รังสรรค์ มาระเพ็ญอริยา ดีประเสริฐ2025-04-012025-04-012022https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5814การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบ 1 กลุ่มวัดผล ก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ Role play simulation ต่อความมั่นใจ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2564 เลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่มละ 9-10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความมั่นใจ 2) แบบประเมินทักษะการสื่อสาร 3) แบบประเมินทักษะการปฎิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลของการใช้ Role play simulation ต่อความมั่นใจในการปฏิบัติการ พยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (mean=3.88, SD=0.23 และ mean=3.63, SD=0.26) เมื่อเปรียบเทียบผลก่อนหลังการทดลองพบว่าคะแนนเฉลี่ย ความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาล พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-6.07) คะแนนทักษะการสื่อสารในการเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลหลังใช้ Role play simulation อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และคะแนนทักษะการปฎิบัติ การพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองส่วนใหญปฏิบัติได้อย่างชำนาญ จากผลการศึกษานี้สามารถนำการใช้ Role play simulation มีช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน ส่งเสริมทักษะการสื่อสารในการเยี่ยมบ้าน และส่งเสริมทักษะการปฎิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลได้ทักษะการสื่อสารทักษะการปฏิบัติการพยาบาลทักษะการสื่อสารสำหรับพยาบาลนักศึกษาพยาบาลผลของการใช้ Role play simulation ต่อความมั่นใจ ทักษะการสื่อสารและทักษะการปฎิบัติการพยาบาลเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาล