พวงเพชร จินดามาศภิรดี วัชรสินธุ์2025-02-202025-02-202021-02-15จินดามาศ พ., & วัชรสินธุ์ ภ. (2021). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: การวิจัยเชิงสำรวจและการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาแบบผสานวิธี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(1), 87–102. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/4293027-6675https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3970บทความวิจัย ตีพิมพ์ใน วารสารวิชการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2021)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ 2) ประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนคลองโยงเวทีอุปถัมภ์ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ประสิทธิผล และความพึงพอใจ การสำรวจสภาพปัญหาและประเมินหลักสูตรสถานศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจและแบบประเมินหลักสูตรจากประชากรกลุ่ม ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 28 คน และกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 300 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น สำหรับการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้อำนวยการ/คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน กลุ่มครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มละ 10 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวมพบว่ามีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (X = 1.56, SD = 0.95) 2) ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาเชิงปริมาณ ตามตัวแปรทั้งหมดในภาพรวม พบว่า หลักสูตรสถานศึกษามีตัวแปรทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก (X = 2.63, S.D. = 0.83) 3) ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาเชิงคุณภาพพบว่าสิ่งที่ควรพัฒนา คือ การนำความต้องการของท้องถิ่นและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ควรมีผู้รับผิดชอบในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาที่ชัดเจน นอกจากนั้นครูควรนำหลักสูตรสถานศึกษามาใช้ในการกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นและเน้นการปฏิบัติจริงthการวิจัยเชิงสำรวจการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาการประเมินแบบผสานวิธีสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: การวิจัยเชิงสำรวจและการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาแบบผสานวิธีArticle