วังสรา ทิพย์สกุลเดช2/12/20232/12/20232014https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/644การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวทางการประเมินโครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน ในด้านปัญหา และอุปสรรคในการประเมินโครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน ปัจจุบันยังไม่มีธนาคาร หรือหน่วยงานสถาบัน การเงินใดที่ทําการศึกษา และการเผยแพร่เอกสารที่เป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อนําเสนอแนวทางการพัฒนาการประเมินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน นําไปใช้พิจารณาโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงินว่าควรจะหยุดดําเนินการหรือควรจะปรับปรุงโครงการในทิศทางใด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) ผู้บริหารโครงการความรับผิดชอบ ต่อสังคมของสถาบันการเงิน ผู้บริหารโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การภายนอก และ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การใน 2 ประเด็น คือ นโยบายการบริหารโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม และการประเมินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการประเมินโครงการ เพื่อตรวจสอบระบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษา เอกชน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)สถาบันการเงินแนวทางการพัฒนาการประเมินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน