ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์พรเลิศ อาภานุทัตอานุภาพ รักษ์สุวรรณธีรพล พงษ์บัว2025-02-212025-02-212023-06-29269976226https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3995บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษานโยบายผู้สูงอายุในประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ได้แก่ นอร์เวย์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และ 2) เปรียบเทียบเบื้องต้นของนโยบายผู้สูงอายุของประเทศทั้งสามกับประเทศไทย โดยใช้ตัวแบบของ Walt & Gilson (1994) การศึกษาพบว่า ในด้านบริบท นอร์เวย์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและมีอัตราผู้สูงอายุสูงมาก ในขณะที่ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งมีอัตราผู้มีรายได้น้อยมากกว่าประเทศทั้งสาม ในด้านเนื้อหาของนโยบาย ประเทศทั้งสามมีนโยบายผู้สูงอายุที่ครอบคลุมเรื่องการประกันสุขภาพ การดูแลรักษาทางการแพทย์ ที่พักในระยะสั้นและระยะยาว การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ และการขยายอายุการเกษียณ ส่วนนโยบายและมาตรการส่วนใหญ่ของไทยเน้นเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางสังคมเนื่องจากจำนวนผู้มีรายได้น้อยค่อนข้างมาก ในด้านกระบวนการหรือกลไก นอร์เวย์มีระบบบำนาญแห่งชาติที่เข้มแข็ง ญี่ปุ่นมีระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวที่ดี สิงคโปร์มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง สำหรับไทยมีกองทุนประกันสังคมและเบี้ยยังชีพ สำหรับด้านหน่วยปฏิบัติของนโยบาย นอร์เวย์ใช้ท้องถิ่นและอาสาสมัคร ญี่ปุ่นให้ท้องถิ่น ผู้ประกอบการทั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร และต้นทุนทางสังคมอื่น สิงคโปร์เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ขณะที่ไทยมีหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน ในส่วนสุดท้ายบทความนี้ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายผู้สูงอายุในไทยthการวิเคราะห์นโยบายนโยบายผู้สูงอายุนอร์เวย์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทยการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายผู้สูงอายุ: ศึกษาประเทศนอร์เวย์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย