บุญญลักษม์ ตำนานจิตร2025-03-182025-03-182023https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5252การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนระหว่างผู้เรียนที่สอนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่สอนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคุณค่าของความสุข รหัสวิชา 2500120 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 ตอนเรียน A1 ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต รวมทั้งสิ้น 53 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 26 คน และกลุ่มควบคุมเรียนโดยวิธีปกติ จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามวัดความสามารถในการแก้ปัญหา มีความเที่ยงตามวิธีของสัมประสิทธิ์แอลฟา (α - Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ .918 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีปกติ และ2) นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสื่อและแหล่งเรียนรู้ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของรายวิชาคุณค่าของความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต