ศมานันท์ ทองธรรมชาติ2/12/20232/12/20232011https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/564การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสํารวจ เพื่อสร้างตัวแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและอุปสรรคที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อกําหนดยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาครัฐด้านการพัฒนาชุมชนแออัด กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร กลุ่มองค์กร อิสระและผู้นําชุมชน เทคนิคการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) จํานวน 28 คน แบบสอบถาม (Questionaire) จํานวน 397 คน และการเสวนากลุ่ม (Focus Group) จํานวน 12 คน การรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และจากแบบสอบถาม เครื่องมือในการวิเคราะห์ใช้ Content Analysis และ โปรแกรมสําเร็จรูป (SPSS) ผลการค้นพบที่ได้พบว่า ปัจจัยและอุปสรรคที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้แก่ อาชีพของชุมชนฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนรวมทั้งสภาพแวดล้อมของชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตเท่าที่ผ่านมานั้นเป็นการพัฒนาที่เริ่มจากบุคคลภายนอกเข้าไปพัฒนา ณ ปัจจุบันนี้ เห็นว่าการพัฒนาควรจะเริ่มจากชุมชนเองเป็นผู้ริเริ่มและมีหน่วยงานภายนอกทําหน้าที่ประสานงานและให้การสนับสนุนแนะนําเท่านั้นชุมชนควรพึ่งตนเอง การพัฒนาจึงจะเกิดคุณค่าและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างความภูมิใจให้แก่ชุมชนเอง ชุมชนต้องแก้ปัญหาด้วยชุมชนเอง สําหรับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนนั้นจะต้องกระทําควบคู่กันไปกับการพัฒนานั่นเองเสมือนเป็นเงาติดตามตัวไปตลอด การพัฒนาจะให้ประสบความสําเร็จจะต้องมีการสื่อสารที่ดีและตลอดไปชุมชนแออัด คุณภาพชีวิตชุมชนแออัด การพัฒนายุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร