Suan Dusit University's Institutional Repository
คลังข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Communities in Suan Dusit
Select a community to browse its collections.
Recent Submissions
การพัฒนารูปแบบการตลาดเชิงรุก
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา หัวหิน, 2025-04-28) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา หัวหิน
ผลของการสอนแบบวิเคราะห์และประเมินผล โดยใช้สื่อเป็นหุ่นทารกเสมือนจริงต่อการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) รัชนี ชัยประเดิมศักดิ์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลัง การจัดการเรียนการสอนแบบวิเคราะห์และประเมินผล โดยใช้สื่อเป็นหุ่นทารกเสมือนจริงต่อการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ลงทะเบียนในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือหรือสื่อในการวิจัยหุ่นทารกเสมือนจริง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 3) แผนการสอนทักษะการวิเคราะห์และประเมินผล ได้ค่าดัชนีตรงตามเนื้อหา รวมทั้ง 3 ท่าน เท่ากับ 0.63 จึงนำไปใช้กับผู้เรียน ทดสอบค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธ์อัลฟาคครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ คำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล (รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น) ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบวิเคราะห์ และประเมินผลโดยใช้สื่อเป็นหุ่นทารกเสมือนจริง โดยใช้สถิติทดสอบเป็น Mann-Whitney U test เนื่องจากการกระจายของข้อมูลไม่เป็นแบบโค้งปกติ ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบคะแนนของผู้เรียน มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียน เฉลี่ย 17.04 และมีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 18.86 เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนมีความแตกต่างกัน (p = .020) ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่มีแผนการสอนแบบวิเคราะห์และประเมินผล สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้
การพัฒนาความรู้การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองด้าน การจัดการและทักษะการวิจัยแบบมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สุนทร เทียนงาม
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่เรียนรายวิชา 1044402 การวิจัยทางการศึกษา ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 209 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 51 คน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การเตรียมวางแผน เริ่มด้วยการชี้แจงเกี่ยวกับโครงการวิจัย วัตถุประสงค์แก่นักศึกษา รวมถึงประสานงานกับโรงเรียนเครือข่ายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ ประถมศึกษาที่เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดโคกโคเฒ่า มีจำนวน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลจำนวน 32 คน และโรงเรียนวัดหน่อสุวรรณ จำนวน 23 คน ระยะที่ 2 ดำเนินการจัดกิจกรรมฐานความรู้พัฒนาทักษะสมองด้านการจัดการ นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง เข้าร่วมกิจกรรมฐานความรู้และประเมินผล จำนวน 1 ครั้ง กิจกรรมฐานความรู้มุ่งพัฒนาทักษะสมองด้านการจัดการแบบบูรณาการทั้ง 3 ด้านแก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านการจำเพื่อการใช้งานด้านการคิดยับยั้ง ไตร่ตรอง และด้านการคิดยืดหยุ่น จำนวน 6 ฐาน โดยแบ่งการจัดกิจกรรมฐานความรู้ ณ โรงเรียนวัด โคกโคเฒ่า จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 กิจกรรมร่มพยุงไข่ ฐานที่ 2 พลิกแผ่นป้ายภาพสัตว์ ฐานที่ 3 กิจกรรมอะไรนะ ใช่หรือเปล่า และโรงเรียนวัดหน่อสุวรรณ จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 กิจกรรมแม่ไก่ขนไข่หนีน้ำ ฐานที่ 2 เรียงให้หน่อยฉันอยู่ตรงไหน ฐานที่ 3 ผจญภัยหรรษา จากนั้นประเมินผลหลังกิจกรรม ระยะที่ 3 การติดตามประเมินผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ประเมินความรู้การเลี้ยงดูเด็กตามแนวคิดทักษะสมองด้านการจัดการก่อนและหลังการจัดกิจกรรมฐานความรู้ ครั้งที่ 2 - 4 ติดตามประเมินผลหลังกิจกรรมฐานความรู้ จำนวน 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัย 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบทดสอบ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองด้านการจัดการและทักษะการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ก่อนและหลังกิจกรรมฐานความรู้กับนักศึกษา และชุดที่ 2 แบบประเมินพัฒนาการทักษะสมองด้านการจัดการของเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งเว้นช่วงระยะเวลาห่าง 1 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และความโด่งแบน สถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ย คะแนนร้อยละ ความรู้การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองด้านการจัดการก่อนและหลังจัดกิจกรรม เท่ากับ 50.05 และ 78.9 ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ย คะแนนร้อยละ ด้านทักษะการวิจัยแบบมีส่วนร่วมก่อนและหลังจัดกิจกรรม เท่ากับ 28.3 และ 60.5 ตามลำดับ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการจัดกิจกรรมทั้ง 2 ด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัย พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านการจำเพื่อการใช้งาน การคิดยับยั้งไตร่ตรอง และการคิดยืดหยุ่น เพิ่มขึ้นในช่วงระยะที่ 2 อย่างชัดเจน และเริ่มลดลงและคงที่ในช่วงระยะที่ 3 และ 4
การประยุกต์ใช้การสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนในรายวิชาหลักรัฐศาสตร์
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) จตุพล ดวงจิตร
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สังกัดโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาหลักรัฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 55 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Pre–Experimental Design) ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มที่ศึกษาเพียงกลุ่มเดียว และทำการทดสอบก่อนการทดลอง Pre-Test และหลังการทดลอง Post-Test (ผู้วิจัยใช้เครื่อมืองในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอนและบทเรียนออนไลน์ 2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ทำการเปรียบเทียบคะแนนสอบ ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สูตร t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า จากการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ค่าสถิติ t มีค่า -26.584 ค่า Sig. (2-tailed) มีค่า .000 อธิบายความได้ว่า เมื่อนักศึกษาได้รับการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (PhenoBL) นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนก่อนเรียนน้อยกว่าหลังเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย ยอมรับ H0 ปฏิเสธ H1 ซึ่งหมายถึงว่าหลังจากได้รับการสอนด้วยวิธีการดังกล่าวแล้ว นักศึกษากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และผลการศึกษายัง พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.38, S.D.= .342) การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้สอนควรเปลี่ยนบทบาทจากผู้เชี่ยวชาญไปเป็นหนึ่งในกระบวนการ หรือเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นแรงเสริมทางบวกแก่ผู้เรียนให้เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจ และกล้าที่แสดงความเป็นตัวตนของตนเอง ผู้บริหารควรสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนบนศักยภาพของผู้เรียน และผู้สอนภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกมิติ
การใช้กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์แบบเชื่อมโยงบริบท เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร
(มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) สินชัย จันทร์เสม; เอมมิกา วชิระวินท์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน โรงเรียนวัดใหม่พิเรนท์ที่มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และพัฒนาเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนวัดใหม่พิเรนท์ จำนวน 20 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงบริบทของโรงเรียนจำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการเข้ารวมกิจกรรมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.35 โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.10 (xˉ=11.35, SD=3.35) โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานหลังการร่วมกิจกรรมเท่ากับ 17.85 และ 4.45 ตามลำดับ (xˉ= 17.85, S.D= 4.45) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมของนักเรียนโดยใช้สถิติ paired t-test พบว่า คะแนนก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างจากคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับการศึกษาด้านเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์พบว่า ก่อนการร่วมกิจกรรมค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (xˉ= 2.45, S.D = 1.02) โดยที่เจตคติหลังการร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ= 3.30, S.D =1.01) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเจตคติก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม พบว่า เจตคติก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างจากหลังเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01