ดวงเนตร ธรรมกุล2025-02-212025-02-212021https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4046บทนำ : แบบจำลองการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างมีระบบและ สร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิดทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ของข้อมูล เพื่อการนำไปใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอแนวคิดและการประยุกต์ใช้โมเดล MATCH ในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ประเด็นสำคัญ: การวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนตามโมเดล MATCH เป็นหลักการวางแผนและออกแบบ โปรแกรม ตามหลักนิเวศวิทยาในการส่งเสริมสุขภาพโดยพิจารณาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมทุกระดับ ประกอบด้วยระดับบุคคล ระดับระหว่างบุคคล ระดับองค์กร ระดับชุมชน และระดับสังคม โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ 5 ระยะดังนี้ 1) ระยะเลือกเป้าหมายพฤติกรรมและภาวะสุขภาพ 2) ระยะการวางแผนโปรแกรมการพัฒนา 3) ระยะการพัฒนาโปรแกรม 4) ระยะการวางแผนนำโปรแกรมการพัฒนาไปใช้ และ 5) ระยะประเมินผล เมื่อดำเนินการทั้ง 5 ระยะ ผลที่ได้คือแม่แบบที่พร้อมใช้ในการส่งเสริมสุขภาพตามพฤติกรรมที่ค้นพบ กลุ่มเป้าหมาย และบริบทที่แตกต่างกัน สรุป: โมเดล MATCH เป็นแบบจำลองในการวางแผนและออกแบบโปรแกรมทางส่งเสริมสุขภาพที่สามารถนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ปัญหา กลุ่มเป้าหมาย และบริบท เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโปรแกรมนั้นมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และนำมาสู่การมีสุขภาพที่ดีต่อไป ข้อเสนอแนะ: แนวทางที่นำเสนอสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดภายใต้กระบวนการวิจัยหรือนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนที่มีบริบทและปัญหาสุขภาพเช่นกันการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพ ชุมชมชน โมเดล MATCHทางเลือกใหม่ในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน: โมเดล MATCH New Options for Health Promotion Planning in the Community: MATCH Model