จารินี ศานติจรรยาพรปริศนา เพียรจริง2025-07-032025-07-03https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7254การศึกษาการประเมินวัฏจักรชีวิตปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้าง 1 ตัน โดยเริ่มจากการประเมินการเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเลในหนึ่งรอบการเลี้ยงใน 1 ปี การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อดิน และการถอดก้างปลานวลจันทร์ทะเลเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ ทำการประเมินวัฎจักร โดยทำการประเมินบัญชีรายการสารขาเข้า ชาออก และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential, GWP), ภาวะความเป็นกรด (Acidification Potential, AP), ภาวะการเพิ่มขึ้นของธาตุอาหารในนํ้า (Eutrophication Potential, EP) และความเป็นพิษโลหะหนัก (Marine toxicity: MRT) ซึ่งได้แก่ แคดเมียมและตะกั่ว หลังจากทำการประเมินพบว่า การเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเลมีปริมาณสารขาเข้าและออกที่มากที่สุด คือ น้ำทะเลที่ใช้ในกิจกรรมการเพาะฟักลูกปลา โดยพลังงานไฟฟ้าใช้เพื่อการให้อากาศ และการสูบน้ำเป็นกิจกรรมที่พบมากที่สุด ส่วนการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อดินมีปริมาณสารขาเข้าและออกเป็นน้ำทะเลในปริมาณมากเช่นกัน โดยการใช้ไฟฟ้าเพื่อการให้อากาศในบ่อปลาเป็นกิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้น การถอดก้างปลานวลจันทร์ทะเลเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้างแช่แข็ง มีการใช้ตู้เย็นเพื่อแช่ปลาเป็นกิจกรรมหลัก เมื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากหน่วยหน้าที่ทั้งหมดพบว่า หน่วยเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเลก่อผลกระทบทางด้านภาวะโลกร้อนมากที่สุด โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งระบบ 58,915.69 KgCO2 eq ซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการให้ออกซิเจน และสูบน้ำ หน่วยหน้าที่ที่ก่อผลกระทบทางด้านด้านภาวะโลกร้อนรองลงมาคือ หน่วยถอดก้างปลา โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4,266.26 KgCO2 eq ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญ คือ การใช้ตู้เย็นเพื่อแช่ปลาถอดก้าง ส่วนการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อดินปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,912.31 KgCO2 eq โดยกิจกรรมหลักที่เป็นสาเหตุ คือ การใช้พลังงานเพื่อให้อากาศ และการสูบน้ำ ส่วนการก่อมลพิษในรูปแบบภาวะฝนกรดจะเกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยงในบ่อดินมากที่สุด คือ 2423.74 KgSO2 eq ซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานเพื่อให้อากาศ และการปลดปล่อยแอมโมเนียจากบ่อ การก่อผลกระทบภาวะธาตุอาหารเกินในแหล่งน้ำพบมากจากการเพาะฟักลูกปลานวลจันทร์ทะเล โดยพบว่ามีค่า 373 Kg PO4-3 eq ส่วนการก่อผลกระทบความพิษต่อสัตว์ทะเล พบเพียงตะกั่วที่ปล่อยออกจากระบบการเพาะเลี้ยง โดยพบตะกั่วรวมกัน 7 กิโลกรัม กิจกรรมการใช้พลังงาน การปล่อยของเสียออกจากระบบ และการใช้ตู้เย็นเป็นสาเหตุหลักของการก่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งควรจะลดการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยการใช้พลังงานทดแทน เข่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ปลานวลจันทร์ทะเล -- วัฏจักรชีวิต -- วิจัยปลานวลจันทร์ทะเล -- การแปรรูป -- วิจัยปลานวลจันทร์ทะเล -- การเพาะเลี้ยง -- วิจัยการศึกษาวัฏจักรชีวิตปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้าง