวชนไทย ณ วันนี้จะเป็นอนาคตของชาติ ในการพัฒนาประเทศ ร้อยละ 84.22
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 11. มุมมองความรัก ของคนไทย ณ วันนี้
    (2022) พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์
    มุมมองความรัก ของคนไทย ณ วันนี้ เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรัก ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องหัวข้อ All About Love : ครบเครื่องเรื่องความรัก พบว่า ความรักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดย่อมมี คุณค่าในตัวเองเสมอ ความรักอย่างมีสติจะทำให้ความรักนั้นมีคุณภาพ ความรักควรเป็นความปรารถนาดีที่อยากให้คนที่เรารักมีความสุขโดยไม่คาดหวังสิ่งใด สำหรับวิธีดูแลความรักเริ่มจากความเข้าใจ การยอมรับในตัวตนที่แท้จริง ความเอื้ออาทรความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันก็จะทำให้ความรักนั้นยั่งยืน และเมื่อความรักไม่เป็นไปตามความคาดหวังในเบื้องต้นควรปลดปล่อยอารมณ์ความเสียใจหรืออารมณ์โกรธนั้นออกมา เช่น การร้องไห้ การเขียนระบายความรู้สึก การออกกำลังกายหรือการมีเพื่อนพูดคุยให้คำปรึกษาระบายความทุกข์ เพื่อผ่อนคลายความอัดอั้นใจ และไม่ควรซ้ำเติมความเศร้าของตนเอง เช่น การไปยังสถานที่แห่งความทรงจำ หรือ การเสพสื่อที่มีเนื้อหากระตุ้นอารมณ์เศร้าให้มีมากยิ่งขึ้น สุดท้ายความรักและการเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งทางใจที่จะสามารถผ่านภาวะวิกฤตทางอารมณ์ไปได้ด้วยดี 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มวัยรุ่น จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2566 พบว่า ปัจจุบันคนไทยมีทัศนคติ มุมมองต่อความรักแตกต่างจากสมัยก่อน ร้อยละ 72.48 โดยมองว่าการมี“ความรักแบบคนรัก” เป็นสิ่งจำเป็นมาก ร้อยละ 36.89 ทั้งนี้เคยมีประสบการณ์หรือเคยเจอความสัมพันธ์แบบแย่ ๆ (Toxic relationship) ร้อยละ 67.58 ส่วนการแสดงความรัก ปกติแล้วมักแสดงความรักด้วยการใช้เวลาและทำกิจกรรม ร่วมกัน ร้อยละ 66.64 วิธีการรักษา/ถนอมความรัก คือ เข้าใจกัน รับฟังอย่างมีเหตุผล ร้อยละ 82.77 ในวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรักที่จะถึงนี้คาดว่าจะใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,528.95 บาท/ต่อคน ของขวัญที่อยากได้ในวันวาเลนไทน์อันดับ 1 คือ ดอกไม้ ช่อดอกไม้ ร้อยละ 48.07 รองลงมาคือ รับประทานอาหารด้วยกัน ร้อยละ 31.93 และเงิน ร้อยละ 23.86
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 3. คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power
    (2022) พรชณิตว์ แก้วเนตร
    คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ Soft Power ไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) การเสวนากลุ่มย่อย หัวข้อ “คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 เก็บข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและการทูต บุคคลในวงการสื่อ วงการบันเทิง การศึกษา จำนวน 10 คน ผู้ร่วมเสวนามีความเห็นตรงกันว่า Soft Power มีความหมายที่กว้างไกลกว่าคำว่าวัฒนธรรมหรืออาหารไทย แต่เป็นปฏิบัติการที่ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการวางแผนและขับเคลื่อน Soft Power อย่างเป็นระบบ มีความจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านนี้โดยเฉพาะขณะที่บุคคลทั่วไปก็สามารถร่วมสร้าง Soft Power ภาคประชาชนได้ เริ่มจากการยอมรับและเห็นคุณค่าของ Soft power ไทย แล้วทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอหรือผู้บอกต่อที่ดี ผ่านการสื่อสารที่ซื่อสัตย์และจริงใจ 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,066 คน ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการผลักดันนโยบาย Soft Power ของไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 78.36 Soft Power ที่ควรส่งเสริม คือ ท่องเที่ยวไทย เทศกาล ประเพณี ไทย ร้อยละ 93.79 รองลงมา คือ อาหารไทย ขนมไทย ร้อยละ 82.58 ทั้งนี้คาดว่า Soft Power น่าจะช่วยขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้ร้อยละ 94.56 จุดเด่นของ Soft Power ไทย คือ หลากหลาย โดดเด่น มีเอกลักษณ์ของตนเอง ร้อยละ 68.23 ปัญหาและอุปสรรค คือ รัฐบาลผลักดันไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมในระยะยาว ร้อยละ 86.09 โดยอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญ วางแผนระยะยาว ทำอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 68.14
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 4. Care Economy: สุขภาพดีเพื่อชีวิตที่ยืนยาว
    (2022) ชนะศึก นิชานนท์
    สุขภาพดีเพื่อชีวิตที่ยืนยาว เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของคนไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) การสนทนากลุ่ม เรื่อง Care Economy : สุขภาพดีเพื่อชีวิตที่ยืนยาว เมื่อวันที่11 กรกฎาคม 2565 ผู้เข้าร่วมการสนทนา กลุ่ม ประกอบด้วย นักวิชาการทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ดารานักแสดงและผู้ที่ให้ความใส่ใจด้านสุขภาพ จำนวน 7 ท่าน พบว่า ประเด็นแรกสุขภาพที่ดีประกอบไปด้วย 4 มิติได้แก่ การพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ การดูแลสภาพจิตใจของตนเองให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด และการดูแลร่างกายให้ดีด้วยการออกกำลังกาย ประเด็นที่สองการชะลอวัยหรือการชะลอความเสื่อมของร่างกายควรเริ่มต้นให้เร็วและทำอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับพฤติกรรมของตนเอง นอกจากนี้ด้วยองค์ความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันของศาสตร์ชะลอวัยทำให้มีการพูดถึงการย้อนวัย (Rejuvenate) ด้วยการทำให้เซลล์ต่างๆในร่างกายแข็งแรง ซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนซึ่งทำให้มากกว่าคำว่าชะลอวัย และประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันได้มีการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ที่ดูแลเฉพาะบุคคล (Precision Medicine) สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆลงลึกในระดับพันธุกรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและตอบโจทย์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,159 คน ระหว่างวันที่ 21-28 กรกฎาคม 2565 พบว่า โควิด-19 ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น ร้อยละ 72.74 ส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพตนเองด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ ร้อยละ 72.32 กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ร้อยละ 69.81 ทั้งนี้คิดว่าการมีสุขภาพดีควรเริ่มต้นด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ ร้อยละ 75.91 ในขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการดูแลสุขภาพเพื่อการชะลอวัย (Anti-Aging) มีความจำเป็น ร้อยละ 96.38 ส่วนในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของตนเองมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 2,129.07 บาท สิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอันดับ 1 คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ร้อยละ 52.99 รองลงมาคือ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ร้อยละ 51.43
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 5. VUCA WORLD ครูไทย…ไปทางไหนดี
    (2022) วีณัฐ สกุลหอม
    VUCA WORLD ครูไทย…ไปทางไหนดี เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อครูไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากผลการเสวนากลุ่มเรื่อง “VUCA World...ครูไทยไปทางไหนดี” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาเข้าร่วมจำนวน 7 ท่าน สะท้อนให้เห็นว่าตราบใดที่ระบบโครงสร้างหลักสูตรยังไม่สอดคล้องกับสภาพบริบทของสังคมไทย ไม่สามารถผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้ ครูไทยจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่ผันผวน เปิดใจฟังผู้เรียนเพื่อสร้างความเข้าใจมากกว่าการตัดสินว่าถูกหรือผิด รักและศรัทธาในวิชาชีพพร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู เพื่อทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าโรงเรียนคือพื้นที่ปลอดภัย และเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยการลงมือทำ และที่สำคัญควรปรับนโยบายด้านการประเมินครูด้วยเทคนิคการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน ระหว่าง วันที่ 16-19 สิงหาคม 2565 พบว่า ประชาชนคิดว่าปัญหาการศึกษาไทย ณ วันนี้ เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม ร้อยละ 61.19 รองลงมาคือ การบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 59.49 โดยเห็นด้วยว่าในช่วงโควิด-19 “ครูไทย” ปรับตัวได้ดีทันกับ การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 70.71 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา “ครูไทย” คือ เงินเดือนและค่าตอบแทน ร้อยละ 65.34 รองลงมาคือ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น โควิด-19 ร้อยละ 64.49 ทั้งนี้ครูไทยที่ดีควรรักในอาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู ร้อยละ 74.98 รองลงมาคือ กล้าที่จะทำอะไรใหม่ ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับวิธีการแบบเดิม ๆ ร้อยละ 67.42 และประชาชนมองว่าอาชีพ ครูยังเป็นอาชีพที่คนอยากเป็น ร้อยละ 57.97 รองลงมาคือ ไม่อยากเป็น ร้อยละ 40.99
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 7. คำตอบท่องเที่ยวไทย หลังโควิด-19
    (2022) พิมพ์มาดา วิชาศิลป์
    คำตอบท่องเที่ยวไทย หลังโควิด-19 เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในมุมมองของคนไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) ผลจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เรื่องคำตอบท่องเที่ยวไทยหลังโควิด-19 พบว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวไทย ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดยในไตรมาส 4 นี้จะมีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นทั้งจากนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ โดยทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเห็นว่าคำตอบของท่องเที่ยวไทยหลังโควิด -19 ควรมาจากการออกแบบการท่องเที่ยวใหม่ หรือ Tourism Redesign โดยนำเสนอยุทธศาสตร์สมดุล 4 ประการเพื่อสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนคือ 1) สมดุลเมืองหลักและเมืองรอง 2) สมดุลผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหญ่ 3) สมดุลด้านการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น และ 4) สมดุลของแผนด้านการท่องเที่ยวระยะสั้นและระยะยาวทั้งนี้หลายภาคส่วนที่เข้าร่วมสนทนากลุ่มมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันในประเด็นด้านอุปทานการท่องเที่ยวควรดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมการตลาดสำหรับนักท่องเที่ยวในฝั่งอุปสงค์ โดยดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจากต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสิ่งสำคัญที่สุด คือ การนำเสนอคุณค่าและประสบการณ์การท่องเที่ยวไทยอย่างจริงแท้ ซื่อตรง เพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวเพื่อให้กลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,148 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 23-28 ตุลาคม 2565 พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยในช่วงสิ้นปีนี้จะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 79.88 จังหวัดที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุดในช่วงสิ้นปี-ปีใหม่นี้ คือ เชียงใหม่ ร้อยละ 38.85 ส่วนใหญ่สนใจการท่องเที่ยวแบบเน้นการพักผ่อน พักโรงแรมที่สวยงาม สะดวกสบาย ร้อยละ 55.62 ปัจจัยที่จะทำให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น คือ ค่าใช้จ่ายเหมาะสม คุ้มค่า ร้อยละ 71.65 ทั้งนี้รัฐบาลควรเร่งดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ กระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ร้อยละ 60.16 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรองร้อยละ 57.34 เมื่อถามว่ามีการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 54.01 ตอบว่ามีแผนเดินทางท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็นการเที่ยวในประเทศ ร้อยละ 87.58 (คาดการณ์ใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยประมาณ 11,977 บาท) เที่ยวต่างประเทศ ร้อยละ 12.42 (คาดการณ์ใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยประมาณ 75,900 บาท)
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 6. โลกเปลี่ยนไปใจ(ต้อง)เปลี่ยนทัน
    (2022) ณัชนก นุกิจ
    โลกเปลี่ยนไปใจ(ต้อง)เปลี่ยนทัน เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ของคนไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากผลการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้คนไทย ต้องพบกับความเครียด ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ การเงินการจัดการเวลาและสัมพันธภาพ ซึ่งทักษะชีวิต (Life Skill) ที่ส าคัญและควรมีเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าคนเจเนอเรชั่นไหน อายุเท่าไหร่ ก็จ าเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน คือ 1) EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางด้านอารมณ์ 2) AQ (Adversity Quotient) ความฉลาดในการรับมือกับปัญหา 3) RQ (Resilience Quotient) ความสามารถทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัวและฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติภายหลังที่พบกับวิกฤตินอกจากนี้ในปัจจุบันการเจริญสติ (Mindfulness) เป็นจิตวิทยากระแสใหม่ซึ่งอาศัยหลักการพักด้วยการฝึกสมาธิ ทำงานด้วยการฝึกสติ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในด้านจิตบำบัด การพัฒนาคน การสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ซึ่งหากเราได้รับการพัฒนาสติและสมาธิแล้วก็จะตั้งรับกับปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเอาตัวรอดจากวิกฤติที่เกิดขึ้น 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,138 คน ระหว่าง วันที่ 17-22 กันยายน 2565 พบว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงและต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ประชาชนมักจะทำใจยอมรับ ร้อยละ 51.00 เมื่อมีปัญหาเข้ามารุมเร้า ประชาชนควบคุมอารมณ์ได้บ้าง ร้อยละ 59.91 เรื่องที่มักทำให้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้คือ การมีปัญหาสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ ไม่สบาย ร้อยละ 51.62 รองลงมา คือ ปัญหาเรื่องเงิน ร้อยละ 43.14 เวลาที่เครียด โกรธ โมโห สิ่งที่จะทำคือ ตั้งสติ ร้อยละ 51.58 รองลงมาคือ ยอมรับและเผชิญกับความเป็นจริง ร้อยละ 48.42 จากข่าวความรุนแรงในสังคมปัจจุบันประชาชนมองว่าน่าจะเกิดจากการถูกกดดัน เครียด ขาดสติ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ร้อยละ 41.97 รองลงมาคือมองว่าสุขภาพจิตของคนในสังคมแย่ลง ร้อยละ 22.58 และจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมองว่าตนเองยังทนได้ ร้อยละ 73.37
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 12. พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้
    (2022) สรศักดิ์ มั่นศิลป์
    พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้ เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่อง "พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้" เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ผลจากการเสวนา พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องพฤติกรรมประชาธิปตยมากขึ้น เกิดจากการใช้โซเชียลมีเดียต่าง 1 รวมทั้งการจัดให้มีเวที ดีเบตของสื่อมวลชนหลายสำนัก แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยและอุปสรรคในด้านกฎหมาย จึงควรเพิ่มการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประชาธิปไตย เปิดพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการและการแสดงออกโดยผลจากวงเสวนาสอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิตโพลที่เห็นว่าควรส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของผู้แทน ดังนั้น "พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้" จึงแตกต่างจากในอดีตอย่างมาก โดยเฉพาะโขเชียลมีเดียที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการตัดสินใจของประชาชน 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี "พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้” จำนวนทั้งสิ้น 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2566 พบว่า ประชาชนคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมประชาธิปไตยระดับมาก ร้อยละ 50.78 โดยมองว่าประเทศไทย ณ วันนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยระดับปานกลาง ร้อยละ 48.54 ทั้งนี้เห็นว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยแสดงออกได้โดยการเคารในสิทธิ หน้าที่และความเห็นของผู้อื่น ร้อยล ะ 92.69 ความสำคัญของพฤติกรรมประชาธิปไตยทำให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความเห็นมุมมอง และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ร้อยละ 75.29 อุปสรรคของการมีพฤติกรรมประชาธิปไตย คือ การถูก แทรกแชง ควบคุมอำนาจ ละเมิตสิทธิเสรีภาพ ร้อยละ 70.57 ส่วนการส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยควรเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง ร้อยละ 72.27
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 2. คนไทยกับโลกดิจิทัล
    (2022) เอื้ออารี จันทร
    คนไทยกับโลกดิจิทัล เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ คนไทยกับโลกดิจิทัล ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการอภิปรายกลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของการเป็น “คนไทยในโลกดิจิทัล” มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านข้อมูล มุมมองผู้เสพ ต้องเสพอย่างมีสติ กลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญ มุมมองของการเป็นผู้สร้าง ต้องสร้างไมโครคอนเทนต์ ข้อมูลสั้น กระชับ เป็นปัจจุบันและตรงเป้าหมาย 2) ด้านเครื่องมือ เทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้เกิดการพลิก โฉมการทำงาน การเรียนรู้ และการใช้ชีวิต 3) ด้านคน หลัง COVID-19 จะยิ่งมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แม้กระทั่งกลุ่มคนที่เคยปฏิเสธการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาคนจึงต้องจัดระดับตามช่วงวัยและพัฒนาการ ปฐมวัยควรใช้น้อยแต่เน้นเตรียมทักษะชีวิต มัธยมค้นหาและปรับพื้นฐานให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง อุดมศึกษาพัฒนาวิธีคิด พื้นฐานการออกแบบใช้ข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวข้องกับอาชีพ เน้นทักษะและทัศนคติ วัยทำงานเน้นการพัฒนาตนเองตามความสอดคล้องกับงานและความสนใจ รองรับแนวโน้มการทำงานแบบ 1 คน มากกว่า 1 งาน และวัยสูงอายุเน้นใช้ในการสื่อสารและการเข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐ 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,051 คน (ทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-18 พฤษภาคม 2565 เรื่อง “คนไทยกับโลกดิจิทัล” พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี ในชีวิตประจำวันในการติดต่อสื่อสาร พูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดียมากที่สุด ร้อยละ 79.96 รองลงมาคือชำระ เงินแบบดิจิทัล ฝาก ถอน โอน จ่าย ร้อยละ 78.44 เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมาก ขึ้น ร้อยละ 76.97 โดยมองว่า “โลกดิจิทัล” ไม่ได้สร้างความลำบากและวุ่นวาย ร้อยละ 53.28 ในโลกออนไลน์เคยพบปัญหาการส่งต่อเฟคนิวส์ คลิปหรือข้อมูลความเชื่อผิด ๆ มากที่สุด ร้อยละ 82.40 รองลงมาคือมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอนเงิน ร้อยละ 63.84 วิธีการปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัล คือ ต้องมีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ร้อยละ 71.81 สิ่งที่คาดหวังโลกดิจิทัลสำหรับคนไทย คือ ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ระบบไม่ล่ม ไม่ติดขัด ร้อยละ 70.00 รองลงมาคือ คนไทยเข้าถึงโลกดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ร้อยละ 61.52 ในภาพรวมประชาชนพร้อมแล้วกับการเป็นคนไทยในโลกดิจิทัล ร้อยละ 89.30
  • Item
    Poll Talk Exclusive Ep 8. อาหารไทยเอกลักษณ์ไทย
    (2022) อัครพล ไวเชียงค้า; กาญจนา เฟื่องศรี
    อาหารไทยเอกลักษณ์ไทย เป็นการสรุปผลการศึกษาจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการศึกษาเชิงปริมาณด้วยสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับอาหารไทย ผลการศึกษา พบประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 1) จากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องอาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย พบว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเรื่องราวและความเก่าแก่มายาวนาน มีจุดเชื่อมโยงมาจาก “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักในภูมิภาคนี้ อาหารไทยปัจจุบันผ่านการรับรู้และนำไปประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ การส่งเสริมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอาหารไทยมองว่าหลายภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน การส่งเสริมอาหารไทยจึงควรสร้างการดึงดูดและการมีส่วนร่วมให้กับผู้รับประทาน ผ่านการนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องราว (Story Telling) ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลเพื่อให้เกิดการรับรู้และสานต่ออาหารไทยในมุมมองอันหลากหลาย อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในหลายมิติด้วยกัน อาทิ อาหารไทยที่มีเอกลักษณ์ตามภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาฤดูกาล รสชาติ วัตถุดิบ ความประณีต ความพิถีพิถัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดเชื่อมโยงผ่านการรับประทานอาหารแบบสำรับซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีมาอย่างช้านาน นอกจากนี้การทราบเรื่องราวความเป็นมาและคุณสมบัติของอาหารผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เอกลักษณ์ของอาหารไทยสามารถคงอยู่และต่อยอดได้ในอนาคต ดังนั้นสถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ และทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเพื่อผลักดันอาหารไทย...เอกลักษณ์ไทยต่อไป 2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,044 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-24 พฤศจิกายน 2565 พบว่า เอกลักษณ์ของอาหารไทย คือ ความพิถีพิถัน ความประณีตสวยงาม ร้อยละ 83.96 รองลงมาคือ อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ร้อยละ 81.17 เมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย อันดับ 1 คือ “ต้มยำกุ้ง” ร้อยละ 57.65 รองลงมาคือ ผัดไทย ร้อยละ 33.17 สิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย คือ การรักษาสูตรต้นตำรับและรสชาติดั้งเดิม ร้อยละ 90.75 โดยมองว่าภาครัฐควรส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft Power ร้อยละ 88.85 ทั้งนี้หน่วยงานที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทย คือ คนไทยทุกคน ร้อยละ 70.00 รองลงมาคือ กระทรวงวัฒนธรรม ร้อยละ 65.38 สุดท้ายมองว่าการประชุมเอเปค 2022 ที่จบไปนั้นช่วยส่งเสริม “อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย” ได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 51.44