กัญจนา กันทะศร2023-12-022023-12-022015https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/923การวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันบําราศนราดูร เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้และสร้างแนวทางการจัดการความรู้สู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันบําราศนราดูร ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผสมผสานกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณใช้ วิธีการวิจัยเชิงสํารวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสถาบันฯ จํานวน 256 คน แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดการความรู้ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบ่งชี้ ความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 7) การเรียนรู้ และความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมาร์ควอตต์และเซงเก้ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคน ด้านองค์กร ด้านการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยี ด้านความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)การจัดการองค์กรการบริหารองค์ความรู้แนวทางการจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคThesis