ภาคภูมิ หรรนภา2025-03-122025-03-122021-06-15หรรนภา ภ. (2021). การสื่อสารทางการตลาดเพื่อการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งปี 2562. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 37–52. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/4073027-6675https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5123บทความวิจัย ตีพิมพ์ใน วารสารวิชการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (2021)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการตลาดเพื่อการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ใน สื่อออนไลน์ในการเลือกตั้งปี 2562 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พรรคอนาคตใหม่ ทำการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด จากการจัดลำดับของสวนดุสิตโพล พ.ศ. 2561 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการสื่อสารทางการตลาดจากเว็ปไซต์หลักของพรรคอนาคตใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สินค้าทางการเมือง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และส่วนนโยบายพบว่า พรรคอนาคตใหม่ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้สมัครไม่เคยมีประวัติหรือประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน ส่วนนโยบายตามกรอบแนวคิดการตลาดเพื่อการเมืองนั้น พบว่าพรรคอนาตคใหม่นั้นมีนโยบายประชานิยมเน้นเสนอต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และมุ่งแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 2) การตลาดแบบผลักดันของพรรคอนาคตใหม่ มีเครือข่ายสมาชิกทั่วประเทศ และการลงพื้นที่จัดเวทีปราศรัย และที่สำคัญใช้การหาเสียงรูปแบบพิเศษ Event Marketing 3) การตลาดแบบดึงดูด ผ่านการสื่อสาร 2 ช่องทาง คือ สื่อมวลชน และ สื่อออนไลน์ พบว่า พรรคอนาคตใหม่สื่อสารผ่านสื่อมวลชน เหมือนกันโดยส่งตัวแทนพรรคไปออกรายการโทรทัศน์ ขึ้นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ซึ่งจัดโดยองค์กรต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายพรรค ส่วนเรื่องการใช้สื่อออนไลน์พรรคอนาคตใหม่ใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องหลักทางในการสื่อสารไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยตรง 4) การสำรวจความคิดเห็น พบว่า พรรคอนาคตใหม่ ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงลึก ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตนโยบาย ความถี่ในการสำรวจ และหน่วยงานวิจัย โดยพรรคอนาคตใหม่มีการสำรวจเป็นประจำ เช่น การลงพื้นที่ของพรรค และมีทีมวิจัยเป็นของตนเองในการสำรวจthการตลาดเพื่อการเมืองพรรคการเมืองการเลือกตั้งการสื่อสารทางการตลาดเพื่อการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งปี 2562Article