อัญชลี รัตนะดังนภสร ณ ป้อมเพชร2025-05-062025-05-06https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6609การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมไทย-กะเหรี่ยง บ้านหินสี ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรีและเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ใช้ประโยชน์จากสมุนไพรพื้นบ้าน กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเหรี่ยง และกลุ่มที่ 3 บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลยาง การวิจัยนี้ใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคสนาม ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่มย่อย จากนั้นจึงใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการจำแนกชนิดข้อมูลเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ผลการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. การรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมไทย กะเหรี่ยง บ้านหินสี ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี พบว่ามีจำนวน 26 ชนิดพันธุ์พืชสมุนไพร ได้แก่ กำลังวัวเถลิง, พญารากดำ, ปลาไหลเผือก, ไม้ฝาง, ไฟเดือนห้า, ต้นสามสิบ, โด่ไม่รู้ล้ม, เถาวัลย์เปรียง, กลิ้งกลางดง, ขี้อ้าย, สาบเสือ, ย่านาง, หนอนตายหยาก, ตะแบกเลือด, บอระเพ็ด, ตะแบก, ปอกระบิด, มะตูม, ต้นเปล้าใหญ่, กะพังโหม, คำโมกหลวง, กระทือ, ต้นเปราะ, ว่านหาง จระเข้, ว่านรางจืด, ว่านเขาควายใหญ่ โดยความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านล้วนเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) ทั้งสิ้น 2. รูปแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ที่ผ่านมาชุมชนยังขาดการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมไทย-กะเหรี่ยง บ้านหินสี ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นระบบ และจากการสนทนากลุ่มย่อยชุมชนตัวแทนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่มได้ร่วมกันเสนอรูปแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านหินสี ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี คือ ชุมชนต้องมีส่วนร่วมดำเนินการในลักษณะที่เป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์ความรู้มีการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคม รวมถึงบริบทของชุมชน โดยมีรูปแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน 5 ขั้นตอน คือ การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition), การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Storing), การแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing), การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Knowledge Utilization or Application)สมุนไพรพื้นบ้าน -- วิจัยสมุนไพร -- ไทยรูปแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านในพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมไทย-กะเหรี่ยง บ้านหินสี ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี