กัญญรัตน์ ซ้ายพัฒน์2/12/20232/12/20232018https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/669การวิจัย เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรใน ประเทศไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทุจริต และเสนอแนะมาตรการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) และใช้การการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะหรือรูปแบบการทุจริตที่เกิดขึ้นในสหกรณ์การเกษตรใน เป็นพฤติกรรมการกระทําผิดที่เข้าข่ายกฎหมายอาญาในฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ได้แก่ การยักยอกทรัพย์ การลักทรัพย์ การฉ้อโกง และฐานความผิดเกี่ยวกับเอกสารและการใช้ เอกสารปลอม มีผู้กระทําผิดหลักเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการหรือร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย และพฤติกรรม การทุจริตมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจให้เงินกู้ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจการจัดหาสินค้ามา จําหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิต นอกจากนั้นยังเกิดขึ้นในการบริหารจัดการในสํานักงานด้วย ได้แก่ การทุจริตเกี่ยวกับเงินฝากของสหกรณ์ การทุจริตเกี่ยวกับเงินสด การนําเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แล้วบันทึกบัญชีเป็นเงินสํารอง และการนําทรัพย์สินของสหกรณ์ไปขายโดยมิชอบ ทั้งนี้ ปัจจัยที่เป็น สาเหตุของการกระทําผิดในสหกรณ์การเกษตร 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ 1) ตัวบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และ 2) ระบบบริหารและควบคุมที่ไม่มีประสิทธิภาพการป้องกันการทุจริตการทุจริตและประพฤติมิชอบมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย