อานง ใจแน่นจาตุรงค์ แก้วสามดวงฐิติวรฎา ใยสำลี2025-02-062025-02-062022-01-26https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/2867อาหารจีนในประเทศไทยเกิดจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท จึงได้มีการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมของอาหารจีน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบริบทความหลากหลายของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาหารการกิน วัตถุดิบ กรรมวิธีการปรุงประกอบ การเลือกใช้อุปกรณ์ มาปรับเปลี่ยนเกิดการผสมผสานให้มีความเหมาะสม มีรสชาติที่ตรงความชอบของการรับประทานอาหารของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ทำให้อาหารจีนในไทยที่เรารับประทานนั้นมีหลายกระบวนการประกอบ คือ การต้ม การตุ๋น การนึ่ง และการทอด เนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน อาหารจีนจึงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศไทย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในด้านอาหารจีนที่มาการสร้างสรรค์ อันเป็นองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นรสมือที่มีเอกลักษณ์ มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญา วิถีชีวิต และมรดกทางวัฒนธรรมของไทยเป็นอย่างดีด้วยวัฒนธรรมอาหารอาหารจีนความหลากหลายทางวัฒนธรรม“อาหารจีนในประเทศไทย” กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมอาหาร